เตรียมพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใจกลาง"กุดน้ำกิน" เพื่อไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สวนสาธารณกุดน้ำกิน” เขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ แหล่งน้ำโบราณของ จ.กาฬสินธุ์

  วันนี้ ( 28 กุมภาพันธ์) นาย ไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่บริเวณ “สวนสาธารณกุดน้ำกิน” เขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ แหล่งน้ำโบราณของ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ ก่อนที่จะนำไปประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร

เตรียมพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใจกลาง\"กุดน้ำกิน\" เพื่อไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

 

โดยในอดีต”กุดน้ำกิน” ถือเป็นเป็นแหล่งน้ำโบราณ เป็นจุดน้ำขัง ที่แตกแขนงออกมาจากลำน้ำปาวซึ่งมีต้นน้ำมาจาก อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี โดยน้ำที่ขังอยู่ในกุดน้ำกินจะมีความใส และถูกใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค มายาวนานเกือบ 200 ปี ก่อนที่จะเกิดระบบน้ำประปา ซึ่งแม้ปัจจุบันจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำดังกล่าว แต่ทางเทศบาลยังคงความสำคัญ ด้วยการเติมอากาศให้กับน้ำ ,การทำความสะอาด, เติมจุลินทรีย์ และสลายสาหร่ายสีเขียว อยู่เสมอ

 

เตรียมพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใจกลาง\"กุดน้ำกิน\" เพื่อไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เตรียมพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใจกลาง\"กุดน้ำกิน\" เพื่อไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

 

ทั้งนี้ “กุดน้ำกิน” ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ มาแล้ว 3 ครั้ง คือ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (5 ธันวาคม 2542) , พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 80 พรรษา (5 ธันวาคม 2550) , พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ (5 ธันวาคม 2554) ซึ่งพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ จะใช้บริเวณใจกลางของกุดน้ำกิน ลึกที่สุดที่ 5 เมตร จากนั้นจะนำน้ำไปไว้ที่วัดกลางพระอารามหลวง เพื่อประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และเวียนเทียนสมโภชน้ำตามลำดับ

 

เตรียมพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใจกลาง\"กุดน้ำกิน\" เพื่อไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

.

เตรียมพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใจกลาง\"กุดน้ำกิน\" เพื่อไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่อยากรบกวนเชิญพระราชอาคันตุกะงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
-กำหนดวันเปิดจอง เหรียญ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก"
-"รัฐบาล" เปิดตัว "หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก" เผยแพร่ให้ประชาชนได้ตระหนักสำคัญถึง โบราณราชประเพณีของชาติ