เตือน 3 โรคต้องระวังมากๆ ช่วงฤดูฝนนี้

ช่วงนี้หลายคนอาจจะต้องตากฝนบ้างเนื่องจากมีฝนตกลงมาตลอดวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีป้องกันตัวเองจากโรคระบาดช่วงฤดูฝนนี้

1.ไข้หวัดใหญ่
    เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งเชื้อนี้มี หลายชนิดมาก นอกจากคนแล้วยังก่อให้โรค ในสัตว์ได้หลายชนิด เช่น หมู นก ม้า แต่โดยทั่วไปไวรัสของสัตว์ชนิดใดก็จะก่อให้เกิดโรคเฉพาะสัตว์ชนิดนั้น เช่น ไวรัสไข้หวัดนก (H5N1) จะก่อโรคในสัตว์ปีกเป็นหลัก แต่ในช่วงหลังที่ตกเป็น ข่าวดัง ก็เนื่องจากว่าไวรัสนี้มีการเปลี่ยนแปลงทำให้มีการติดต่อมายังมนุษย์ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ และมีความรุนแรงสูง ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ยังโชคดี ที่การติดต่อมาสู่คนไม่ง่ายนัก ต้องสัมผัสใกล้ชิดมาก และการติดต่อจากคนสู่คน ก็เกิดได้น้อยมาก เราจึงสามารถควบคุมการระบาดได้
    ส่วนไข้หวัดใหญ่ในคนมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่ทำให้เกิดการ ระบาดทั่วโลก
    ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เนื่องจากเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตลอดเวลา ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีกถ้าเชื้อมีการเปลี่ยน แปลงไป แต่อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากเรามีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง
    ไข้หวัดใหญ่ที่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ หรือในปัจจุบันเรียกว่า
    ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ หรือสายพันธุ์ 2009 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อไวรัส H1N1 เดิมมาก ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการระบาดหรือ ติดเชื้อเป็นวงกว้าง ดังจะเห้นตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หรือตามโทรทัศน์ ซึ่งเชื้อนี้มีระบาดไปในแทบทุกประเทศทั่วโลกในเวลาอันสั้น แต่โชคดีที่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ มีความรุนแรงต่ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเองได้
อาการ

 

เตือน 3 โรคต้องระวังมากๆ ช่วงฤดูฝนนี้


    โดยทั่วไปของโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ไอ น้ำมูก บางคนมีอาการเจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง เป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งบางครั้งจะคล้ายโรคไข้หวัดธรรมดา แต่ท้ายที่สุด อาการก็จะหายไปเองได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ไอมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ทำให้ เกิดการอักเสบของปอด ทำให้ปอดบวม การหายใจล้มเหลว ซึ่งอาการอาจจะ รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่รุนแรงคือ กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ
    การรักษา
    โรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่ทำได้โดยการรักษาแบบประคับประคองให้การดูแล รักษาตามอาการ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส โดยเฉพาะ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาเป็นรายๆ ไป ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือมีปอดบวมจำเป็นต้องนอนรักษาตัวใน โรงพยาบาล
    เมื่อมีบุคคลในบ้านหรือผู้ใกล้ชิดป่วยหรือสงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จำเป็น ต้องป้องกันการติดต่อให้ดี การติดต่อของไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่เกิดจากการ สัมผัสละอองฝอยจากการไอ จามของผู้ป่วย โดยละอองฝอยที่มีเชื้อเหล่านี้ เมื่อสัมผัสกับทางเดินหายใจหรือตามเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุตา จะทำให้เชื้อเข้า สู่ร่างกายและเป็นโรคได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการแพร่ กระจายของละอองฝอย และทุกคนควรล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการใช้มือ สัมผัสหน้า ตา จมูกโดยไม่จำเป็นเพราะเป็นทางแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ถ้าเรา ปฏิบัติได้ดังนี้จะช่วยลดการติดต่อของโรคได้มาก
    ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและไข้หวัด  ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แล้ว ประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลง ตัวเองตลอดเวลา ดังนั้นวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จึงมีการเปลี่ยนทุกปีตามเชื้อ ที่เปลี่ยนไป คนที่เสี่ยงต่อโรคนี้จึงควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อให้ได้ผลดีในการป้องกันโรคมากที่สุด

2.มือเท้าปาก
    โรค มือ-เท้า-ปาก และโรคจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 นับเป็นโรคที่ระบาดในเด็กโรคหนึ่ง ที่พบทุกปี โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มเข้าหน้าฝนเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคนี้สูง เพราะฉะนั้น เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ 
โรคมือเท้าปาก
    เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักระบาดในช่วงหน้าฝน โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ซึ่งมีหลายตัวที่ทำให้เกิดได้ โดยเชื้อที่รุนแรงที่สุด คือ เอนเตอโรไวรัส 71 หรือเรียกสั้นๆ ว่าเชื้อ อีวี71 ที่มีการระบาดรุนแรงในประเทศเพื่อนบ้านของเราก็เป็นเชื้ออีวี 71 นี่เอง ประเทศไทยเราก็พบเชื้ออีวี71 ร่วมกับเอนเตอโรไวรัสตัวอื่นๆด้วย  แต่ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ค่อยรุนแรง
อาการของโรคมือเท้าปาก
    เด็กที่เป็นโรคมือ-เท้า-ปากมักเริ่มด้วยอาการไข้  เจ็บปาก  กินอะไรไม่ค่อยได้ น้ำลายไหล เพราะมีแผลในปากเหมือนแผลร้อนใน
และมีผื่นเป็นจุดแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจมีตามลำตัว แขน ขาได้  ผู้ป่วยมักมีอาการมากอยู่ 2-3 วัน จากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายใน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก แต่บางรายมีอาการมากจนกินอาหารและน้ำไม่ได้
    โดยปกติโรคนี้ไม่น่ากลัว และหายเองโดยไม่มีปัญหา แต่อาจมีโอกาสเล็กน้อยที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือพบปัญหาแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะถ้าเกิดจากเชื้ออีวี 71 จะมีโอกาสเกิดโรครุนแรงได้มากขึ้น
    ปัญหาแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดคือ ก้านสมองอักเสบ ทำให้เกิดภาวะหายใจและระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ซึ่งถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว และบางครั้งเชื้ออีวี 71 อาจทำให้เกิดสมองอักเสบรุนแรงได้ โดยไม่ต้องมีผื่นแบบ มือ-เท้า-ปากได้ เด็กที่จะมีปัญหาแทรกซ้อนรุนแรงหรือสมองอักเสบ จะมีสัญญาณอันตรายได้แก่ ซึม อ่อนแรง ชักกระตุก มือสั่น เดินเซ หอบ อาเจียน ซึ่งหากพบอาการเหล่านี้จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน การระบาดของโรคมือ-เท้า-ปาก ในประเทศไทยในขณะนี้แม้ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดอาการไม่รุนแรง แต่อย่างไรก็ดีต้องระวังอาการรุนแรงไว้ด้วย แม้จะมีโอกาสเกิดน้อยก็ตาม
ข้อสังเกตแรกเริ่มอาการของเด็กที่เป็น ‘โรคมือเท้าปาก’
    มีไข้เฉียบพลัน มีอาการปวดหัว , ปวดท้อง , เมื่อตามเนื้อตามตัว มีอาการเจ็บคอ , รู้สึกเบื่ออาหาร ซึ่งเด็กจะไม่ยอมทานอะไรเลยเนื่องจากเจ็บแผลที่อยู่ในปาก
เด็กจะมีน้ำลายเหนียวและไหลยืดมากผิดปกติอยู่ตลอดเวลา
    เมื่อผ่านไป 2 วัน ให้สังเกตอาการโรคมือเท้าปากของเด็กให้ดี เพราะในระยะนี้เพดานปากของเด็กจะเกิดเป็นแผล ทานอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ ร้องไห้ งอแงอยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้นประมาณ 2 วันก็จะมีตุ่มใสขึ้นตามมือ เท้า ลำตัว และก้นเด็ก ซึ่งในช่วงที่เด็กไม่สามารถทานอะไรได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยป้อนน้ำเด็กให้บ่อยที่สุด เนื่องจากเกรงว่าเด็กอาจจะมีอาการขาดน้ำจากการที่ไม่ยอมกินน้ำนั่นเอง

 

เตือน 3 โรคต้องระวังมากๆ ช่วงฤดูฝนนี้


การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก
    ในการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากนั้น มักจะวินิจฉันได้จากลักษณะอาการของโรคที่แสดงออกมาและการตรวจผู้ป่วยดังต่อไปนี้ผู้ป่วยมีไข้สูง 38 - 39 องศาเซลเซียส พบจุดนูนแดง ตุ่มน้ำใส หรือแผลที่เยื่อบุปาก ลิ้น และเหงือก พบจุดแดงราบ ตุ่มนูน หรือตุ่มน้ำที่มือ เท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และแก้มก้น
    ในผู้ป่วยรายที่มีอาการแทรกซ้อนอย่างรุนแรง แพทย์อาจจะทำการตรวจเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่งที่บริเวณคอหอย อุจจาระ หรือน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำบนผิวหนังเพิ่มเติม เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นการติดเชื้อในกลุ่มนี้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากว่าการตรวจในลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย อีกทั้งยังมีราคาแพง และในบางสถานการณ์ก็ไม่สามารถทำได้อันเป็นเหตุมาจากอุปสรรคทางเทคนิคต่างๆ อาทิ การตรวจหายีนของไวรัสด้วยวิธี Polymerase chain reaction (PCR) ที่จะใช้เวลาในการตรวจและรายงานผลที่ได้ประมาณ 1 - 3 วัน , การตรวจด้วยการเพาะเชื้อไวรัส (Virus culture) ใช้เวลาในการตรวจและรายงานผลที่ได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจที่จะให้ผลได้เร็วภายใน 1 - 2 ชั่วโมง
    สำหรับลักษณะของโรคมือเท้าปากจะมีอาการคล้ายกับโรคอื่นๆ จึงอาจทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคอื่นไม่ใช่โรคมือเท้าปาก อาทิ โรคไข้รูมาติก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นไข้ เกิดผื่นแดง , โรคเฮอร์แปงใจน่า เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นตามผิวหนังและเป็นตุ่มน้ำในปาก , เริม , อีสุกอีใส , แผลร้อนใน หรือแผลพุพอง เป็นต้น

การรักษาโรคมือเท้าปาก
    โรคนี้ไม่มียารักษาจำเพาะ หลักการรักษาเป็นการรักษาตามอาการ เด็กที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยวิกฤต
การติดต่อของโรคมือเท้าปาก
    โรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วยโดยตรง หรือทางอ้อม เช่น สัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โรคนี้จึงมักระบาดในโรงเรียนชั้นอนุบาลเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก
 วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก
    ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ การป้องกันที่สำคัญคือ แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคมิให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น เด็กทุกคนรวมทั้งผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรหมั่นล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หมั่นทำความสะอาดของเล่น และสิ่งแวดล้อมทุกวัน การทำความสะอาดโดยใช้สบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาชะล้างทำความสะอาดทั่วไป แล้วทำให้แห้ง ควรระมัดระวังในความสะอาดของน้ำ อาหาร และสิ่งของทุกๆ อย่างที่เด็กอาจเอาเข้าปาก ไม่ให้เด็กใช้ของเล่นที่อาจปนเปื้อนน้ำลาย หรืออุปกรณ์การรับประทานร่วมกัน ควรสอนให้เด็กๆ ใช้ช้อนกลาง และล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
    โรงเรียนไม่ควรรับเด็กป่วยเข้าเรียนจนกว่าจะหายดี ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่ป่วยไปพบแพทย์ ไม่ควรพาไปโรงเรียน หากพบว่าเป็นโรคนี้ควรให้การรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ และ เมื่อหายป่วยแล้ว เด็กที่เป็นโรคนี้ยังมีเชื้ออยู่ในอุจจาระได้ นานหลายสัปดาห์ ดังนั้นเมื่อเด็กหายป่วยแล้ว ยังต้องมีการระวังการปนเปื้อนของอุจจาระต่ออีกนาน ควรเน้นการล้างมือหลังเข้าห้องน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนรับประทานอาหารแก่เด็กและผู้ใหญ่ทุกคน ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เพราะแอลกอฮอลล์เจลจะฆ่าเชื้อเอนเตอโรไวรัสไม่ได้
    ในช่วงที่มีการระบาด ไม่ควรนำเด็กไปในที่ที่มีเด็กอื่นอยู่รวมกันจำนวนมาก เพราะจะมีโอกาสรับเชื้อได้เนื่องจากมีเด็กที่เป็นโรคนี้และแพร่เชื้อได้โดยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก ที่อาจไปอยู่รวมกัน

เตือน 3 โรคต้องระวังมากๆ ช่วงฤดูฝนนี้
การป้องกันการระบาดในสถานรับดูแลเด็กหรือโรงเรียนชั้นอนุบาล
    1. มีการตรวจคัดกรองเด็กป่วย ได้แก่ เด็กที่มีไข้ หรือเด็กที่มีผื่น หรือมีแผลในปาก ไม่ให้เข้าเรียน ทั้งนี้เพราะมีผู้ป่วยบางคนที่มีอาการน้อยมาก หรือมีบางคนที่มีอาการไข้แต่ไม่มีผื่น ควรต้องจัดหาเครื่องมือวัดอุณหภูมิ (ปรอท) ไว้ให้พร้อมเพื่อใช้ในกรณีที่สงสัยว่าเด็กจะมีไข้ และมีครูหรือพยาบาลตรวจรับเด็กก่อนเข้าเรียนทุกวัน
    2. ควรมีมาตรการในการทำความสะอาดของเล่น และสิ่งแวดล้อมทุกวัน หรือเมื่อมีการเปื้อนน้ำลาย น้ำมูกหรือสิ่งสกปรก
    3. มีมาตรการเคร่งครัดในการล้างมือ ให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับที่ดูแลสัมผัสเด็กเล็ก โดยเฉพาะในทุกครั้งที่อาจสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระ การใช้แอลกอฮอลล์เจลล้างมือ ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้
    4. หากมีการระบาดเกิดขึ้นหลายราย ควรพิจารณาปิดชั้นเรียนนั้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือหากมีการระบาดเกิดขึ้นในหลายชั้นเรียน ควรปิดโรงเรียนด้วย เพื่อหยุดการระบาด
การดูแลเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก
    ต้องบอกเลยว่าโรคมือเท้าปากที่เกิดขึ้นนั้น การรักษาความสะอาดร่างกายของเด็กก็มีส่วนที่จะไม่ทำให้แผลเกิดการลุกลามได้ง่าย รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องทำจิตใจให้เข้มแข็งมากๆ ที่จะดูแลเขา หากเด็กมีไข้ก็ให้เช็ดตัว หรือกินยาลดไข้เข้าไปเพื่อบรรเทา สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดอย่างหนึ่งเมื่อเด็กเป็นโรคนี้ คือ เขาจะไม่ยอมกินอะไรเพราะเจ็บแผลในปาก ฉะนั้น ก่อนการรับประทานอาหาร ให้คุณแม่ใช้ยาชาที่คุณหมอให้เมื่อครั้งที่ไปตรวจมาทาที่บริเวณแผลในปากของเด็กก่อนที่จะกินอาหาร หรือเน้นให้เด็กกินอาหารที่เป็นของเหลวและต้องมีความเย็น อาทิ นมแช่เย็น , น้ำเต้าหู้ที่ไม่ร้อน , น้ำหวาน , ไอศกรีม , เจลลี่ , ผลไม้ , เต้าฮวยนมสด , เกลือแร่ รวมถึงเน้นให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อลดอาการขาดน้ำ หากเด็กไม่สามารถกินอะไรได้เลยก็ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อให้น้ำเกลือโดยด่วน
    ในกรณีที่เด็กมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคมือเท้าปาก คุณพ่อคุณแม่ควรจะให้เด็กหยุดเรียนก่อนเพื่อดูอาการของโรค และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายได้หากพบว่าเป็น ซึ่งโดยปกติแล้วโรคมือเท้าปากจะไม่มีความรุนแรงมากนักและจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าเด็กมีอาการมีอาการซึม หรืออาเจียนมากต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจและดูอาการ เนื่องจากอาจจะมีอาการของสมองอักเสบเข้ามาร่วมด้วย

3.ไข้เลือดออก
    โรคไข้เลือดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส "เด็งกี่" (Dengue) โดยมี ยุงลาย เป็นพาหะนำโรค ไข้เลือดออกนับเป็นโรคอันตรายเพราะถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่หากรู้ตัวและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลาไม่นาน ทั้งนี้หลายๆ คนอาจสับสนระหว่างโรคไข้เลือดออกกับโรคไข้หวัดใหญ่เพราะมีอาการเบื้องต้นคล้ายคลึงกัน ฉะนั้นจึงต้องสังเกตอาการเริ่มแรกให้ดี เพื่อแยกแยะความแตกต่างของไข้หวัดใหญ่กับ ไข้เลือดออก ให้ได้

 

เตือน 3 โรคต้องระวังมากๆ ช่วงฤดูฝนนี้
    โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เด็งกี่-1 เด็งกี่-2 เด็งกี่-3 และเด็งกี่-4  หากได้รับเชื้อไวรัสไม่ว่าจะสายพันธุ์ใดก็สามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้ทั้งนั้น แต่หากร่างกายติดเชื้อจากสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งไปแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานสายพันธุ์นั้นขึ้นมา หมายความว่าเราจะไม่ติดเชื้อจากสายพันธุ์นั้นอีกไปตลอดชีวิต แต่ยังมีโอกาสติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่นได้
    โรคไข้เลือดมักระบาดในหน้าฝน เมื่อมียุงลายเพศเมียไปกัดคนที่มีเชื้อไวรัส เชื้อนั้นจะเข้าสู่กระเพาะของยุงและเข้าไปอยู่ในเซลล์บริเวณผนังกระเพาะ ไวรัสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นจะเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายของยุงที่พร้อมจะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป 

เตือน 3 โรคต้องระวังมากๆ ช่วงฤดูฝนนี้
    เชื้อไวรัสจะมีระยะฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงตัวนั้นกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัดต่อไป เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนผ่านระยะเวลาฟักตัวนาน 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน - นานที่สุด 15 วัน) หลังจากนั้นจะมีอาการเหมือนไข้หวัด คือ มีไข้ ตัวร้อน ไอ คลื่นไส้ เวียนหัว เป็นต้น จึงอาจทำให้เกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้ในกรณีที่โรคยังไม่ถึงระยะลุกลาม ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายกับไข้หวัด แพทย์จึงมักสั่งให้ตรวจเลือดเพื่อค้นหาว่าผู้ป่วยติดเชื้ออะไร  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะตรวจหาเชื้อไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่  
    ยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเด็งกี่จะพบเป็นจำนวนมากในแถบประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากข้อมูลของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยพบว่า พ.ศ. 2557 พบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกร่วม 40,000 ราย ปัจจุบันสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย เดือน 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562  มีจำนวนผู้ป่วยสะสมมากถึง 31,843ราย เสียชีวิตแล้ว 48 ราย เมื่อเทียบกับสถิติช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 19,804 ราย เสียชีวิต 24 ราย จะเห็นได้ว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 1.6 เท่า  ไข้เลือดออกจึงเป็นโรคที่น่ากลัวไม่น้อยเลยทีเดียว
    ส่วนใหญ่แล้วคนปกติที่มีร่างกายแข็งแรงจะมีภูมิคุ้มกันโรค แต่เด็กหรือคนที่มีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง เชื้อไข้เลือดออกจะเข้าทำลายระบบการไหลเวียนของเลือด ผนังเซลล์เม็ดเลือดแดง และทำลายอวัยวะภายในร่างกายจนมีเลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออก
    อาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมีความรุนแรงต่างกัน แต่อาการที่เด่นชัดคือ มีไข้คล้ายอาการไข้หวัดทั่วไปคือ เป็นไข้  ตัวร้อน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ ปวดตามกระดูก ปวดตา ตาพร่า ท้องเสีย
    ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีภาวะเลือดออก พบบ่อยที่สุดคือบริเวณผิวหนัง มีเลือดออกเป็นจุดเล็กๆ กระจายอยู่เต็มตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ รวมทั้งเลือดออกที่อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ทางเดินอาหาร บางคนอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ผู้ป่วยอาจมีอาการตับโต เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ มีเลือดออกที่ตับ ม้าม หรือมีอาการของไตวาย รวมทั้งมีโอกาสเกิดภาวะช็อกร่วมด้วยซึ่งอันตรายมาก

 เมื่อเปรียบเทียบกับไข้หวัด อาการของไข้เลือดออกที่เห็นชัดมีดังนี้
มีไข้สูงเฉียบพลัน แต่ส่วนมากไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ
อาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
มีเลือดออก (กรณีอาการถึงขั้นรุนแรง) เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อาจถ่ายหรืออาเจียนเป็นเลือด
ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรงในช่วง 3-5 วัน หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นอาการอาจจะทุเลาลงไประยะหนึ่งและมีอาการรุนแรงขึ้นมาอีก จนอาจถึงขั้นช็อกและเสียชีวิตได้ แต่หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็สามารถหายจากโรคได้ภายในไม่กี่วัน

 

เตือน 3 โรคต้องระวังมากๆ ช่วงฤดูฝนนี้


สำหรับอาการของโรคไข้เลือดออกสามารถสังเกตได้ดังนี้
    ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยประมาณ 2-7 วัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส หรืออาจสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส โดยอาจเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน ในบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติการชักมาก่อน
ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออก พบบ่อยที่สุดบริเวณผิวหนัง โดยจะพบว่า มีเส้นเลือดเปราะและแตกง่ายร่วมกับมีจุดเลือดออกเป็นจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่เต็มตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ ทั้งนี้อาจมีเลือดดำหรือเลือดออกตามไรฟันร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขั้นรุนแรง อาจมีอาการอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ สำหรับอาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อกในผู้ป่วยที่มีการช็อกอยู่นาน
ผู้ป่วยจะมีอาการตับโต เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ โดยส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการตับโต ในช่วงวันที่ 3-4 นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ
ผู้ป่วยจะมีภาวะระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกอาจจะมีอาการรุนแรง หรือเรียกว่า ภาวะช็อก เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด หรือช่องท้อง เกิดภาวะช็อกจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (Hypovolemic Shock) ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับไข้ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
    สำหรับช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเกิดอาการช็อกนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ด้วยเช่นกัน อาจจะเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 หรือวันที่ 8 ของวันที่ป่วย ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการแย่ลง โดยเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเริ่มเย็น ชีพจรเบา และความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
    จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า อาการของผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกและไข้หวัดนั้นใกล้เคียงกันมาก จึงทำให้ผู้ป่วยและคนรอบข้างชะล่าใจ เนื่องจากคิดว่าเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา กว่าจะรู้ตัวอีกครั้งก็เมื่อมีอาการเลือดออกมากผิดปกติ มีไข้ อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด มือ เท้าเย็น ตาลาย เหงื่อออกมาก หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงที่ไข้ลด ถือเป็นสัญญาณอันตรายต้องรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจช็อกหมดสติได้
    ดังนั้นทางที่ดีเมื่อพบว่าตนเองมีอาการป่วยไข้ อย่านิ่งนอนใจให้รีบมาพบแพทย์ หรือถ้าหากกินยาแล้วอาการไม่ทุเลาลงแต่กลับมีไข้สูง ให้รีบเช็ดตัวผู้ป่วยเพื่อลดไข้ และรับประทานยาพาราเซตามอล จากนั้นให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป