- 23 มี.ค. 2563
จากสถานการณ์โรคปอดอักเสบชนิดรุนแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ไวรัสโควิด -19 ที่กำลังระบาดในจีน โดยเริ่มมีการรายงานว่าพบผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2562 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ตอนกลางของประเทศจีน จนตอนนี้โรคไม่ได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว แต่ยังกระจายไปทุกมณฑลและเขตการปกครองอื่นๆ ของจีน และหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 337,000 คน และผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 14,600 และมีท่าทีว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จากสถานการณ์โรคปอดอักเสบชนิดรุนแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ไวรัสโควิด -19 ที่กำลังระบาดในจีน โดยเริ่มมีการรายงานว่าพบผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2562 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ตอนกลางของประเทศจีน จนตอนนี้โรคไม่ได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว แต่ยังกระจายไปทุกมณฑลและเขตการปกครองอื่นๆ ของจีน และหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 337,000 คน และผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 14,600 และมีท่าทีว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
กระทั่งต่อมา กระทรวงสาธารธสุข นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 10 ได้แจ้งยอดผู้ป่วยล่าสุดว่ามีผู้ป่วยหายเพิ่ม 7 ราย ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 52 ราย กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 668 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมแล้วมีผู้ป่วยสะสม 721 ราย เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 122 ราย ทั้งนี้ที่น่าห่วงก็คือผู้ที่อาศัยอยู่ในกทม.ได้ทยอยกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ซึ่งทางสธ.เกรงว่านั่นจะเป็นการทำให้เชื้อแพร่กระจายเป็นวงกว้าง
อ่านข่าว - ชัดๆจากผลแถลง สธ. ยอดป่วยเพิ่ม 122 แยกเป็นกว่า 90 ยังต้องรอสอบสวนโรค แนวโน้มโควิดกระจายในตจว.
ล่าสุด ศาสตราจารย์ ดร.นายเเพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะ คาดการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่ง ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวตอนหนึ่งถึง ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีคนไข้เข้ามาตรวจไวรัสโควิด-19 จากที่นิ่งๆ พบไม่มาก มากระโดดเมื่อเจอติดเชื้อที่ผับและที่สนามมวย ขณะที่โลกแบ่งประเทศการระบาดโควิด-19 เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คุมไม่อยู่ จะอยู่ทางประเทศยุโรป กับกลุ่มที่คุมอยู่ คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
ส่วนประเทศไทย ศ.ดร.นายเเพทย์ประสิทธิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยกราฟไปคล้ายกับประเทศเยอรมนี หมายความว่า ถ้าเราไม่ทำอะไร คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้น จะเหมือนกับประเทศที่คุมไม่อยู่ แต่ละวันจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 33%
"วันนี้โอกาสที่ไทยจะสามารถคุมได้แบบญี่ปุ่นยากแล้ว เราเริ่มต้นช้า 3-4 วันมานี้ เราได้ตัวเลขนี้จริงๆ มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่ช่วยกันตัวเลขภายใน 15 เมษายน เราจะพบผู้ป่วยติดเชื้อ 351,948 ราย หากช่วยกันและทำได้สำเร็จ ดึงตัวเลขผู้ติดเชื้อลงมาเหลือ 20% ได้ ไทยจะมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตัวเลขอยู่ที่ 24,269 ราย"
ศ. ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า หากคนไทย ยังปฏิบัติแบบเดิม ยังอออกจากบ้าน ยังใช้ชีวิตพูดคุย เจอกัน ทำงานแบบที่ทำในเวลานี้ 15 เมษายน คาดว่า คนไทยเป็นโควิด 351,948 ราย นอนโรงพยาบาล 52,792 ราย นอนไอซียู 17,597 ราย และเสียชีวิต 7,039 คน
แต่หากทุกคนอยู่บ้าน คาดว่า 15 เมษายน คนไทยเป็นโควิด 24,269 ราย นอนโรงพยาบาล 3,640 ราย นอนไอซียู 1,213 ราย และเสียชีวิต 485 คน
"เราไม่อยากเห็นภาพที่เกิดขึ้นที่อิตาลีคนไข้ทะลักเข้าโรงพยาบาลจนเกินศักยภาพของโรงพยาบาล จะเกิดโรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลนอกพื้นที่ หากไทยปล่อยให้คนไข้หนักเกิน 17,597 ราย จะเกินศักยภาพโรงพยาบาลรับได้"
นอกจากนี้ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ไวรัสโควิดเมื่อเข้าสู่ร่างกาย สิ่งที่ทำลายตั้งแต่ต้น และคุมไม่อยู่ มันจะไปทำลายปอด หลายคนคงเห็น มีคนจำนวนหนึ่งเดินมาเหมือนไม่มีอาการ แต่มาตรวจเจอโควิด เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เริ่มทำลายปอดแล้ว หมายความว่า มีคนไข้ที่ไม่รู้ตัวเอง แต่ไวรัสได้แทรกไปอยู่ในเนื้อปอด ทำลายเนื้อปอดเมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง จะมีอาการมากขึ้น คนไข้อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ใช้เครื่องช่วยการทำงานของปอดและหัวใจ (ECMO) ถ้ามาถึงตรงนี้ จะเกิดเหตุการณ์แบบอิตาลี ต้องเลือกจะรักษาใคร
"หากเราไม่ช่วยกันวันนี้ ขยายเตียงเท่าไหร่ก็รับไม่ไหว"
พร้อมกันนี้ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวถึงศักยภาพสาธารณสุขไทย ทั้งห้องแยกผู้ป่วยเดี่ยว ห้องแยกผู้ป่วยรวม ห้องผู้ป่วยความดันลบ หากไม่ทำอะไรเลยจะเห็นว่า เกินศักยภาพสาธารณสุขไทยทั้งประเทศ และคนไข้โควิดที่เข้ามาเมื่อเจ็บป่วยหนัก หากไม่เสียชีวิต จะอยู่เป็นสัปดาห์ ๆ เมื่อผู้ป่วยสะสมๆ ก็จะเกิดกระบวนการเลือก จัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอ
"จำนวนบุคลากรเป็นอีกหนึ่งทรัพยากรที่เรากังวล ที่อิตาลีพบว่า 8% ของคนที่เสียชีวิต คือบุคลากรด้านสุขภาพ คนไข้เข้ามาจนอุปกรณ์ในการป้องกันตัวไม่พอ ชุด หน้ากากไม่พอ หากคนไข้หนักๆ เข้ามาเยอะ" ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว และว่า ไม่ใช่แพทย์ทุกคนสามารถดูแลผู้ป่วยหนักโควิดได้ ต้องรู้ลึกเท่านั้น
ด้านผศ.นพ.มนศักดิ์ ชูโชติรส รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ให้ข้อมูลถึงจำนวนเตียงในโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โดยมีการแบ่งเตียงออกเป็น 3 ประเภท
1. ห้องแยกผู้ป่วยเดี่ยว หรือห้องแยกโรคธรรมดา (Isolation room AIIR) รับคนไข้อาการปานกลาง ลงไปหาน้อย มี 15 ห้อง
2. ห้องความดันลบ (AIIR) หรือห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อ เอาไว้รับคนไข้ปานกลาง-หนัก มี 7 ห้อง
3. ห้องแยกผู้ป่วยแบบรวมหลายเตียง (Cohort Ward) อาการน้อยถึงปานกลาง มี 32 เตียง
ผศ.นพ.มนศักดิ์ กล่าวถึงทรัพยากรที่ศิริราชใช้อยู่รายเดือน พบว่า ช่วง 1-16 มีนาคม มีจำนวนการใช้สูงขึ้นอย่างมาก ยกตัวอย่างชุดกาวน์หมี จากเคยใช้ 16 ชุดต่อเดือน แค่ครึ่งเดือนมีนาคม ใช้ไปแล้ว 200 ชุด คาดว่า จะหมดในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนSurgical mask แบบห่วง เคยใช้ 2.5 แสนชิ้นต่อเดือน เพียง 16 วันที่ผ่านมา ใช้ไปแล้ว 2.1 แสนชิ้น ฉะนั้นของที่เรามีอยู่คาดว่า เดือนเดียวก็หมดถ้าเรายังไม่ช่วยกัน
อย่างไรก็ตาม ผศ.นพ.สนั่น วิสุทธิศักดิ์ชัย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวถึงจำนวนเตียงในประเทศไทย กับการรองรับการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการเปลี่ยนแปลงตลอด มีแนวโน้นจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากทุกโรงพยาบาลพยายามขยายผู้ป่วยโควิด ซึ่งห้องแยกผู้ป่วยเดี่ยว ห้องความดันลบ (AIIR) .ห้องแยกผู้ป่วยแบบรวมหลายเตียง (Cohort Ward) ของศิริราช ยังไม่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา สำรวจพื้นที่ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้เพื่อเตรียมเปิดในอนาคต