6 ข้อห้ามของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ประชาชนต้องรู้ ก่อนใช้จริงในวันที่ 26 มี.ค.นี้

ภายหลัง "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า จะใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นเวลา 1 เดือน

ภายหลัง "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า จะใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นเวลา 1 เดือน

 

6 ข้อห้ามของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ประชาชนต้องรู้ ก่อนใช้จริงในวันที่ 26 มี.ค.นี้

ซึ่งจะเริ่มมีผลวันที่ 26 มีนาคมนี้ โดยเนื้อหาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามมาตรา 9 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

6 ข้อห้ามของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ประชาชนต้องรู้ ก่อนใช้จริงในวันที่ 26 มี.ค.นี้

1) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น

2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย

6 ข้อห้ามของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ประชาชนต้องรู้ ก่อนใช้จริงในวันที่ 26 มี.ค.นี้

3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร

 

6 ข้อห้ามของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ประชาชนต้องรู้ ก่อนใช้จริงในวันที่ 26 มี.ค.นี้

4) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

5) ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ
6) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด