- 05 เม.ย. 2563
สืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก “นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา” ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง และ “มณฑา” จำคุก 13 ปี 4 เดือน เเละ “พิชชาภา” 20 ปี อีกทั้งให้ปรับ บ.ไร่ส้ม เป็นเงิน 80,000 บาท ทั้งโจทก์และจำเลยยื่นอุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยทั้งหมดได้ประกันและเดินทางมาฟังคำพิพากษา โดยตัดสินให้ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา มีโทษจำคุก 6 ปี 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 48 – 28 เม.ย. 49 ต่อเนื่องกัน นางพิชชาภา พนักงานจัดทำคิวโฆษณาของ บมจ.อสมท จำเลยที่ 1 ได้จัดทำคิวโฆษณารวม ในรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ซึ่งก่อนออกอากาศนางพิชชาภา ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต ไม่รายงานการโฆษณาเกินเวลาเพื่อเรียกเก็บค่าโฆษณาเกินเวลาจาก บจก.ไร่ส้ม จำเลยที่ 2 จำนวน 17 ครั้ง ทำให้ บมจ.อสมท เสียหาย 138,790,000 บาท และยังได้เรียกรับเอาเงิน 658,996 บาท จากจำเลยที่ 2-4 เพื่อเป็นการตอบแทนที่ นางพิชชาภา ไม่รายงานการโฆษณา
สืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก “นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา” ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง และ “มณฑา” จำคุก 13 ปี 4 เดือน เเละ “พิชชาภา” 20 ปี อีกทั้งให้ปรับ บ.ไร่ส้ม เป็นเงิน 80,000 บาท ทั้งโจทก์และจำเลยยื่นอุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยทั้งหมดได้ประกันและเดินทางมาฟังคำพิพากษา โดยตัดสินให้ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา มีโทษจำคุก 6 ปี 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 48 – 28 เม.ย. 49 ต่อเนื่องกัน นางพิชชาภา พนักงานจัดทำคิวโฆษณาของ บมจ.อสมท จำเลยที่ 1 ได้จัดทำคิวโฆษณารวม ในรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ซึ่งก่อนออกอากาศนางพิชชาภา ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต ไม่รายงานการโฆษณาเกินเวลาเพื่อเรียกเก็บค่าโฆษณาเกินเวลาจาก บจก.ไร่ส้ม จำเลยที่ 2 จำนวน 17 ครั้ง ทำให้ บมจ.อสมท เสียหาย 138,790,000 บาท และยังได้เรียกรับเอาเงิน 658,996 บาท จากจำเลยที่ 2-4 เพื่อเป็นการตอบแทนที่ นางพิชชาภา ไม่รายงานการโฆษณา
โดยเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยหน้าที่และเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ บมจ.อสมท โดยมีจำเลยที่ 2-4 เป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้ความสะดวกในการกระทำผิด และมอบเช็คธนาคารธนชาต สาขาพระราม 4 สั่งจ่ายเงินให้นางพิชชาภา เเละก่อนหน้านี้ ทางด้านของ แอนมินแฟนเพจ สรยุทธ สุทัศจินดา กรรมกรข่าว นั้นได้ออกมาโพสต์เล่าเรื่องราว หลังได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยม นายสรยุทธ ผ่านเเฟนเพจว่า "แอดมินมีโอกาสไปเยี่ยมพี่ยุทธ พี่ยุทธเล่าเรื่องเพลง “ขอโอกาส”ของวง BRP band วงดนตรีของนักโทษชาย เรือนจำพิเศษกรุงเทพคิดว่าพี่ยุทธคงอยากให้ได้ฟังกัน ฝากเข้าไปดูและกดไลค์เป็นกำลังใจให้วง BRP band ด้วยนะครับ"
ล่าสุด นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงแผนงานต่างๆ ในเวลานี้ ว่าตนได้แบ่งงานภายในกระทรวงออกเป็น 3 ส่วนคือ อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต โดยยึดโมเดลของ “ยุติธรรมปันสุข” คือการเข้าถึงสิทธิมนุษยธรรม การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ในอดีตปัญหาที่ยาวนานคือเรามีผู้ต้องขังมากถึง 380,000 คน แต่เรือนจำทั่วประเทศรองรับผู้ต้องขังได้เพียง 220,000 คน ดังนั้น มีปริมาณที่เกินอยู่ถึง 160,000 คน การเป็นอยู่ในเรือนจำนั้นจึงแออัด ซึ่งเราหาแนวทางแก้ไขมาตลอด
นายสมศักดิ์ยังกล่าวอีกว่า เมื่อถึงปัจจุบันแนวทางการทำงานคืบหน้าในหลายด้าน มีการบูรณาการ ผลักดันจนเกิดความคืบหน้าในเรื่องของกำไลอิเล็กทรอนิกส์ หรือกำไลอีเอ็ม ที่จะสามารถปล่อยผู้ต้องขังด้วยการพักโทษได้ถึง 30,000 คน รวมถึงการสร้างเรือนอนเดิมให้เป็น 2 ชั้น ลดการแออัดตามเรือนจำต่างๆ ได้อีก 50,000 คน หากนับเป็นรายหัวของความแออัดจะลดได้ถึง 80,000 คน ดังนั้น ส่วนที่ยังเกินในเรือนจำจะเหลือเพียง 80,000 คน และเราจะหาหนทางต่อไป ซึ่งอาจจะต้องการปรับแก้กฎหมายเข้ามาลดผู้ต้องขังตรงส่วนนี้
รมว.ยุติธรรมกล่าวต่อว่า ต้องขอบคุณทีมงานกระทรวงยุติธรรม นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวง ที่ต้องบูรณาการใช้เงิน เกลี่ยงบประมาณ เตียงสองชั้น นิติวิทยาศาสตร์ กำไลอีเอ็ม อีกทั้งพัฒนากฎหมายต่างๆ เพื่อควบคุมดูแลผู้ต้องขัง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้นำงบประมาณ 193 ล้านบาท มาทำห้องกักโรค รวมถึงเตียงนอน 2 ชั้น ทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหางานที่กระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบ
นายสมศักดิ์ยังกล่าวอีกว่า จากที่ตนให้นโยบายในการทำงานเรื่องของการสร้างภูมิคุ้มกันในเรือนจำ ลดความเครียด ให้ความรู้ผู้ต้องขังในเรื่องของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 อธิบดีกรมราชทัณฑ์ก็ได้ตั้งศูนย์ขึ้นมา โดยเอานายสรยุทธ สุทัศนะจินดา อดีตผู้ประกาศข่าวชื่อดัง ผู้ต้องราชทัณฑ์ มาเป็นพิธีกรจัดรายการเรื่องเล่าชาวเรือนจำ ให้ความรู้ผู้ต้องขัง 143 แห่งทั่วประเทศ
นายสมศักดิ์ยังกล่าวอีกว่า เวลานี้สรยุทธได้ทำรายการแล้ว ทั้งยังมีการทำคลิปวิดีโอเพลงไม่ต้องห่วงฉัน ออกมาเผยแพร่ให้ญาติพี่น้องของผู้ต้องขัง รวมถึงสังคมสบายใจ ทุกเทปที่ทำในเวลานี้เป็นการให้ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงในเรื่องโควิด-19 ในเรือนจำ รวมถึงบอกเล่าในมาตรการต่างๆ ที่กรมราชทัณฑ์ทำให้ผู้ต้องขังทั่วประเทศ จะได้ไม่เข้าใจผิด
จนเกิดการปลุกปั่นจนเผาเรือนจำแบบจังหวัดบุรีรัมย์ นักโทษคดีร้ายแรงมักมีความคิดแหกคุก พยายามปลุกปั่นหากเรารับมือได้ การปลุกปั่นจะไม่สามารถหลอกผู้อื่น ผมว่าอาจจะหยุดการปลุกปั่นทั้งหมดไม่ได้ เราเพียงทำให้ดีขึ้น แต่การมีศูนย์นี้จึงถือเป็นหนึ่งในการดูแลความมั่นคงในเรือนจำที่เราต้องป้องกันไม่ให้เกิดจราจลเหมือนที่ผ่านมา
นายสมศักดิ์ยังกล่าวต่อว่า ส่วนงานในอนาคต เวลานี้ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จะพัฒนาแล็บของสำนักงานให้เป็นแล็บที่ 29 ของประเทศไทย ที่สามารถตรวจเชื้อโควิด-19 ได้ โดยจะสามารถตรวจผู้ต้องสงสัยหรือในกลุ่มเสี่ยงได้ง่ายโดยเพราะผู้ต้องขังที่มีจำนวนมาก หากพบสามารถส่งตรวจรู้ผลใน 24 ชั่วโมง เราต้องสกัดให้ไวเพราะเวลานี้เรือนจำยังมีความแออัด งบประมาณในเรื่องของน้ำยาและอุปกรณ์ต่างๆ จะอยู่ที่ 2,200 บาทต่อเคส ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 13 เมษายนนี้
ขอบคุณคลิปจาก : FB The Report