- 24 เม.ย. 2563
ประกาศ ธปท. ปล่อยเงินกู้0.01/ปี แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจกระทบจากโควิด-19
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 กําหนดชําระไม่เกินระยะเวลา 2 ปี
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส1. 2/2563เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1. เหตุผลในการออกประกาศ
สืบเนื่องจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ขยายวงกว้าง ยืดเยื้อ และมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากมาตรการที่รัฐกําหนดให้ประชาชนต้องปฏิบัติ อันเป็นการระงับ ยับยั้ง หรือแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าว จึงจําเป็นต้องมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและเป็นแหล่ง จ้างงานที่สําคัญของระบบเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน โดยจําเป็นต้องมีมาตรการครอบคลุมทั้งการลดภาระหนี้ การเสริมสภาพคล่อง รวมถึงส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธุรกิจให้สอดคล้องกับความสามารถ ในการชําระหนี้ที่คาดว่าจะลดลงอย่างรุนแรงจากผลการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงได้มีการตราพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 เพื่อป้องกันมิให้เกิดสภาวะ การขาดสภาพคล่องของภาคธุรกิจและการผิดนัดชําระหนี้ของภาคธุรกิจในวงกว้าง อันจะกระทบต่อฐานะ ทางการเงินและการทําหน้าที่ด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งจะทําให้ปัญหาทวีความรุนแรง และลุกลาม ยากต่อการแก้ไขในภายหลัง โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจเฉพาะคราวในการ ให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเพื่อให้สถาบันการเงินนําไปใช้สําหรับให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบต่อไปในอัตราดอกเบี้ยต่ํา ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการดําเนินการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 11 แห่งพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
4. เนื้อหา
4.1 คําจํากัดความ ในประกาศนี้
"ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย
"พระราชกําหนด" หมายความว่า พระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
"ผู้ประกอบวิสาหกิจ" หมายความว่า ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นวิสาหกิจที่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท และไม่เป็น ส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะตามที่ ธปท. กําหนด
"กลุ่มธุรกิจ" หมายความว่า บุคคลหลายคนที่ฐานะการเงินและความสามารถ ในการชําระหนี้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนเสมือนว่าการให้สินเชื่อแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นการให้สินเชื่อแก่บุคคลเดียวกันเป็นสําคัญ เช่น บริษัทแม่ บริษัทลูก บริษัทร่วม หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินซึ่งประกอบธุรกิจ ให้สินเชื่อ
หมวด 1
การให้กู้ยืมเงินของ ธปท.
4.2 วัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน
ธปท. จะให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินนําเงินดังกล่าวไปให้กู้ยืม เพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจตามมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อเพิ่มเติมที่กําหนดในพระราชกําหนด เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่มีศักยภาพให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ อันจะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถดําเนินกิจการต่อไปได้ รักษาระดับการจ้างงาน และช่วยเป็นแรง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศภายใต้ภาวะที่การดําเนินธุรกิจประสบปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 และมาตรการที่รัฐกําหนดให้ประชาชนต้องปฏิบัติอันเป็นการระงับ ยับยั้ง หรือ แก้ไขปัญหาอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าว ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเร่งกระจาย สินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจโดยเร็ว และเป็นไปอย่างทั่วถึง รวมทั้งให้ติดตามดูแล ให้ผู้ประกอบวิสาหกิจนําเงินสินเชื่อไปใช้สําหรับการดําเนินธุรกิจ เช่น การชําระหนี้แก่เจ้าหนี้การค้า การจ่ายค่าแรงงาน เป็นต้น และติดตามดูแลไม่ให้ผู้ประกอบวิสาหกิจนําเงินสินเชื่อมาชําระหนี้เดิม ที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน
4.3 วิธีการ และกําหนดระยะเวลาในการยื่นขอกู้ยืมเงินต่อ ธปท.
สถาบันการเงินที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. ตามวัตถุประสงค์ในข้อ 4.2 ต้องยื่นคําขอกู้ยืมเงินต่อ ธปท. ภายในกําหนดระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่พระราชกําหนดใช้บังคับ หรือตามกําหนดระยะเวลาที่ ธปท. ขยายเพิ่มเติม โดยให้สถาบันการเงินยื่นขอกู้ยืมเงินมายัง ธปท. ในวันจันทร์ของทุกสัปดาห์ ก่อนเวลา 11.00 น. หรือตามวันและเวลาที่ ธปท. กําหนดเพิ่มเติม
ทั้งนี้ หากวันจันทร์ของสัปดาห์ใดตรงกับวันหยุดทําการของ ธปท. ให้สถาบันการเงินยื่นคําขอกู้ยืมเงินต่อ ธปท. ในวันทําการถัดไป ก่อนเวลา 11.00 น. โดย ธปท. พิจารณาให้กู้ยืมเงินตามลําดับก่อนหลังของ การยื่นคําขอกู้ยืมเงินของสถาบันการเงิน เว้นแต่ ธปท. จะเห็นสมควรจัดการเป็นประการอื่น
เมื่อ ธปท. พิจารณาคําขอกู้ยืมเงินข้างต้นแล้ว ธปท. จะแจ้งผลการพิจารณาให้สถาบันการเงินที่ยื่นคําขอทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ ธปท. จะอนุมัติเงินให้กู้ยืมตามจํานวนที่ ธปท. เห็นสมควร
การให้กู้ยืมเงินของ ธปท. จะดําเนินการโดยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงิน เป็นผู้ออก โดยตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องมีกําหนดชําระไม่เกินระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่สถาบัน การเงินได้รับเงินกู้ยืมจาก ธปท.
ในการขอกู้ยืมเงินแต่ละครั้ง สถาบันการเงินต้องดําเนินการ ดังนี้
(1)ทําหนังสือความตกลงเพื่อกู้ยืมเงินตามแบบที่กําหนดในเอกสารแนบ 1
(2)ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามแบบที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(2.1) ระบุจํานวนเงินที่ขอกู้ยืม
(2.2) วันถึงกําหนดชําระไม่เกินระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินกู้ยืมจาก ธปท.
(2.3) กําหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี
(3) ในการยื่นขอกู้ยืมเงินกับ ธปท. ครั้งแรก ให้สถาบันการเงินทําหนังสือยืนยันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการการจ่ายเงินชดเชยที่คณะกรรมการกํากับการจ่ายเงินชดเชยกําหนด ตามแบบที่กําหนดในเอกสารแนบ 3
(4) ตรวจสอบและรับรองว่าผู้ประกอบวิสาหกิจที่มาขอสินเชื่อเพิ่มเติมตามหนังสือ ความตกลงเพื่อกู้ยืมเงินมีลักษณะตามที่กําหนดในประกาศนี้
4.4 วงเงินให้กู้ยืม
ธปท. จะให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 4.2 ในวงเงินทั้งสิ้น ไม่เกิน 500,000 ล้านบาท
4.11 การคํานวณเงินชดเชย
เมื่อครบ 2 ปี 6 เดือนนับแต่วันที่พระราชกําหนดใช้บังคับ ธปท. จะดําเนินการ คํานวณเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับความเสียหายจากการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ประกอบ วิสาหกิจตามมาตรา 11 แห่งพระราชกําหนด และคํานวณเงินชดเชยดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บ จากผู้ประกอบวิสาหกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อ เพิ่มเติมตามมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกํากับการจ่ายเงินชดเชย ตามพระราชกําหนด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
4.11.1 เงินชดเชยความเสียหาย
เมื่อครบ 2 ปี 6 เดือนนับแต่วันที่พระราชกําหนดใช้บังคับ ธปท. จะดําเนินการ คํานวณเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับความเสียหายจากการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ประกอบ วิสาหกิจตามมาตรา 11 แห่งพระราชกําหนด และคํานวณเงินชดเชยดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บ จากผู้ประกอบวิสาหกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อ เพิ่มเติมตามมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกํากับการจ่ายเงินชดเชย ตามพระราชกําหนด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
4.11.1 เงินชดเชยความเสียหาย
(1) จํานวนเงินที่สถาบันการเงินจะได้รับชดเชย ธปท. จะคํานวณจากจํานวนเงิน ที่สถาบันการเงินต้องกันสํารองเพิ่มเติมจากยอดหนี้รวมของลูกหนี้คูณด้วยอัตราส่วนของยอดหนี้ใหม่ ตามประกาศนี้กับยอดหนี้รวม และนํามาคูณด้วยอัตราร้อยละที่กระทรวงการคลังจะจ่ายเงินชดเชย ในแต่ละกรณีตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยอัตราการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายแก่สถาบันการเงินตามมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(2) ธปท. จะคํานวณเงินชดเชยที่สถาบันการเงินพึงได้รับเฉพาะสินเชื่อที่จะได้รับ ชดเชยตามข้อ 4.10 โดยแบ่งการคํานวณเป็น 2 ครั้ง ดังนี้
(2.1) เมื่อครบกําหนด 2 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่พระราชกําหนดมีผล ใช้บังคับ ธปท. จะคํานวณยอดเงินชดเชยรอบแรก ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินที่คํานวณได้ ตามวิธีการคํานวณในข้อ 4.11.1 (1)
การคํานวณเงินที่สถาบันการเงินต้องกันสํารองเพิ่มเติมในรอบแรก ธปท. จะใช้จํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารองเดือนสุดท้ายก่อนวันครบกําหนด 2 ปี นับแต่วันที่ ผู้ประกอบวิสาหกิจแต่ละรายได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมวันแรก หักด้วยจํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารอง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562
(2.2) เมื่อครบกําหนด 4 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่พระราชกําหนดมีผล ใช้บังคับ ธปท. จะคํานวณยอดเงินชดเชยรอบที่ 2 ตามวิธีการคํานวณในข้อ 4.11.1 (1)
การคํานวณเงินที่สถาบันการเงินต้องกันสํารองเพิ่มเติมในรอบที่ 2 ธปท. จะใช้จํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารองเดือนสุดท้ายก่อนวันครบกําหนด 4 ปี นับแต่วันที่ ผู้ประกอบวิสาหกิจแต่ละรายได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมวันแรก หักด้วยจํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารอง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562
ทั้งนี้ หากเงินชดเชยรอบที่ 2 มากกว่าจํานวนเงินที่ได้รับชดเชยในรอบแรก ให้ถือว่าเงินส่วนที่มากกว่าดังกล่าวเป็นเงินที่สถาบันการเงินพึงได้รับชดเชยเพิ่มเติมในรอบที่ 2 แต่ต้อง ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินที่คํานวณได้ตามวิธีการในข้อ 4.11.1 (1) ณ 2 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่ พระราชกําหนดใช้บังคับ โดยการคํานวณดังกล่าวให้ใช้จํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารองเพิ่มเติม ตามข้อ (2.1) วรรคสอง แต่หากเงินชดเชยที่คํานวณได้ในรอบที่ 2 นี้ ต่ํากว่าที่ ธปท. คํานวณได้ ในข้อ 4.11.1 (2.1) ให้สถาบันการเงินคืนเงินชดเชยตามส่วนต่างที่คํานวณได้ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ และวิธีการการจ่ายเงินชดเชยที่คณะกรรมการกํากับการจ่ายเงินชดเชยกําหนดรายละเอียดการคํานวณเงินชดเชย และตัวอย่างการคํานวณปรากฏ ตามเอกสารแนบ 5
(3) กรณีที่ ธปท. ขยายระยะเวลาในการยื่นคําขอกู้ยืมเงินตามข้อ 4.3 ธปท.จะคํานวณเงินชดเชยตามหมวดนี้ตามที่ ธปท. กําหนดในการขยายระยะเวลาแต่ละคราว
4.11.2 เงินชดเชยดอกเบี้ย
ให้สถาบันการเงินได้รับชดเชยดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บจากผู้ประกอบ วิสาหกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมงวดแรก เฉพาะสินเชื่อเพิ่มเติมที่ได้ให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามพระราชกําหนด และประกาศนี้ โดย ธปท. คํานวณเงินชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าวตามวิธีการปกติของการธนาคาร
5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563
วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย