เปิดโฉมหน้า 2 นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนโปรตีนใบยาสูบ ต้านโควิด อ.ธีระวัฒน์ โพล่งอ้างรัฐไม่สนับสนุน

หลังจากที่ทั่วโลกต้องต่อสู้กับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด - 19 ที่แพร่ระบาดกระจายไปทั่วโลกซึ่งประเทศไทยเองก็ไม่นิ่งเฉยกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากนักวิจัยต่างพากันคิดค้นยาต้านไวรัสเพื่อรักษามวลมนุษยชาติให้ได้โดยเร็วที่สุด

หลังจากที่ทั่วโลกต้องต่อสู้กับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด - 19 ที่แพร่ระบาดกระจายไปทั่วโลกซึ่งประเทศไทยเองก็ไม่นิ่งเฉยกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากนักวิจัยต่างพากันคิดค้นยาต้านไวรัสเพื่อรักษามวลมนุษยชาติให้ได้โดยเร็วที่สุด 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เปิดเผยข้อมูล 2 นักวิจัยที่พัฒนาวัคซีนโควิด-19 โปรตีนจากใบยาสูบ โดยเนื้อหาของบทความบางส่วน ระบุข้อมูลเกี่ยวกับ นักวิจัย 2 คน ใจความว่า


“หลังจาก ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ไทยจากบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม สามารถพัฒนาวัคซีนโควิด-19 และแอนติบอดีในการยับยั้งไวรัสจากใบยาสูบชนิดพิเศษได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกในการวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้น 

 

 

เปิดโฉมหน้า 2 นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนโปรตีนใบยาสูบ ต้านโควิด อ.ธีระวัฒน์ โพล่งอ้างรัฐไม่สนับสนุน

เรามาทำความรู้จักกับการวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 และแอนติบอดี้ในการยับยั้งเชื้อไวรัส จากใบยาสูบกันว่า มีเทคนิคอย่างไร…บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เป็นบริษัทสตาร์ทอัพ จากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CU Innovation Hub ซึ่งที่ผ่านมาคิดค้นวิจัยจนสามารถผลิตชุดทดสอบ COVID-19 : ชุดตรวจแอนติเจนและแอนติบอดีของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเรียกง่ายๆว่า เป็นชุดตรวจแอนติบอดีในการตรวจหาภูมิคุ้มกันของผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 (โควิด-19) นั่นเอง และล่าสุดยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19และแอนติบอดียับยั้งเชื้อไวรัส จากใบยาสูบ


ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CEO และ Co-founder ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด และ รศ. ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CTO และ Co-founder ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้บุกเบิกบริษัทใบยาสูบ พร้อมกับทีมนักวิจัยได้ร่วมกันพัฒนาเทคนิคการได้โปรตีนมาจากใบยาสูบ ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีการใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก และไทยได้นำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์กรณีเกิดการระบาดระลอก 2 เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์การระบาดโควิดอีกทางหนึ่ง


ล่าสุดสถาบันวัคซีนแห่งชาติ โดย นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้เข้ามาช่วยในการประสาน เพื่อหาแหล่งในการผลิตวัคซีน เพื่อทดลองในมนุษย์ ซึ่งประสานกับทางมหาวิทยาลัยมหิดล ในการผลิตเป็นไพล็อตแพลนต่อไป ขณะเดียวกันได้มีการประสานไปทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ในการขออนุญาตการดำเนินการผลิตอีกด้วย”

 

เปิดโฉมหน้า 2 นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนโปรตีนใบยาสูบ ต้านโควิด อ.ธีระวัฒน์ โพล่งอ้างรัฐไม่สนับสนุน

 ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CEO และ Co-founder ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด

 

เปิดโฉมหน้า 2 นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนโปรตีนใบยาสูบ ต้านโควิด อ.ธีระวัฒน์ โพล่งอ้างรัฐไม่สนับสนุน

รศ. ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CTO และ Co-founder ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้บุกเบิกบริษัทใบยาสูบ

 

 

นอกจากนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ยังได้โพสตือีกว่า "เป็นงงกับนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เวลาพูดฟังดูดีมาก ถ้าทำได้อย่างที่พูด ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองไปนานแล้ว แต่ภาคปฏิบัติกลับเป็นบ้องกัญชา นายกฯเพิ่งพูดในงาน 20 ปีเครือข่ายโกลบอล คอมแพ็ก แห่งสหประชาชาติ ถึง “วิถีคิดของผู้นำในสถานการณ์วิกฤติ ประสบการณ์จากสถานการณ์โควิด–19” ที่ไทยได้รับการยกย่องว่ารับมือโควิด-19 ได้ดีที่สุดในโลก และประกาศ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ของไทย ที่เรียกว่า Bio–Circular–Green Economy แต่รัฐบาลกลับไม่สนับสนุนการผลิตวัคซีนต้านโควิด–19 ที่คนไทยวิจัยได้เองในราคาถูกจาก “ใบยาสูบ” ที่เป็นพืชเศรษฐกิจในประเทศ

ศ.นพ.นรินทร์ กล่าวอีกว่า เดิมทีมวิจัยจะทดสอบวัคซีนในสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นคือลิง แต่เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ได้สูงมาก และไม่มีสิ่งบ่งบอกว่ามีสิ่งที่ทำอันตรายต่อคน เพราะเป็นวัคซีนที่ผลิตจากโปรตีนของพืช จึงมีความ ปลอดภัยสูง ก็จะข้ามไปทดลองในคน ขณะนี้ รพ.จุฬาฯ อยู่ระหว่างเตรียมอาสาสมัครทดลองวัคซีน คาดว่าจะใช้เวลาอีก 2 เดือน การทดลองจะใช้เวลา 1 ปี

วันที่ 29 สิงหาคม 63 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ แถลงผลการทดสอบ วัคซีนจากโปรตีนพิเศษในใบยาสูบ อีกครั้งยืนยันว่า สามารถยับยั้งไวรัสโควิด-19 ได้จริง แต่ต้องผลิตด้วยโรงงานที่มีศักยภาพสูง ต้องลงทุนสูง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐ “แต่ที่น่าเสียดายคือโครงการนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร” ไม่ว่าจะเสนอทั้ง กระทรวงสาธารณสุข หรือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ก็ไม่ได้รับความสนใจ เท่าที่ควร เรื่องนี้หากภาครัฐสนับสนุนจะทำให้สำเร็จได้มากขึ้น ขณะนี้ เดินมากว่าครึ่งทางแล้ว

ทุกอย่างตรงกันข้ามกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ พูดบนเวทีสหประชาชาติเมื่อสองวันนี้โดยสิ้นเชิง รวมทั้ง โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG–Bio–Circular–Green Economy ด้วย

โครงการผลิตวัคซีนจากโปรตีนใบยาสูบ ไม่ใช่เพิ่งมาคิดกันตอนนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เปิดเผยว่า คณะเภสัชฯ จุฬาฯ โดย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และ ดร.วรัญญู พูลเจริญ กับทีมวิจัยได้วิจัยมา 12 ปีแล้ว คนไม่ทราบว่าต้นไม้สามารถสร้างโปรตีนได้ เพียงแต่ต้องมี การชักนำด้วยการใส่รหัสพันธุกรรมลงไป บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม ไม่ได้ทำแค่เรื่องนี้ ก่อนหน้านี้ก็ได้พัฒนาโปรตีนอื่นๆ เช่น ยาต้านอีโบลา ไข้สมองอักเสบ เซรุ่มพิษสุนัขบ้า เมื่อโควิด-19 เข้ามา จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หันมาทำเพื่อช่วยเหลือประเทศชาติ

 

เปิดโฉมหน้า 2 นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนโปรตีนใบยาสูบ ต้านโควิด อ.ธีระวัฒน์ โพล่งอ้างรัฐไม่สนับสนุน