- 06 เม.ย. 2564
ดราม่าปะทุ! แม่ค้าโพสต์ทำอาชีพตัดสต็อกสินค้าโดนยึด กำไรวันละ 3 ล้าน ชาวเน็ตวิจารณ์ยับตั้งคำถามถึงศุลกากร คนที่ซื้อไปขายต่อได้สิทธิพิเศษอะไร กลายเป็นแฮชแท็กขึ้นเทรนด์ #ศุลกากรหรือซ่องโจร
เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 64 เพจเฟซบุ๊ก "Branding by Boy" ได้มีการพูดถึงกระแสดราม่าถึงกรมศุลกากร หลังจากที่แม่ค้าโพสต์ทำอาชีพสต็อกสินค้าโดนยึด ได้กำไรวันละ 3 ล้าน จนชาวเน็ตได้เข้ามาวิจารณ์ยับถามคนที่ซื้อไปขายต่อได้สิทธิพิเศษอะไร ทำให้มีแฮชแท็กขึ้นเทรนด์ #ศุลกากรหรือซ่องโจร ซึ่งทางเพจได้มีการระบุข้อความว่า
"ศุลกากรหรือซ่องโจร" ประเด็นร้อนที่ดูเหมือนจะเงียบงัน (แต่ฉันไม่อยากให้เงียบไป) เรื่องราวร้อนๆเกี่ยวกับศุลกากร จนมีคนติด hashtag #ศุลกากรหรือซ่องโจร เมื่อหลายวันก่อน แต่ดูเหมือนเรื่องจะเงียบๆ ผมเลยแวะเอาเรื่องนี้มาคุยกันบนเพจครับ
1) เนื่องด้วยก่อนหน้านี้มีประเด็นเรื่องดราม่าภาษีพัสดุที่ขูดรีด ซึ่งกรมศุลกากรก็ได้แจงดราม่าที่มีว่าเป็นไปตามหลักสากล จำเป็นต้องคิดภาษี แม้ไม่ใช่กรณีของการส่งพัสดุเพื่อธุรกิจ จะเป็นของขวัญหรือของใช้ส่วนตัวอะไรก็แล้วแต่ พยายามทำให้ถูกต้องตามหลักสากล แต่ก็มีคนไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้บนประสบการณ์จริง และแสดงความเห็นต่างๆ ว่า...
- "หลักสากลเค้าไม่ตั้งมูลค่าของที่จะคิดภาษีต่ำๆ ผ่านไปเป็นสิบปีไม่มีการอัปเดตหรอกนะคะ แล้วหลักสากลเค้าก็ไม่ให้เจ้าหน้าที่ "น้องพี่ขออันนี้อันนึง เดี๋ยวปล่อยของให้เลย" กับคนที่สั่งของด้วยค่ะ
- "การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ในการพิจารณาแต่ละเคส ก็ไม่ใช่หลักสากลแล้วนะ"
- "เอาอะไรมาสากลอ่ะ หลักเกณฑ์การประเมินภาษีก็ระบุไว้ชัดเจน หน้ากล่องก็ระบุราคาทุกอย่างไว้ครบ แต่ประเมินออกมาเกินจริงแล้วอ้างแต่ดุลยพินิจๆ ดุลยพินิจนี่มาตรฐานมากมั้ง ยังกล้าบอกว่าทำตามหลักสากล ทุเรศ"
- "หน้ากล่องก็เขียนราคาชัดเจนอยู่แล้วกี่ $ ยังประเมินมาสูงกว่าราคาที่ซื้อจริง สากลมากค่ะ"
2) หลังจากนั้นก็มีผู้ที่ต้องการคำตอบในประเด็นอื่นๆ เกี่ยวกับกรมศุลกากร เรื่องของการกล่าวหาว่า #ศุลกากรขโมยของไปขาย จริงเท็จให้ดูจากภาพประกอบที่มีผู้คนไปแคปมาจากกลุ่มที่ขายของจากกรมศุลกากรยึดมาครับ
3) ถ้าถามเราว่าจากภาพที่เห็นเชื่อได้ไหมว่าศุลกากรทำจริง ก็นับว่ามีความเป็นไปได้ที่คนจะตั้งข้อสงสัย เพราะมีทั้งภาพ และหลักฐานของ stock สินค้าที่ไปเอามา และอ้างอิงตัวเลขรายได้ทางธุรกิจที่มีผู้ได้รับผลประโยชน์ชัดเจน ในกระบวนการ
4) มีผู้คนใน twitter แจ้งเป็นจำนวนมากว่าของหาย และยืนยันว่าระหว่างการนำส่งของมา ของที่พวกเขาควรได้รับถูกขโมยไป และเรื่องราวที่มีต่อมาคือ การเอาของเหล่านี้ไปซื้อขายในกลุ่มทาง social network โดย process ของการยึดของที่เกิดขึ้น ที่ว่าด้วยกฎหมาย มีลักษณะดังนี้ครับ
- กรมศุลกากรดำเนินการตามมาตรา 23 แล้วถ้ายังไม่ได้รับค่าอากร อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดอายัดของและไปทอดขายตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียอากรได้ทั่วราชอาณาจักร
- เงินที่ได้ หักเป็นค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายยึดของและขายทอดตลาด ค่าอากรที่ไม่ได้เสียหรือเสียไม่ครบ
- ถ้าเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของ ตามมาตรา 24 แต่ในความเป็นจริงทำงานตามนี้กันหรือไม่ อย่างไร?!? คงต้องให้ทางกรมศุลกากรชี้แจงครับ
5) เพื่อให้เห็นภาพของการเก็บเงินภาษีของกรมศุลกากร ที่ทุกคนควรรู้ตามกฎหมาย สินค้าที่นำเข้า จะมี 3 ประเภท
1) ต่ำกว่า 1,500 บาท ไม่เสียภาษี
2) เกินกว่า 1,500 - 40,000 บาท เสียภาษี/vat ตามประเภทสินค้า
3) สินค้าต้องจำกัด ราคาเกิน 40,000 บาท พวกยา พืชภัณฑ์ที่ต้องแสดงใบนำเข้าต่างๆ
อีกอย่างหนึ่งคือสินค้าต้องห้าม พวกวัตถุลามก ผิดกฎหมาย ศุลกากรยึดได้ทันที สินค้าประเภท 2) นั้น ศุลกากรจะตีราคาที่ลูกค้าต้องเสียภาษีติดกล่อง แล้วส่งไปที่ไปรษณีย์สาขาใกล้ที่อยู่ผู้รับ ผู้รับต้องไปจ่ายภาษีที่ไปรษณีย์ ถ้าคิดว่าภาษีที่ต้องจ่ายสูงเกินไป ต้องยืนยันไม่รับสินค้า ห้ามเปิดกล่องเด็ดขาด แล้วทำใบแจ้งเรื่องที่ไปรษณีย์ declare ยอดได้
ถ้าประเภท 3) ศุลกากรจะกักสินค้าไว้ที่คลังของศุลกากรที่หลักสี่/ ต่างจังหวัดตามที่อยู่ผู้รับ โดยจะกักไว้ 30 วัน ผู้รับต้องมารับที่คลังศุลกากรเอง โดยจะยังไม่ทราบราคาภาษีล่วงหน้า ต้องมาเปิดต่อหน้าที่คลัง (ต้องเสียค่าเก็บสินค้าด้วย) และถ้าเลย 30 วันแล้วไม่มารับ ศุลกากรจะเปิดสินค้าอีกที แล้วจะเก็บอีก 30 วัน จากนั้นถ้ายังไม่มีใครมารับ สินค้าที่ไม่มีมูลค่า จะส่งให้ไปรษณีย์ตีคืนผู้ฝากจากต่างประเทศ บางส่วนนำไปทำลายได้ สิ่งของที่มีมูลค่า สามารถขายทอดตลาดได้ ดังนั้น ช่องว่างทางการตลาดก็คือประเภท 3)
คำถามคือศุลกากรมีหลักการขายทอดตลาดเป็นยังไง???? ใครขาย ขายที่ไหน ใครซื้อได้บ้าง ราคาที่ขายคิดยังไง มีหลักฐานการซื้อขายหรือไม่ อย่างไร?
6) ปัญหาที่เกิดขึ้นจากของที่ยึดไป คือ การทำเป็นวงจรธุรกิจจริงจังแล้ว (และดูเหมือนมีจำนวนเยอะขึ้นด้วย)
และการตั้งคำถามของสังคมที่ตามมา...
- คนที่ซื้อไปขายต่อ/ขายทอดตลาดได้สิทธิพิเศษอะไรในการซื้อของ?
- ใครอนุมัติให้ออกของ มีหลักฐานการซื้อขายยังไง?
- ล่าสุดทำเป็นธุรกิจแล้ว มีใครตรวจสอบรึยัง?
- เมื่อคนในสามารถไปรับซื้อมาปล่อยขายกันเองได้เงินเข้าตัวเอง แล้วประชาชนจะหวังพึ่งพากรมศุลกากรในการเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้อย่างไร?
ทางเพจขอส่งต่อเรื่องราวนี้ เพื่อตั้งคำถามต่อไปทางสังคมว่า เราจะปล่อยไป หรือเราจะติดตามมันต่อไปกันดีครับ หมายเหตุ : ขอปิดที่มาเจ้าของ post เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้นำเสนอข้อมูลนี้มายังสังคมออนไลน์ครับ
ขอบคุณ FB : Branding by Boy
ขอบคุณข้อมูลจาก ThaiNews