เปิดเงื่อนไข"รักษาตัวเองที่บ้าน"ใครบ้างมาดู แถมฝ่าฝืนปรับ 2,000

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงแนวทางผู้ติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กลุ่มที่ไม่มีอาการ สามารถกักอยู่บ้านเพื่อการแยกกักที่บ้าน หรือ โฮม ไอโซเลชั่น (Home Isolation)

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงแนวทางผู้ติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กลุ่มที่ไม่มีอาการ สามารถกักอยู่บ้านเพื่อการแยกกักที่บ้าน หรือ โฮม ไอโซเลชั่น (Home Isolation) ว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยที่รอเตียงวันละ 400-500 รายใหม่ ตกค้างเกือบ 1,000 ราย แนวทางผู้ป่วยแยกกักที่บ้าน หากไม่จำเป็นก็จะไม่อยากใช้ เพราะต้องมีการดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดเพื่อป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ

แจกโค้ดส่วนลดลาซาด้า

1.หากไม่มีระบบติดตามที่ดี หากผู้ป่วยอาการแย่ลง ก็จะไม่มีคนดูแลส่งต่อ ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยต้องรอเตียง ก็จะเหมือนการแยกกักโดยปริยาย ซึ่งตรงนี้ต้องมีการดูแลเพื่อไม่ให้อาการแย่ลง 2.หากแยกกักไม่ดี คนที่บ้านก็จะติดเชื้อ ดังนั้น หากเรามีการดูแล ก็จะป้องกันการติดเชื้อหรืออาการที่รุนแรงมากขึ้นได้

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า เราจะใช้สำหรับผู้ป่วยระหว่างรอเตียงเพื่อการรักษา หรือผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล (รพ.) แล้วอาการดีขึ้นใน 10 วันก็จะมีแนวทางให้กลับมาแยกกักที่บ้านต่ออีก 4 วัน แต่จะไม่ใช้กับทุกรายเพราะว่าเราต้องดูบริบทของผู้ป่วย บริบทสิ่งแวดล้อมและความสมัครใจของผู้ป่วยเป็นหลัก

รักษาตัวที่บ้าน

ซึ่งขณะนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) อนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน คือ

1.การซื้ออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยแยกกัก เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด ที่วัดอุณหภูมิร่างกาย ยาดูแลรักษา ยาฟาวิพิราเวียร์ ระบบการดูแลผู้ป่วยทางไกล (Tele Net)

2.สนับสนุนโรงพยาบาลวันละ 1,000 บาทต่อราย เพื่อเป็นค่าติดตามและค่าอาหาร 3 มื้อส่งให้กับผู้ป่วย ทั้งนั้น ในวันนี้จะมีการหารือกับ รพ. ว่าอาจจะมีแนวทางซื้อเหมารายหัวร้านอาหาร หรือระบบขนส่งต่างๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือกันและกันได้

เบื้องต้นให้โรงพยาบาลประเมินผู้ป่วย ที่มีอาการน้อย หรือ กลุ่มสีเขียว มีความยินยอมที่จะรักษาตัวอยู่ที่บ้าน

จะมีการประเมินปัจจัยแวดล้อม เช่น มีห้องนอน หรือ ห้องน้ำ ที่สามารถแยกการใช้งานได้หรือไม่ หากคนกลุ่มนี้มีโรงประจำตัว ต้องเป็นผู้ที่มีอาการคงที่สามารถควบคุมโรคได้ ทีมแพทย์จะมีการส่งที่วัดไข้ / เครื่องวัดออกซิเจน ส่งให้กับผู้ป่วยที่บ้าน โดยจะมีทีมแพทย์ให้คำปรึกษา / สอบถามอาการผู้ป่วย ผ่านโทรศัพท์ วันละ 1 ครั้ง

หากไม่มีอาการ แพทย์จะสั่งจ่าย ยาฟ้าทลายโจร / แต่ถ้าเริ่มมีอาการ หรือมีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมได้ แพทย์จะสั่งจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ที่บ้าน พร้อมกับส่งอาหารให้ผู้ป่วยที่บ้าน 3 มื้อ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ทางโรงพยาบาลจะเบิกจ่ายกับ สปสช. โดยเป็นค่าอุปกรณ์ไม่เกิน 1,100 บาท / ค่าดูแลผู้ป่วยร่วมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาท /วัน

นอกจากนี้ หากพบผู้ที่ฝ่าฝืนออกจากบ้าน จะมีความผิดฐานละเมิดพ.ร.บ.โรคติดต่อ มีโทษปรับ 20,000 บาท

แจกโค้ดส่วนลดลาซาด้า