พรุ่งนี้ฝนหนักเเน่ ตกตั้งเเต่เช้า เตือนอีสานยังต้องเฝ้าระวังรัศมีของพายุ

เตือนพรุ่งนี้(7ต.ค.64) ฝนตกหนักเเน่ อีสานยังคงต้องเฝ้าระวังพายุไลออนร็อค รวมทั้งภาคตะวันออกเเละภาคใต้

  อัพเดตสถานการณ์ลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ล่าสุดทางเพจ เตือนภัยพิบัติ วาตภัย ฝนฟ้า พายุ ได้พยากรณ์อากาศ คาดการณ์เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับพายุไลออนร็อค เเละพายุดีเปรสชั่น 92 wที่ยังคงเคลื่อนตัวด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนืออต่อเนื่อง ว่า .... พรุ่งนี้ฝนหนักแน่ ถึงแม้พายุจะไม่ได้เข้าโดยตรงแต่ความกว้างของพายุและรัศมีของพายุ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดแรง เตือนอีสานยังคงต้องเฝ้าระวังพายุ

โปรโมชั่นพิเศษลาซาด้า


พรุ่งนี้อาจจะทำให้ประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีฝนหนักถึงหนักมากๆ ทั้ง 2 แบบจำลองgfs ของอเมริกาและ ecmwf ของยุโรปภาพนี้เริ่มตั้งแต่ 7:00 น ของวันพรุ่งนี้ไปจนถึง 7:00 น ของวันมะรืน

เตือนอีสานยังคงต้องเฝ้าระวังพายุ

บริเวณพื้นที่เสี่ยงฝนหนักพรุ่งนี้(7 ต.ค.64) ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สระแก้ว ตราด ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง พังงา ชุมพร บริเวณพื้นที่ฝนตกหนักให้ระวังภัยจากฝนที่ตกสะสมอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

พรุ่งนี้หนักแน่ฝน เตือนภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีฝนตกหนัก

ข้อมูลนี้ยังคงต้องรอการอัพเดทใหม่ช่วงเวลาประมาณ 03:00 น ของคืนนี้ถึงจะมีความแม่นยำมากๆ ติดตามการอัพเดทใหม่ประมาณ 6:00 น ของวันพรุ่งนี้ 7ต.ค.64   ฝนคงจะเริ่มตกตั้งแต่เช้าหรือก่อนรุ่งสาง เรื่อยไปตั้งแต่วันที่ 7ต.ค. ไปจนถึงวันที่ 8ต.ค. แบบจำลอง gfs ของอเมริกาเพิ่งจะมีการอัพเดทล่าสุดเมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา จากภาพจะเห็นกลุ่มเมฆฝนปกคลุมประเทศไทย ตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมถึงภาคใต้ 

เตือนภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีฝนตกหนัก

เตือนภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีฝนตกหนัก
 นอกจากนี้เกี่ยวกับเรื่องการเเชร์ข่าวว่อนเน็ต เรื่องคันกั้นน้ำตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาชำรุด  จนสร้างความตื่นตระหนกนั้น ล่าสุดทาง Anti-Fake News Center Thailand ออกมาชี้เเจงเเล้วว่าเป็นข่าวปลอม อย่าแชร์ คันกั้นน้ำตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาชำรุด

เตือนภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีฝนตกหนัก

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง คันกั้นน้ำตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาชำรุด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการโพสต์แจ้งข้อมูลว่าขณะนี้คันกั้นน้ำตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาชำรุดนั้น ทางสำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า คันกั้นน้ำของกทม. ยังคงมีความแข็งแรงดี

ซึ่งเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงเรือตรวจติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำเหนือในพื้นที่ กทม. พร้อมตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้สะพานพระราม 7 เขตบางพลัด ถึงชุมชนโรงสี เขตยานนาวา และได้เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่อาจมีระดับน้ำสูงขึ้น รวมทั้งป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ยืนยันว่าปีนี้น้ำจะไม่ท่วมกรุงเทพฯ เหมือนปี 54 

เตือนภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีฝนตกหนัก

โดยกทม. ได้เตรียมพร้อมการบริหารจัดการน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วมต่าง ๆ โดยพร่องน้ำในคลองเพื่อรองรับน้ำ สร้างธนาคารน้ำ(water bank) สร้างท่อเร่งระบายน้ำ (Pipe jacking) ขุดลอกคลอง ลอกท่อระบายน้ำ พร้อมทั้งตรวจสอบความแข็งแรงและจุดรั่วซึมของแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 7 จนถึงบางนา ความยาวประมาณ 78.93 กิโลเมตร ซึ่งหลังจากปี 54 เป็นต้นมาได้เสริมแนวคันกั้นน้ำถาวรริมเจ้าพระยาสูงขึ้นตลอดแนวที่ระดับ 2.80-3.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางและเรียงกระสอบทรายเป็นเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)และบริเวณแนวป้องกันที่มีระดับต่ำตามจุดต่างๆ 14 จุด รวมระยะทาง 2,512 เมตร

เตือนภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีฝนตกหนัก

รวมทั้งตรวจสอบความพร้อมของสถานีสูบน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 97 สถานี และบ่อสูบน้ำตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งในช่วงน้ำทะเลขึ้น พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังประจำจุด เครื่องสูบน้ำสำรอง เรือผลักดันน้ำ วัสดุอุปกรณ์ กระสอบทราย ตลอดจนเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการเร่งด่วนเคลื่อนที่ (BEST) และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมปฏิบัติการและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ทันทีเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม ตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับชุมชนที่อาศัยอยู่นอกคันกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 11 ชุมชน 239 ครัวเรือน ในพื้นที่ 7 เขต ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากน้ำท่วม ได้สั่งการให้สำนักงานพื้นที่ ประกอบด้วย เขตดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ บางคอแหลม ยานนาวา บางกอกน้อย และเขตคลองสาน ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนชุมชนและให้เตรียมขนย้ายสิ่งของให้อยู่ในที่สูง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนหากเกิดปัญหาระดับน้ำขึ้นสูง นอกจากนี้ได้สั่งการสำนักงานเขตที่มีพื้นที่อยู่ตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยาสำรวจพื้นที่บ้านเรือนของประชาชน จัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนในกรณีฉุกเฉินต่างๆ อย่างทันท่วงที คาดว่าภายใน 1 สัปดาห์สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะคลี่คลาย

เตือนภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีฝนตกหนัก

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.prbangkok.com หรือเฟซบุ๊ก ‘กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์’ หรือโทร 0-2221-2141-69

บทสรุปของเรื่องนี้คือ  คันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยายังคงมีความแข็งแรง และทางกรุงเทพมหานครได้เตรียมพร้อมการบริหารจัดการน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วมต่าง ๆ ไว้แล้ว

ขอบคุณ
เตือนภัยพิบัติ วาตภัย ฝนฟ้าพายุเพจ2

โปรโมชั่นพิเศษลาซาด้า