ตัวเลข "ยุงลายบ้าน" หลังถูกทำหมัน จำนวนประชากรลดฮวบ ภายใน 1 ปี

ตัวเลข "ยุงลายบ้าน" ถูกทำหมันด้วย แบคทีเรีย จำนวนประชากรลดฮวบ ภายใน 1 ปี

คณะวิจัยของออสเตรเลีย ซึ่งประกอบด้วยเหล่านักวิจัยจากองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) พบว่าแบคทีเรียสามารถทำให้ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti mosquito) ซึ่งเป็นพาหะโรคไข้เลือดออกกลายเป็นหมันได้

นักวิจัยได้ปล่อยยุงตัวผู้ที่ถูกทำให้เป็นหมันด้วยแบคทีเรียโวลบาเกีย (Wolbachia) จำนวน 3 ล้านตัว สู่พื้นที่ทดลอง 3 แห่งในรัฐควีนส์แลนด์ เป็นเวลากว่า 20 สัปดาห์ในปี 2561 โดยยุงลายตัวเมียที่ผสมพันธุ์กับยุงลายตัวผู้ที่ผ่านการทำหมันแล้ว จะวางไข่ที่ไม่สามารถฟักออกมาได้ โดยองค์การฯ พบว่า จำนวนยุงในพื้นที่ทดลองเหล่านี้ลดลงถึง 80-97% ภายในเวลา 12 เดือน

ตัวเลข "ยุงลายบ้าน" หลังถูกทำหมัน จำนวนประชากรลดฮวบ ภายใน 1 ปี

แจกโค้ดส่งฟรีลาซาด้า

ยุงลายบ้านพบในประเทศในพื้นที่เขตร้อนกว่า 120 แห่ง พวกมันสามารถแพร่เชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออก ไข้เหลือง ไข้ซิกา และเชื้อไวรัสอื่นๆ สู่คน ทำให้มีผู้คนติดเชื้อไวรัสเหล่านี้หลายล้านรายทุกปี ซึ่งเหล่านักวิจัยกล่าวว่าจำนวนยุงที่ลดลงนั้นไม่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบเชิงลบที่สำคัญต่อระบบนิเวศ

แลร์รี มาร์แชล ผู้บริหารสูงสุดขององค์การฯ กล่าวว่า “มนุษย์มากกว่า 40% ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคที่มียุงเป็นพาหะ ดังนั้น การทดลองนี้จึงเป็นโอกาสดีของประเทศในการพัฒนาเครื่องมือควบคุมยุงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือกับการรุกรานของยุงทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

ตัวเลข "ยุงลายบ้าน" หลังถูกทำหมัน จำนวนประชากรลดฮวบ ภายใน 1 ปี

การทดลองดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์การฯ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ เวริลีไลฟ์ไซแอนส์ (Verily Life Sciences) สถาบันวิจัยทางการแพทย์เบิร์กโฮเฟอร์ (QIMR Berghofer) และมหาวิทยาลัยเจมส์คุก

ทั้งนี้ องค์การฯ ระบุว่าเทคนิคดังกล่าวยังสามารถใช้เพื่อกำจัดยุงลายสวน (Aedes albopictus) ซึ่งเป็นพาหะเชื้อไวรัสเช่นกัน โดยปัจจุบันยุงชนิดนี้ได้แพร่พันธุ์สู่ออสเตรเลียผ่านหมู่เกาะช่องแคบทอร์เรส

ตัวเลข "ยุงลายบ้าน" หลังถูกทำหมัน จำนวนประชากรลดฮวบ ภายใน 1 ปี

ที่มา: ซินหัว

แจกโค้ดส่งฟรีลาซาด้า