หมอโอภาส เคลียร์ชัด สะพัดข่าวพบ"โอไมครอน"เคสแรกในไทย ยันไม่ใช่"นทท.สเปน"

อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาเคลียร์ชัด ปฏิเสธข่าวลือสะพัด ตรวจพบ "โอไมครอน"เคสแรกในไทย เป็นนักท่องเที่ยวสเปน ชี้ต้องรอผลตรวจแน่ชัด

  กรณีเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 64 ได้มีกระเเสข่าวลือสะพัดว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด โอไมครอน เคสแรกในประเทศไทย โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวสเปน ขณะนี้อยู่ในASQ  ทำให้สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเเพร่ระบาดของ โอไมครอน  ซึ่งในเวลาต่อมา ทาง อธิบดีกรมควบคุมโรค ต้องออกมาชี้เเจง ยืนยันว่า ยังไม่พบโอไมครอนในไทย 

 ล่าสุดนั้น นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมายืนยันว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง  ประเทศไทยยังไม่พบผู้ติดเชื้อโควิดโอไมครอน อีกทั้งมีข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ใช่นักท่องเที่ยวชาวสเปน แต่เป็นนักท่องเที่ยวอเมริกันที่เดินทางมาจากสเปน ติดเชื้อโควิด-19 แต่อาการไม่รุนแรง

หมอโอภาส เคลียร์ชัด สะพัดข่าวพบ\"โอไมครอน\"เคสแรกในไทย ยันไม่ใช่\"นทท.สเปน\"

   ขณะนี้รักษาตัวที่โรงพยาบาลเเล้ว เเละได้ให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  นำเชื้อไปตรวจพิสูจน์ที่ห้องปฎิบัติการว่าเป็นเชื้อโอไมครอนหรือไม่  คาดจะใช้เวลาอีก 1 วัน คงจะทราบผลภายในที่ 6 ธ.ค. 64นี้

หมอโอภาส เคลียร์ชัด สะพัดข่าวพบ"โอไมครอน"เคสแรกในไทย ยันไม่ใช่"นทท.สเปน"

หมอโอภาส เคลียร์ชัด สะพัดข่าวพบ"โอไมครอน"เคสแรกในไทย ยันไม่ใช่"นทท.สเปน"
  ด้าน ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับ โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน"  โดยได้ชี้แจ้ง ต่อคำถามที่มีการสอบถามเข้ามาที่ศูนย์จีโนมฯ รพ. รามาธิบดี ว่า เคยมีสายพันธุ์Omicron ในประเทศไทยมาก่อนหน้านี้หรือไม่

หมอโอภาส เคลียร์ชัด สะพัดข่าวพบ\"โอไมครอน\"เคสแรกในไทย ยันไม่ใช่\"นทท.สเปน\"

   ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบันศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี และสถาบันการแพทย์ไทยหลายแห่งได้ร่วมด้วยช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรม ทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 และอัปโหลดขึ้นไปแชร์กับนักวิจัยทั่วโลกบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” จำนวนทั้งสิ้น 8,029 ตัวอย่าง

 

  และได้ทำการตรวจสอบย้อนหลังไป 1 ปี (365 วัน) พบไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งสิ้น 10 สายพันธุ์หลัก เช่น เดลตา(B.1.617.2) 66% , อัลฟา (B.1.1.7) 27%, บีตา (B.1.351) 1%, แกมมา <0.5% และสายพันธุ์ท้องถิ่น (B.1.1, B.1.36.16) อีกเล็กน้อย ยังไม่พบสายพันธุ์ โอไมครอน ในประเทศไทยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา