"โอมิครอน" หนีไม่พ้น คนไทยต้องติดเชื้อทุกคน?

เรียกว่าเป็นเรื่องราวที่จะมองข้ามไปไม่ได้อีกแล้ว สำหรับการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่พุ่งเป็นเท่าตัวในสัปดาห์เดียวอยู่ที่ 514 คน

ส่วนใหญ่ยังมาจากต่างประเทศ อาการป่วยไม่รุนแรง แต่กระจายไปใน 14 จังหวัด ส่วนใหญ่แถบอีสานยังไม่น่าวางใจ หลังคลัสเตอร์ผัวเมียกาฬสินธุ์ยังลุกลามไปจังหวัดโดยรอบ และมีชาวต่างชาติเข้าพื้นที่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มต่อเนื่อง

โดย พญ.อภิสมัยกล่าวว่าวันที่ 27 ธ.ค. มี 514 คน ถือเป็นการก้าวกระโดดจากสัปดาห์ที่แล้ว ที่พบ 200 กว่าคน จำนวนนี้ 2 ใน 3 เป็นผู้เดินทางเข้าประเทศ และ 1 ใน 3 เป็นผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อ คลัสเตอร์ใหญ่อยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์ เป็นเคสสามีภรรยาและที่เดินทางกลับจากเบลเยียม จากไทม์ไลน์มีการรับประทานอาหารในผับและเดินทางไปตลาดโรงสี ทำให้มีนักดนตรี พนักงาน ลูกค้าที่รับประทานอาหารในขณะนั้นเป็นผู้เสี่ยงสูงทั้งหมด 125 คน เฉพาะที่ร้านอาหารมีผู้ติดเชื้อแล้ว 21 คน และมี 97 คน รอยืนยันว่าติดเชื้อหรือไม่ คลัสเตอร์นี้ยังเชื่อมโยงไปยัง จ.ลำพูน ที่พบผู้ติดเชื้อแล้ว 4 คนและ จ.อุดรธานี อีก 6 คน นอกจากนี้ ยังพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่ จ.สุรินทร์ 1 คน เป็นการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับจากประเทศเดนมาร์ก และที่ จ.ภูเก็ต กับกระบี่ จังหวัดละ 1 คน เป็นการสัมผัสจากแม่บ้านที่ทำงานในโรงแรมที่ผู้ติดเชื้อพักอาศัย ส่วนที่ จ.ปัตตานี พบ 7 คน เป็นการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับจากการแสวงบุญที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ขณะที่ กทม.พบ 2 คน เป็นการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เป็นสามีประกอบอาชีพนักบินเดินทางกลับจากไนจีเรีย

โดยในวันนี้ (28 ธันวาคม 2564) ทางไทยนิวส์จะพาไปรวบรวมข้อมูลที่น่าตกใจและมีการวิเคราะห์กันเอาไว้ว่า คนไทยนั้นอาจจะต้องติดเชื้อ "โอมิครอน" ทุกคน โดยเราจะพาคุณผู้ชมนั้นไปเริ่มกันที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,305 ราย ยอดติดเชื้อรวมระลอกเมษายน 2,185,849 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 2,212,407 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 32  ราย เสียชีวิตสะสม 21,598 ราย หายป่วยเพิ่ม 3,070 ราย หายป่วยรวมระลอกเมษายน 2,132,017 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 33,639  ราย

"โอมิครอน" หนีไม่พ้น คนไทยต้องติดเชื้อทุกคน?

ซึ่งก่อนที่ทางไทยนิวส์นั้นจะพาไปดูสาเหตุว่าทำไมนั้น คนไทยจะต้องหนี "โอมิครอน" ไม่พ้นนั้น เราจะพาไปดูอาการของเชื้อ "โอมิครอน" ว่ามีอาการอะไรที่ออกมาอย่างเด่นชัด สำหรับ ข้อมูลอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนที่มีอาการ 41 ราย 8 อาการที่พบ มากที่สุดคือ อาการไอ 54 % รองลงมา เจ็บคอ 37 % มีไข้ 29 % ปวดกล้ามเนื้อ 15 % มีน้ำมูก 12 % ปวดศีรษะ 10 % หายใจลำบาก 5 % ส่วนอาการได้กลิ่นลดลงมีเพียง 2 %

ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงอาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน จากข้อมูลที่รวบรวมทั้งต่างประเทศและในประเทศขณะนี้ เบื้องต้นอาการไม่แตกต่างจากอาการโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน คือ มีไข้ เจ็บคอ และไอแห้งๆ เกือบทุกประเทศรายงานตรงกันว่า ความรุนแรงไม่มากเท่าเดลตา หลายประเทศบอกว่ารุนแรงน้อยกว่าเดลตาพอสมควร พบบางรายมีอาการปอดอักเสบ แต่ไม่มากนัก สำหรับการรักษาในไทยให้ยาต้านไวรัส (Favipiravir) ภายใน 3 วัน (24-72 ชั่วโมง) พบว่า ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติ
ซึ่งทางด้านของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเผยสาเหตุว่าทำไมคนไทยต้องติดเชื้อเกือบทุกคน  ซึ่งคุณหมอธีระ ได้เปิดสาเหตุ 5ข้อที่บ่งชี้ โดยระบุว่า ชะตาโอมิครอน (Omicron)
คนไทยอย่างไรก็ติดโอมิครอน ไม่ช้าก็เร็ว ทั่วหรือเกือบทุกคน ขึ้นกับ

"โอมิครอน" หนีไม่พ้น คนไทยต้องติดเชื้อทุกคน?

1.ระยะเวลาหลังได้วัคซีน แม้เป็นวัคซีนที่คิดว่าดีที่สุดเช่น ไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา 3 เข็ม ซึ่งแรงกว่า แอสตร้าเซนเนก้า 3 เข็ม มากกว่า 10 เท่า 
เมื่อพ้นสามเดือนไปแล้วประสิทธิภาพจะตกลงเหลือ 40% ตามข้อมูลของไฟเซอร์

2.ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนแม้เคยติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) มาก่อน ก็ติดโอมิครอนได้

3.การฉีดกระตุ้นขณะนี้ เป็นการหน่วงให้ไม่มีการติดเชื้อ มโหฬารทันทีทันใด เช่นเป็น 10,000 เป็นแสน เป็นล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้จะมีคนที่ไม่ได้รับวัคซีนปนอยู่ด้วย หรือแม้แต่ได้วัคซีนแต่ตกอยู่ในกลุ่มสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว ซึ่งทำให้วัคซีนด้อยประสิทธิภาพลง และทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนต้องเข้าโรงพยาบาล ไอซียู ในจำนวนมากพร้อมๆกัน เป็นต้น
ทั้งนี้ คนที่ได้รับวัคซีน หรือเคยติดเชื้อมาก่อน ถ้าไม่เปราะบางจริงๆ เมื่อติดโอมิครอน หวังว่าอาการจะผ่อนหนักเป็นเบา ขึ้นกับระบบภูมิความจำ “ยังมีอยู่” หรือถูกปลุกขึ้นมาทันท่วงที ถูกที่ ทันเวลาได้หรือไม่?

4.ในเมื่อวัคซีนด้อยประสิทธิภาพลงอย่างมาก วิธีการฉีดต้องทำให้มีผลแทรกซ้อนน้อยที่สุดโดยการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ที่ใช้ปริมาณน้อย และผ่านคนละกลไกกับแบบเข้ากล้าม ถ้า เกิด “ซวย” ก็ซวยน้อยหรือรอดเลย

5.ยาที่จะใช้รักษาตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อมีการติดเชื้อไม่ให้ต้องเข้า โรงพยาบาล มีความจำเป็น และมีความสำคัญ พอกันหรืออาจจะมากกว่าวัคซีนด้วยซ้ำ ฟ้าทลายโจร ไอเวอร์แมคติน ฟลูวอกซามีนหรือฟลูออกซิทีน


ซึ่งในเวลาต่อมานั้น ทางด้านของ ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Khuanchai Supparatpinyo ถึงแนวทางการอยู่รอดจาก "โอไมครอน" ที่กลายเป็นสายพันธุ์หลักครองโลกแทนเดลตาหลังจากข้ามปีใหม่ไปไม่เกิน 1-2 เดือน อย่าตื่นตระหนกกับข่าวการแพร่ระบาดของ "โอไมครอน" ข้อความว่า

การอยู่กับโควิดอย่างปลอดภัย แนวทางการอยู่รอดจาก "โอไมครอน" (Omicron survival guide) ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม "โอไมครอน" จะแพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยอย่างแน่นอน คาดว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักครองโลกแทนเดลตาหลังจากข้ามปีใหม่ไปไม่เกิน 1-2 เดือน อย่างไรก็ตาม แม้ "โอไมครอน" จะแพร่เร็วกว่าทุกสายพันธุ์ที่เคยมีมาแต่โชคดีที่เริ่มมีข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆที่สนับสนุนว่า "โอไมครอน" ก่อโรคที่รุนแรงน้อยกว่าเดลตามาก ยิ่งตอกย้ำแนวคิดการอยู่กับโควิดอย่างปลอดภัยมากขึ้น ใครที่ยังยึดติดกับแนวคิดที่ต้องติดเชื้อเป็นศูนย์น่าจะตกยุคไปเรียบร้อยแล้ว
สำหรับภาครัฐในสถานการณ์การระบาดของ "โอไมครอน" ควรพิจารณาในหลายประเด็นเช่น

1.ควรจะสร้างความแตกตื่นให้สังคมเมื่อพบผู้ติดเชื้อ "โอไมครอน" หรือไม่

2.ยังสมควรจะตรวจเชิงรุกในคนที่ไม่มีอาการหรือไม่
 
3.ยังสมควรจะรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในรพ.หรือไม่

4.ยังสมควรจะมีสถานกักตัวหรือรักษาผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยอีกหรือไม่
 
5.ยังสมควรใช้ RT-PCR ในการตรวจคัดกรองหรือไม่
ด้าน นพ. สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้มีการสั่งการให้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือ รพ.เด็ก ประสานไปยังเครือข่ายโรงเรียนแพทย์ รพ.เอกชน กรุงเทพมหานคร เตรียมการเรื่องเตียงรักษา และยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ รองรับผู้ป่วยเด็กที่อาจเพิ่มมากขึ้นพอสมควร จากสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน"

"โอมิครอน" หนีไม่พ้น คนไทยต้องติดเชื้อทุกคน?

นอกจากนี้ยังได้ทำคลิปแนะนำวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่บ้าน (HI)  และกำหนดให้มี (CI) สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ต้องมีผู้ปกครองดูแล โซนละ 1 แห่ง และมีระบบส่งต่อ รพ. กรณีอาการรุนแรง
โดย หลังการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน กระทรวง ได้ทำแบบจำลองสถานการณ์ เพื่อคาดการณ์การติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ไตรมาส 1 ปี 2565 หรือหลังปีใหม่ คาดว่า 1.สถานการณ์ที่แย่ที่สุด หากไม่มีการทำสิ่งใดเลย ประชาชน และสถานประกอบการไม่ร่วมมือป้องกัน เกิดการระบาดในวงกว้างอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละ 3-4 หมื่นคน เสียชีวิตวันละ 170-180 คน ใช้เวลาควบคุม 3-4 เดือน 2.สถานการณ์ระดับปานกลาง ผู้ติดเชื้อวันละ 15,000-16,000 คน และ 3.สถานการณ์ระดับดี คือประชาชนและสถานประกอบการให้ความร่วมมือดีมาก มีการฉีดวัคซีนมากขึ้นในทุกกลุ่มมากกว่า 4 ล้านโดสต่อสัปดาห์ ลดกิจกรรมการรวมกลุ่ม ผับบาร์ควบคุมได้ดีมาก จะมีผู้ติดเชื้อวันละ 10,000 คน เสียชีวิต 60-70 คน ใช้เวลาควบคุมสถานการณ์ได้ภายใน 1-2 เดือน กระทรวงอยากขอความร่วมมือประชาชนทำให้ได้ในระดับนี้
โดยต้องบอกว่าถึงแม้สถานการณ์ของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะน่ากังวลแต่ที่ประชุม ศบค.เน้นย้ำให้คำนึงถึงประชาชนที่ต้องการดำเนินชีวิตตามปกติ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ไม่ใช่แค่การฉลองมีหลายครอบครัวต้องการเดินทางกลับไปดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ได้เจอกันมานาน เบื้องต้นยังไม่มีมาตรการห้ามการจัดเทศกาลปีใหม่ แต่ขอให้แต่ละจังหวัดโดยเฉพาะคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เข้มงวดมาตรการ ทั้งนี้ นายกฯย้ำให้การเที่ยวปีใหม่ในกลุ่มเล็ก หรือการสังสรรค์ในครอบครัว เพื่อนสนิทสถานที่ทำงาน ให้ตรวจเอทีเค ทั้งผู้จัดและผู้ร่วมงาน จะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อ หรือเสียชีวิตไม่เพิ่มมาก จนถึงขั้นที่ระบบสาธารณสุขดูแลได้ลำบาก

ซึ่งต้องบอกว่าประชาชนคนไทยนั้นจะมองข้ามเรื่องเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนไปไม่ได้ เพราะต้องบอกว่าการระบาดนั้นลุกลามไปอย่างรวดเร็วและหลังปีใหม่ก็คาดว่าน่าจะมียอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นซึ่งเราก็ได้แต่ภาวนาว่าคงจะไม่ถึงขั้นเกิดเหตุร้ายแรงจนต้องล็อกดาวน์กันอีกครั้งหรือไม่?