สังเกตตัวเองด่วน อาการแบบไหนบ้าง ที่ต้องเลื่อนฉีดวัคซีนออกไปก่อน

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้สังเกตอาการตัวเอง อาการแบบไหนบ้าง ที่ต้องเลื่อนฉีดวัคซีนออกไปก่อน กรุณาเลื่อนนัดหมายการฉีดวัคซีนออกไป 7 - 10 วัน

   สถานการณ์การเเพร่ระบาดของโควิดโอมิครอน ในประเทศไทย ที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรณีที่บุคคลใดมีนัดหมายฉีดวัคซีนในช่วงเวลานี้ ให้สังเกตตัวเองด่วน อาการแบบไหนบ้าง ที่ต้องเลื่อนฉีดวัคซีนออกไปก่อน 7-10วัน เพื่อควบคุมเเละลดโอกาสเสี่ยงจากการเกิดอาการข้างเคียง เเละการเเพร่เชื้อ

สังเกตตัวเองด่วน อาการแบบไหนบ้าง ที่ต้องเลื่อนฉีดวัคซีนออกไปก่อน
ล่าสุดนั้นทาง  ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เปิดเผยข้อมูลข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่มีนัดหมายฉีดวัคซีน โดย ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ขอความร่วมมือผู้ที่มีนัดหมายการฉีดวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เช็คด่วนหากมีอาการดังต่อไปนี้
1.เป็นหวัด
2.เจ็บคอ
3.ไอ
4.ท้องเสีย
5.มีไข้ ( 7 วันก่อนวันนัดหมาย)

6.สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือสงสัยว่าจะได้รับเชื้อโควิด-19

สังเกตตัวเองด่วน อาการแบบไหนบ้าง ที่ต้องเลื่อนฉีดวัคซีนออกไปก่อน
กรุณาเลื่อนนัดหมายการฉีดวัคซีนของท่านออกไป 7-10 วัน เพื่อควบคุมและลดโอกาสเสี่ยงจากการเกิดอาการข้างเคียง และการแพร่เชื้อ ณ ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

สังเกตตัวเองด่วน อาการแบบไหนบ้าง ที่ต้องเลื่อนฉีดวัคซีนออกไปก่อน
กรุณามาติดต่อเข้ารับวัคซีนตามวันและช่วงเวลาที่ได้นัดหมายไว้ เพื่อควบคุมและลดความแออัดในพื้นที่ให้บริการ ร่วมด้วยช่วยกันควบคุมการแพร่ระบาดของ “โอมิครอน” รับผิดชอบตัวเอง ครอบครัว และผู้อื่น เราจะรอดไปด้วยกัน

ทำอย่างไรเมื่อเจอผล"ATK" เป็นบวกติดโควิด “โอมิครอน”


ตั้งสติ กักตัวอยู่บ้าน ประเมินอาการตนเองว่าอยู่ในระดับไหน หากอาการน้อย หรือ ไม่มีอาการ ติดต่อเข้าสู่ระบบ การรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation
-โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 14
- กรอกข้อมูล / ลงทะเบียนด้วยตนเอง ได้ที่ https://crmsup.nhso.go.th
- เจ้าหน้าที่จะประสานและจับคู่สถานพยาบาลเพื่อรักษาตามระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านต่อไป

สังเกตตัวเองด่วน อาการแบบไหนบ้าง ที่ต้องเลื่อนฉีดวัคซีนออกไปก่อน
-การแยกกักรักษาตัวที่บ้าน
-แยกห้องน้ำ ของใช้ส่วนตัว
-สวมหน้ากากตลอดเวลา
-แจ้งผู้ใกล้ชิดให้ทราบความเสี่ยง และให้ทดสอบการติดเชื้อ
-เลี่ยงสัมผัสสัตว์เลี้ยง
-สังเกตอาการ วัดอุณหภูมิเป็นประจำ หากหายใจลำบาก มีภาวะฉุกเฉิน ติดต่อขอรับการรักษา โทรสายด่วน 1669

ที่มา
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์