เช็กอาการป่วยโควิด-19 อาการแบบไหน ต้องส่งรักษาต่อในโรงพยาบาล

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 จากระบบการรักษาที่บ้าน Home Isolation อาการแบบไหนต้องส่งรักษาต่อในโรงพยาบาล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยตอนนี้ โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงต่อเนื่อง ล่าสุด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เปิดเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยจากระบบการรักษาที่บ้านหรือในระบบชุมชน (Home-Community Isolation) เข้าโรงพยาบาล โดยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

 

เช็กอาการป่วยโควิด-19 อาการแบบไหน ต้องส่งรักษาต่อในโรงพยาบาล

1. มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชั่วโมง


2. ระดับออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 94%


3. หายใจมากกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ (หากหายใจมากกว่า 20 ครั้งต่อนาที ควรติดต่อแพทย์ที่ดูแลท่าน)


4. กลุ่มผู้ป่วย 608 ที่มีความเสี่ยง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่มีอาการเปลี่ยนแปลง


5. ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการข้อ 1 หรือ 2 หรือมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็วเกินเกณฑ์อายุ ซึมลง ดื่มนมหรือกินอาหารได้น้อยลง

***ผู้ป่วย 608 คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์


***แพทย์ที่ดูแลท่านระหว่างรักษาที่บ้านหรือในระบบชุมชนจะเป็นผู้ประเมินอาการท่านเพื่อการส่งต่อเข้าโรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรง

 

เช็กอาการป่วยโควิด-19 อาการแบบไหน ต้องส่งรักษาต่อในโรงพยาบาล

 

ขอบคุณข้อมูล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ,  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ