- 18 ก.พ. 2565
สสส. แนะนำแนวทางต่อสู้กับ "โอมิครอน" เปิด5วิธีเอาตัวรอดปลอดภัย ไม่ต้องกัด แค่เปิดปากก็แพร่เชื้อได้ ร้ายไม่แพ้ซอมบี้ แต่มีวิธีเอาตัวรอดอย่างไรมาดูกัน
เปิด5วิธีเอาตัวรอดจากโอมิครอน โควิดวันนี้ อัพเดทสถานการณ์โควิด-19ประเทศไทย โดยในวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 พบผู้ป่วยรายใหม่ 18,066 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 451,042 ราย หายป่วยแล้ว 333,829 ราย เสียชีวิตสะสม 867 ราย ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังคงมีจำนวนทะลุหลักหมื่นมาต่อเนื่องหลายวัน โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยใหม่มากที่สุดก็คือ กรุงเทพมหานคร
ล่าสุด สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ออกมาแนะนำ เปิด5แนวทางต่อสู้กับ "โอมิครอน" เพื่อเอาตัวรอดและปลอดภัย 5 ข้อที่ควรอ่าน ไม่ว่าซีซั่นไหนเราต้องรอด Omicron ร้ายไม่แพ้ซอมบี้ แต่มีวิธีเอาตัวรอดอย่างไรมาดูกัน
1. โอมิครอน ไม่ต้องกัด แค่เปิดปาก ก็แพร่เชื้อได้
แม้เชื้อไม่ค่อยลงปอด แต่ไปเกาะเซลล์ผนังคอแทน เมื่อพูดคุย ตะโกน ไอ จาม เชื้อกระจายมากกว่า และง่ายกว่า แม้เชื้อโอไมครอนจะไม่ลงปอด ทำให้ความเสี่ยงในการป่วยหนักลดลง แต่เชื้อโอมิครอนกลับไปเกาะบริเวณเซลล์ผนังลำคอจำนวนมาก เมื่อผู้ติดเชื้อพูดคุย ตะโกน ไอ จาม เชื้อจึงกระจายออกมาง่าย และมากกว่า ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่าย
2. ยิ่งอยู่ในพื้นที่ปิด ละอองเชื้อที่แห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน
แม้ผู้ติดเชื้อไม่อยู่แล้ว เชื้อโควิดถูกห่อหุ้มด้วยน้ำมูก หรือ น้ำลาย แต่เวลาอยู่ในพื้นที่ปิด เมื่อน้ำมูก หรือน้ำลายระเหยแห้งไป เชื้อโควิด-19 ที่มีขนาดเล็กลง จะสามารถล่องลอยไปไกล และตกค้างในอากาศได้นาน ไวรัส ซึ่งคือน้ำมูกหรือน้ำลาย (เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 ไมครอน) ฝอยละอองขนาดใหญ่ น้ำหนักของน้ำมูกหรือน้ำลาย ทำให้ลอยตกทันที เมื่อระเหยเป็น "ไวรัส" (เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 ไมครอน) ฝอยละอองขนาดเล็ก ลอยในอากาศได้นาน
3. พื้นที่ปิด หรือระบายอากาศไม่ดี เสี่ยงเจอเชื้อตกค้าง
การเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ มีส่วนช่วยในการลดการสะสมของเชื้อโรคได้ ทั้งนี้ การเปิดช่องระบายอากาศควรเปิดให้ทแยงด้านกัน เพื่อทำให้อากาศเกิดการถ่ายเทได้รอบบริเวณมากที่สุด ไม่เหลือการตกค้างของเชื้อโรคควรเปิดระบายอากาศด้านทแยงกัน ช่วยระบายอากาศได้ดีกว่าไม่ควรเปิดระบายอากาศฝั่งตรงข้ามกัน อาจมีเชื้อโรคตกค้าง
** ควรเปิดระบายอากาศครั้งละ 5-10 นาที ทุก 2 ชั่วโมง ถ้ามีข้อจำกัด อาจเปิดระบายก่อนเริ่มใช้ห้อง ระหว่างพัก และก่อนเลิกใช้**
4. ในพื้นที่ปิด เชื้อแพร่ยกกำลัง 3
นอกจากการเว้นระยะห่างแล้ว การเลี่ยงไม่อยู่ในพื้นที่ปิดก็ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ได้ เพราะภายในพื้นที่ปิด เชื้อจะสามารถแพร่ได้ถึง 3 ทางได้แก่ ระยะใกล้ติดจากฝอยละอองขนาดใหญ่ ระยะไกลติดจากฝอยละอองขนาดเล็ก ระยะประชิดติดจากการสัมผัส 3 เส้นทางการติดเชื้อ
-ระยะไกล ติดจากฝอยละอองขนาดเล็ก
-ระยะใกล้ ติดจากฝอยละอองขนาดใหญ่
-ระยะประชิด ติดจากการสัมผัส
5. วิธีเอาตัวรอดเมื่ออยู่ในที่อากาศไม่ถ่ายเท
ใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพ สวมอย่างถูกวิธี กระชับใบหน้า เว้นระยะห่าง ล้างมือ และฉีดวัคซีน การเลือกสวมหน้ากากที่มีประสิทธิภาพเหมาะสูง เช่น N95 หรือ KN95 โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่แออัด มีคนจำนวนมาก ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มาก แต่ทั้งนี้ต้องสวมให้ถูกวิธี และกระชับใบหน้า เพราะการสวมหน้ากากไม่กระชับอาจเกิดช่องโหว่ให้เชื้อโรดลอดเข้ามาได้ ได้แก่ ช่องเหนือจมูก ช่องข้างแก้ม และช่องใต้คาง
-หน้ากากผ้า ลดความเสี่ยง 56%
-หน้ากากอนามัย ลดความเสี่ยง 66%
-หน้ากาก N95/KN95 ลดความเสี่ยง 83%
ขอบคุณ
สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)