- 22 ก.พ. 2565
กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศ เตือนภัยระดับ 4 ทั่วประเทศ และแนวทางมาตรการการควบคุมโรค หลังจากที่ผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น แม้สายพันธุ์โอมิครอนความรุนแรงจะต่ำกว่าสายพันธุ์เดลตา 10 เท่า แต่ถ้าปล่อยให้มีการติดเชื้อมากขึ้น
กลับมาให้หวาดระแวงกันอีกครั้งนึงแล้วก็ว่าได้ สำหรับ สถานการณ์โควิด 19 ที่ล่าสุดนั้น กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศ เตือนภัยระดับ 4 ทั่วประเทศ และแนวทางมาตรการการควบคุมโรค หลังจากที่ผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น แม้สายพันธุ์โอมิครอนความรุนแรงจะต่ำกว่าสายพันธุ์เดลตา 10 เท่า แต่ถ้าปล่อยให้มีการติดเชื้อมากขึ้น โอกาสที่จะไปสู่กลุ่มเสี่ยงก็จะสูงขึ้น
โดยผู้ที่ติดเชื้ออยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน และเด็กมากขึ้น กลุ่มเหล่านี้จะรวมกลุ่มสังสรรค์ทานอาหารร่วมกัน และจะนำเชื้อไปติดกลุ่มเปราะบาง พบว่า มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ อาการเล็กน้อย และมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีอาการ จึงทำให้ไม่ระวังมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำคัญ อย่างยิ่งในปัจจุบันในการชะลอการติดเชื้อไม่ให้แพร่ไปสู่กลุ่มเสี่ยง หากพบว่ามีอาการหรือเสี่ยงขอให้กักตัว การใส่หน้ากากอนามัยเป็นสิ่งสำคัญเวลาออกจากบ้าน การเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร การเข้าในสถานที่แออัด ส่วนการสังสรรค์ งานบุญ งานบวช หากไม่มีความจำเป็นขอให้เลี่ยง
ทั้งนี้แทบทุกจังหวัดเราจะยกระดับเตือนภัยโควิดจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 โดยมีมาตรการดังนี้
- สถานที่เสี่ยง เปิดเฉพาะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
- การร่วมกลุ่มจำนวนมาก งดทานอาหารร่วมกัน การสังสรรค์
- มาตรการทำงานที่บ้าน WFH
- ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ข้ามจังหวัด
โดยจากการกับมาของเจ้าโควิด 19 นั้น เราจะพาไปดูเหตุการณ์ที่เป็นภาพจำใบการสั่งปิดสถานที่ต่างๆกันอีกครั้ง ซึ่งทางไทยนิวส์จะพาไปตรวจสอบการสั่งปิดครั้งใหญ่ โดยเป็นการสั่งปิดเรียนทั้งจังหวัด1,500เเห่ง
หลังยอดนักเรียนติดโควิดพุ่งไม่หยุด ล่าสุดเกือบเเตะหลัก 700 รายแล้ว โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ ออกหนังสือด่วนถึงสถานศึกษาทั้งจังหวัดกว่า1,500เเห่ง ขอความร่วมมือให้งดเรียนออนไซต์ ปรับเป็นเรียนออนไลน์ ด้านประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ ให้สถานศึกษาทุกสังกัด จัดการเรียนการสอน ในรูปแบบ Online On-air On-demand หรือ On-hand ทดแทนการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ตั้งแต่ 21 ก.พ.65 - 2 มี.ค. 65 หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
สำหรับยอดล่าสุด ข้อมูลวันที่ 20ก.พ.65 นักเรียนติดโควิดสะสมแล้ว 689 ราย มีทั้งนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นก็ต้องบอกว่า โควิด19 มันกลับมาอีกแล้ว มาถึงตอนนี้เราก็จะพาคุณผู้ชมนั้นไปทวนความจำอีกครั้ง สำหรับอาการของ "โอมิครอน"
สำหรับอาการป่วย "โอมิครอน" จากข้อมูล 53,709 ราย พบว่า ไม่มีอาการ 53.1% มีอาการป่วย 46.9% ส่วนใหญ่เจ็บคอ ไอ หรือมีไข้ต่ำ ๆ เป็น 3 อาการหลัก ๆ ที่เราเจอตอนนี้ หากเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 อาจกลายเป็นอาการหนัก เชื้อลงปอดได้ ดังนั้น สังเกตอาการแรก ๆ หากตากฝนมา มีเจ็บคอ ไอ ให้รีบตรวจ ATK ทันที
ส่วนที่ผ่านมา อาการ "โอมิครอน" ในประเทศไทย ในระยะแรก จะพบ 8 อาการ ที่พบมากที่สุด คือ
อาการไอ 54 %
เจ็บคอ 37 %
มีไข้ 29 %
ปวดกล้ามเนื้อ 15 %
มีน้ำมูก 12 %
ปวดศีรษะ 10 %
หายใจลำบาก 5 %
ได้กลิ่นลดลงมีเพียง 2 %
และพบว่า 48% ไม่มีอาการ
ทั้งนี้ การติดเชื้อในกลุ่มเด็ก 0.9 ปี เริ่มพบมากขึ้นเรื่อย ๆ และคนทำงาน พบปะคนก็มีโอกาสติดเชื้อสูง อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่ต้องเตือนภัยระดับ 4 เนื่องจากการติดเชื้อตอนนี้ แบ่งสีเป็นส้ม และแดง โดยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 13-19 ก.พ.2565) พบว่า ติดเชื้อกระจายทั่วประเทศแล้ว เป็นพื้นที่สีแดงและสีส้ม โดยสีแดงมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 ต่อประชากรแสนคน ส่วนสีส้มประมาณ 10-99 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งกลุ่มอายุที่ติดเชื้อพบว่า เพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม แต่มากสุดคือ วัยทำงาน และวัยเด็ก ดังนั้น การทำงาน การทานข้าวด้วยกัน การมีกิจกรรมร่วมกัน ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนอาการปอดอักเสบในกลุ่มวัยต่าง ๆ นั้น กลุ่มเด็กแม้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ป่วยหนักไม่เพิ่มมาก ถ้าเทียบกับอายุ 60 ปีขึ้นไปอาการจะมากขึ้น ส่วนวัยทำงานถ้าอายุ 50 กว่าปี ที่มีโรคประจำตัวก็จะทำให้เพิ่มขึ้นได้