เข้าใจผิดมาตลอดชีวิต เปิดที่มาคำว่า"หมอตำแย"อ่านจบคนไทยถึงบางอ้อทันที

เพจเฟซบุ๊ก Silapawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม เผย ที่มาของคำว่า "หมอตำแย" งานนี้บอกเลยว่า หลายคนเข้าใจผิดมาตลอดชีวิต

เพจเฟซบุ๊ก Silapawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม ได้ออกมาโพสต์ข้อความที่มาของคำว่า "หมอตำแย" โดยระบุเนื้อหาดังนี้ 

เหตุใดจึงเรียกหญิงที่มีอาชีพทำคลอดตามแผนโบราณว่า “หมอตำแย
 

ลายกินรี ละครเรื่องใหม่จากช่อง 3 ที่เพิ่งออกอากาศไปไม่นานมานี้ มีตัวละครหลักของเรื่องคือ "พุดซ้อน" (รับบทโดย ญาญ่า อุรัสยา) ที่แม้จะมีความรู้วิชาการแพทย์ แต่ก็ถูกดูแคลนว่าเป็นเพียง "หมอตำแย" แล้วสงสัยหรือไม่ว่า เหตุใดจึงเรียก “หมอตำแย

เรื่องนี้ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว อธิบายไว้ในบทความ “ทำไมถึงเรียกหมอตำแย” (ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2558) โดยสรุปคือ คำว่า "ตำแย" พบอยู่ในคัมภีร์ประถมจินดา ซึ่งคัมภีร์ประถมจินดาเป็นหนึ่งในตำรับการแพทย์อายุรเวท มีความสืบเนื่องเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอินเดีย อายุนับพันปีมาแล้ว ก่อนจะเข้ามาเผยแพร่ในแผ่นดินสุวรรณภูมิพร้อมพราหมณ์จากอินเดีย ปรากฏความบางส่วนว่า

“...ในถ้อยคำอันนี้ของพระมหาเถรเจ้าผู้ชื่อว่าตำแย ซึ่งท่านเป็นผู้ตกแต่งพระคัมภีร์ประถมจินดา...พระอาจาริยเจ้าท่านกล่าวไว้ว่า ถ้าแพทยผู้ใดก็ดี หมอตำแยแม่มดผู้ใดก็ดี แลจะถือครรภ์ให้กุมารคลอดไปเบื้องหน้านั้น ให้บูชาบวงสรวงพระมหาเถรตำแยก่อน จึ่งประสิทธิทุกประการ”"

ดังนั้น “ตำแย” จึงเป็นชื่อของมหาเถระ ผู้แต่งคัมภีร์ประถมจินดา เมื่อคัมภีร์นี้แพร่หลายออกไป หมอทำคลอดรุ่นหลังคนใดใช้คัมภีร์ประถมจินดาของพระเถระตำแยผู้นี้ ก็จะต้องบูชาบวงสรวงพระมหาเถระตำแยก่อนทำคลอด จึงจะทำงานได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

เข้าใจผิดมาตลอดชีวิต เปิดที่มาคำว่า"หมอตำแย"อ่านจบคนไทยถึงบางอ้อทันที

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่thainewsonline