- 24 ก.พ. 2566
จัดหนักชุดใหญ่ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ บุกคมนาคมยื่นเอกสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม กระชากหน้ากาก ศักดิ์สยาม ล็อคสเปคเอื้อนายทุนเจ้าเดียว
24 ก.พ.66 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เดินทางไปยังกระทรวงคมนาคม ยื่นเอกสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังได้ตรวจพบถึงความไมโปร่งใสและส่อไปในทางทุจริต ในการจัดทำโครงการ เพื่อบริการสาธารณะด้านขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก ในขั้นตอนการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมทุนกับรัฐ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในประเด็นดังต่อไปนี้
1. การเปลี่ยนหลักเกณฑ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายในการประมูลครั้งที่ 1 (ปี 2563) ข้อเท็จจริง
ภายหลัง คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการร่วมทุน รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือก ได้ประกาศรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างประกาศเชิญชวนเอกชนและร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือก จนได้ข้อสรุปแล้วประกาศ เชิญชวนเอกชนให้เข้าร่วมประมูลแข่งขัน ตามคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชน ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563
หลังจากปิดการขายซองแล้ว บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (ITD) ร้องขอให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก คณะกรรมการคัดเลือกได้ร่วมกันแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือกตามหนังสือของ ITD เปลี่ยนวิธีการคัดเลือกจากการประมูลแข่งขันราคา เป็นเกณฑ์เกณฑ์คะแนนด้านเทคนิค และราคา เปิดโอกาสให้คณะกรรมการคัดเลือกได้ใช้ดุลยพินิจอย่างเปิดกว้าง เอกชนที่ยื่นชองข้อเสนอจึงได้ยื่น ฟ้องต่อศาลปกครอง เป็นคดีที่ 1
2. การยกเลิกประกาศเชิญชวน ปี 2563 ที่ไม่ชอบ ข้อเท็จจริง จากนั้นศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครอง "หลักเกณฑ์เดิม" ขณะนั้นมีผู้ยื่นชองเอกสารเพื่อแข่งขัน มี กลุ่มบริษัท คือ 1 กลุ่ม BTS และ 2 กลุ่ม BEM แต่ TD ไม่ได้ยื่นเสนอราคาแข่งขัน ทาง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก ไม่ดำเนินการคัดเลือกพิจารณาซองข้อเสนอต่อ แต่กลับใช้วิธียกเลิกประกาศเชิญชวนปี 2563 และนำเรื่องการยกเลิกไปยื่นต่อศาล
3 การออกประกาศเชิญชวนครั้งที่ 2 (ปี 2565) โดยมีพฤติการณ์ในการกีดกันและเอื้อประโยชน์แก่เอกชนบางราย ข้อเท็จจริง รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือก ได้มีประกาศเชิญชวนเอกชน ปี 2565กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านงานก่อสร้างโยธาที่ต้องแล้วเสร็จกับรัฐบาลไทย อันเป็นการกีดกันกลุ่ม
บริษัท BTS ซึ่งเคยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศเชิญชวน ปี 2563 กลับเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติตามประกาศเชิญชวนปี 2565 และขณะเดียวกันการกำหนดคุณสมบัติด้านงานโยธาดังกล่าว ก็เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ ITD และ BEM ผู้ที่มีผลงานด้านโยธาอุโมงค์ตามประกาศเชิญชวนและเป็นแค่ 2 บริษัทในโลกที่มีคุณสมบัติงานก่อสร้างโยธาตามประกาศเชิญชวน ปี 2565 ที่สามารถยื่นข้อเสนอในครั้งนี้ได้
ทำให้ผู้ถูกกีดกันฟ้องคดีต่อศาลปกครองเป็นคดีที่ 3 คดียังอยู่ในระหว่างการไต่สวนพิจารณาของศาลปกครองกลาง และพรรคฝ่ายค้านได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด
4.การจงใจ ประกาศให้ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด เป็นผู้มีคุณสมบัติยื่นข้อเสนอทั้งที่ ไม่มีคุณสมบัติยื่นข้อเสนอ ข้อเท็จจริง คณะกรรมการคัดเลือก ต้องปฏิบัติตามประกาศหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน พ.ศ.2563 โดยต้องพิจารณาคุณสมบัติของเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอ
ซองที่ 1 ตามวิธีการเงื่อนไข ประกาศเชิญชวน ปี 2565 ข้อ 9 หากพบว่า ผู้บริหาร ITD คนหนึ่ง ในขณะยื่นข้อเสนอ เป็นบุคคลต้องโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีเสือดำ และยังรับโทษอยู่ ก็ต้องประเมินไม่ผ่านต้องคืนซองที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาเป็นอย่างอื่น แต่ก็หาได้ทำหน้าที่เช่นนั้น
5.เรื่องราคา ที่แตกต่างกันอย่างมากมาย ข้อเท็จจริง ตามประกาศเชิญชวน ปี 2565 ได้กำหนดแบบตารางให้กรอกเช่นเดียวกับ ปี 2563 ประกอบด้วยตัวเลขจำนวน 2 ส่วน คือ เงินที่ขอสนับสนุนจากรัฐด้านงานโยธา ( รัฐกำหนดไว้ ที่ 91,000 ล้านบาท จะขอเกินไม่ได้
และ ส่วนที่ 2 คือ เงินส่วนแบ่งที่จะจ่าย กลับแก่รัฐในช่วงระยะเวลาการร่วมลงทุน คือ 30 ปี นับแต่เปิดเดินรถฝั่งตะวันออก (มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม )
- ซึ่งใครเสนอประโยชน์สุทธิ (NPV ) แก่รัฐดีกว่า ผู้นั้นเป็นผู้ชนะ (NPV = ส่วนที่คืนรัฐ ส่วนที่ขอสนับสนุนจากรัฐบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) มีบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับที่ 1 จำนวนหุ้นร้อยละ 32.37 (%)
และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ถือหุ้นใหญ่ ลำดับ 2 ร้อยละ 8.22 (%) เป็นผู้ชนะราคา แต่ราคากลับแตกต่างจากที่ BTS เสนอในปี 2563 เกือบ 70,000 ล้านบาท ทั้งที่มีลักษณะและเนื้องานก่อสร้างและการเดินรถไฟฟ้าคงเดิม ไม่ได้มีการแก้ไขแบบรายการแต่ประการใด และคณะกรรมการคัดเลือกก็มิได้นำข้อมูลดังกล่าวไปพิจารณาต่อรอง ราคา
6.เรื่องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผู้มีอำนาจหน้าที่ ตาม พรบ.รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 ละเว้นไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ข้อเท็จจริง ในการบริหารกิจการรถไฟฟ้า ตาม พระราชบัญญัติการรถฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาการตามพระบัญญัติดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีอำนาจในการกำกับควบคุม ตาม มาตรา 72 ที่จะสั่งการให้ คณะกรรมการ รฟม. และ ผู้ว่า รฟม. ชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน
ตลอดจนมีอำนาจที่จะยับยั้งการกระทำเกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนที่ขัดต่อ มติคณะรัฐมนตรี ตลอดจนสั่งให้สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการในการคัดเลือกเอกชนได้ ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนภายใต้การดำเนินการของ รฟม.ตั้งแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ ปี 2563 การยกเลิกการประมูลครั้งที่ 1
รวมถึงการประมูลครั้งที่ 2 ที่มีเรื่องการกีดกั้นและเอื้อประโยชน์ กระบวนการคัดเลือกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอ รวมถึงราคาที่แตกต่างซึ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศชาติ เกิดขึ้นในสมัยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง แต่มิได้ดำเนินการใดๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ตาม มาตรา 72 ทั้งที่ทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นการละเว้น เกี่ยวกับหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
จึงเรียนมายังท่าน เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ในฐานะประมุขฝ่ายบริหารเพื่อรักษาไว้ซึ่ผลประโยชน์ของประเทศชาติและรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิของกฎหมายบ้านเมืองต่อไปพร้อมทั้งนี้ได้แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วยแล้ว
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ thainews