- 08 ส.ค. 2566
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คนขับแท็กซี่ แจ้งเตือนผู้โดยสาร คาดเข็มขัดนิรภัย
ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2566 เป็นต้นไป คนขับแท็กซี่ สามารถแจ้งเตือนผู้โดยสาร หากพบว่า ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
วันที่ 8 ส.ค. 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดวิธีการสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ หรือรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อสินจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ในการแจ้งเตือนหรือจัดให้มีการแจ้งเตือนเพื่อให้คนโดยสารในรถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องเข็มขัดนิรภัย พ.ศ.2566 ลงนามโดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
สาระสำคัญ ระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดวิธีการสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะ หรือรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อสินจ้าง ในการแจ้งเตือนหรือจัดให้มีการแจ้งเตือน เพื่อให้คนโดยสารในรถดังกล่าวปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องเข็มชัดนิรภัย และการปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยในการยืนหรือนั่งโดยสารสำหรับรถบางประเภท เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่และการโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 123/3 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดวิธีการสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถนต์หรือรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อสินจ้าง ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ในการแจ้งเตือนหรือจัดให้มีการแจ้งเตือน เพื่อให้คนโดยสารในรถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องเข็มขัดนิรภัย พ.ศ. 2566”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 พ.ย. 2566)
ข้อ 3 ให้ผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อสินจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ต้องแจ้งเตือนหรือจัดให้มีการแจ้งเตือน เพื่อให้คนโดยสารในรถนั้นปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
3.1 กรณีเป็นรถที่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิภัยทุกที่นั่งตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ต้องแจ้งเตือนหรือจัดให้มีการแจ้งเตือน เพื่อให้คนโดยสารในรถทุกคนต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารและปฏิบัติ ดังนี้
(1) ต้องนั่งโดยสารในที่นั่งที่กำหนดสำหรับรถประเภทนั้น
(2) ห้ามนั่งโดยสารเกินจำนวนที่นั่ง
(3) ห้ามนั่งบนอุปกรณ์ที่เพิ่มเติม นอกเหนือที่นั่งที่กำหนดไว้
(4) ห้ามยืนโดยสารไม่ว่าตอนใดของรถ เว้นแต่รถนั้นกำหนดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืน
(5) ไม่ยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกนอกตัวรถในขณะนั่งโดยสาร
3.2 กรณีเป็นรถที่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเฉพาะที่นั่งแถวตอนหน้าตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ต้องแจ้งเตือนหรือจัดให้มีการแจ้งเตือน เพื่อให้คนโดยสารซึ่งนั่งในที่นั่งแถวตอนหน้าต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งลอดเวลาในขณะโดยสาร และต้องแจ้งเตือนหรือจัดให้มีการแจ้งเตือน เพื่อให้คนโดยสารทุกคนปฏิบัติ
รายละเอียด คลิก