เปิดฤกษ์พิธีบวงสรวง เบิกเนตร"ครูกายแก้ว" เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

เปิดฤกษ์พิธีบวงสรวงเบิกเนตร"ครูกายแก้ว" หลังเกิดเป็นกระแสข่าวใหญ่กับการเคลื่อนย้ายรูปปั้นครูกายแก้ว ติดคานสะพานลอยย่านถนนรัชดา


   กรณีเมื่อช่วงเช้าวันที่ 9ส.ค.66 บริเวณถนนรัชดาฯ ได้เกิดการจราจรติดขัดอย่างหนักจนเป็นอัมพาต รถติดสะสมต่อเนื่องกระทบไปถึงสะพานพระราม 7 เนื่องจากสาเหตุการเคลื่อนย้าย ครูกายแก้ว มาประดิษฐานที่ เดอะบาซาร์ รัชดา ระหว่างการเดินทางช่วงโค้งศาลอาญา รัชดา ศีรษะรูปปั้นครูกายแก้วขนาดใหญ่ ได้เกิดไปติดสะพานลอยคนข้าม เหตุการณ์ดังกล่าวได้มีการแชร์กันไปจำนวนมากโลกออนไลน์

เปิดฤกษ์พิธีบวงสรวง เบิกเนตร\"ครูกายแก้ว\" เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

เปิดฤกษ์พิธีบวงสรวง เบิกเนตร\"ครูกายแก้ว\" เทพเจ้าแห่งโชคลาภ
   ล่าสุดเมื่อช่วงเวลา 19.30 น. ของวันที่ 9 ส.ค.66 บรรยากาศที่บริเวณ ศาลครูกายแก้ว ณ ลานโรงแรม เดอะ บลาซ่า รัชดาภิเษก ได้มีการนำ รูปหล่อ ครูกายแก้ว ความสูง 4 เมตร กว้าง 3.50 เมตร ยกโดยรถเครน นำวางตั้งยังฐาน

เปิดฤกษ์พิธีบวงสรวง เบิกเนตร\"ครูกายแก้ว\" เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

   โดยวันนี้ได้มีพิธีเบิกเนตรครูกายแก้ว คือการที่ อาจารย์หน่อย จะเป็นผู้นำพลอยเม็ดสีแดง ขึ้นกระเช้ารถเครน ยกขึ้นเพื่อทำพิธี นำพลอยทั้ง2 เม็ด ติดตั้งยังบริเวณดวงตา ของ ครูกายแก้ว บริเวณศาลครูกายแก้ว  ลานจอดรถของ โรงแรม เดอะบาซาร์  รัชดาภิเษก

เปิดฤกษ์พิธีบวงสรวง เบิกเนตร\"ครูกายแก้ว\" เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

    ทั้งนี้ เปิดฤกษ์พิธีบวงสรวงเบิกเนตร"ครูกายแก้ว" จะจัดขึ้นวันที่ 13สิงหาคม 2566 พร้อมกับมีพิธีบวงสรวงใหญ่  ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของอาจารย์หน่อย เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น เป็นต้นไป  ในงานวันดังกล่าวนั้นจะมีการแจกเหรียญที่ระลึก  นอกจากนี้หากท่านใดจะแวะเวียนไปบูชาองค์รูปปั้นครูกายแก้วครูกายแก้ว ก็ไปกันได้ที่บริเวณ ด้านหน้าเดอะบาซาร์ รัชดา  แยกรัชดา-ลาดพร้าว

เปิดฤกษ์พิธีบวงสรวง เบิกเนตร\"ครูกายแก้ว\" เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

 รู้จัก "ครูกายแก้ว"

 

    สำหรับ "ครูกายแก้ว" เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ขอพรได้สมดั่งใจ ขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ หรืออาจจะรู้จักกันในนาม "พ่อใหญ่ บรมครูผู้เรืองเวทย์" มีรูปร่างลักษณะของผู้บำเพ็ญกึ่งมนุษย์กึ่งนก เล็บยาว ตาแดง มีปีกด้านหลัง มีเขี้ยวสีทองสื่อถึงนกการเวก

 

    โดยรูปปั้นองค์ปฐมครูกายแก้วถูกสร้างเป็นไปตามจินตนาการของ อ.สุชาติ รัตนสุข ที่ได้รับองค์ครูขนาดเล็กหน้าตักเพียง 2 นิ้ว จาก อ.ถวิล มิลินทจินดา นักร้องเพลงไทยเดิมของกองดุริยางค์ทหารสมัยก่อน ที่ได้รับต่อมาอีกทีจากพระธุดงค์ ลำปาง ที่ไปทำสมาธิที่ปราสาทนครวัดนครธม กัมพูชา