- 10 ต.ค. 2566
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมา เตือน 27 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำหลาก-ดินถล่ม ถึง 15 ต.ค 66
สทนช. ได้วิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยมีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 9-15 ตุลาคม 2566 ดังนี้
1. เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม ได้แก่
1.1 ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอฝาง อมก๋อย และจอมทอง) จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอคลองลาน คลองขลุง และปางศิลาทอง) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอตรอน) จังหวัดตาก (อำเภออุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด พบพระ วังเจ้า และบ้านตาก) จังหวัดพะเยา (อำเภอเมืองพะเยา) จังหวัดแพร่ (อำเภอวังชิ้น) จังหวัดพิษณุโลก
(อำเภอนครไทย) จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอแม่วงก์) จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่ และลานสัก) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ และน้ำหนาว)
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น (อำเภอโคกโพธิ์ไชย และโนนศิลา) จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา โนนไทย โนนสูง เฉลิมพระเกียรติ จักราช พิมาย ลำทะเมนชัย ชุมพวง และเมืองยาง) จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเมืองชัยภูมิ คอนสาร และเกษตรสมบูรณ์) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอคำชะอี และเมืองมุกดาหาร) จังหวัดอุดรธานี (อำเภอเมืองอุดรธานี) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี และวารินชำราบ)
1.3 ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอทองผาภูมิ และศรีสวัสดิ์) จังหวัดชัยนาท (อำเภอเมืองชัยนาท เนินขาม และหันคา) จังหวัดสุพรรณบุรี (อำเภอเดิมบางนางบวช หนองหญ้าไซ สามชุก และดอนเจดีย์)
1.4 ภาคตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม ศรีมหาโพธิ นาดีและกบินทร์บุรี) จังหวัดสระแก้ว (อำเภอเมืองสระแก้ว) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว ขลุง มะขาม และท่าใหม่) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง และแหลมงอบ) จังหวัดระยอง (อำเภอปลวกแดง)
1.5 ภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส (อำเภอสุไหงปาดี และสุคิริน) จังหวัดพังงา (อำเภอคุระบุรี) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์)
2. เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ดังนี้
2.1 แม่น้ำมูล ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้การบริหารจัดการในพื้นที่ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล ได้บริหารจัดการโดยคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการประชุมบูรณาการข้อมูล
เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งให้ได้มากที่สุด และการระบายน้ำให้เกิดผลกระทบกับพี่น้องประชาชนให้น้อยที่สุด
2.2 แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาต้องเพิ่มการระบายน้ำในอัตรามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ วัดไชโย คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง อำเภอพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี และอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาด
ชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.20-0.80 เมตร ทั้งนี้การบริหารจัดการในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้บริหารจัดการโดยคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่
เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง ซึ่งมีการประชุมบูรณาการข้อมูลเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์สูงสุดโดยเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งให้ได้มากที่สุด และการระบายน้ำให้เกิดผลกระทบกับพี่น้องประชาชนให้น้อยที่สุด
2.3 แม่น้ำท่าจีน ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางเลน และนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
2.4 แม่น้ำปราจีนบุรี ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีในการนี้ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โปรดดำเนินการ ดังนี้
1. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
2. วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยปรับแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และระบบชลประทานเพื่อเป็นการหน่วงน้ำที่ไหลลงมาสมทบแม่น้ำสายหลักให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งจัดการจราจรทางน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำมูล และแม่น้ำเจ้าพระยา
3. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่บริเวณที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์