เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2567 โอนเงินเข้าวันไหนบ้าง-ใครไม่สามารถรับสิทธิ

เช็คเลย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2567 งวดต่อไปโอนเข้าวันไหนบ้าง พร้อมเช็คใครที่ไม่สามารถรับสิทธิเงินช่วยเหลือได้

สำหรับการจ่ายเงิน "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ปี 2567 เดือนมีนาคมเงินเข้าวันที่ 8 มีนาคม 2567 ทั้งนี้ได้มีเงินพิเศษ ตามมติของคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุที่ได้มีการอนุมัติจ่ายในอัตรา 100 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 9 เดือน ตั้งแต่มกราคม-กันยายน 2567 โดยจ่ายเป็นรายไตรมาส และกำหนดจ่ายงวดแรกวันที่ 11-13 มีนาคม 2567 เช็คเลยหลังหมดงวดเดือนมีนาคม เงินผู้สูงอายุงวดต่อไปเข้าวันไหน

 

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2567 โอนเงินเข้าวันไหนบ้าง-ใครไม่สามารถรับสิทธิ

เบี้ยผู้สูงอายุ 2567 เข้าวันไหนบ้าง 

เดือนมกราคม : วันพุธที่ 10 มกราคม 2567

เดือนกุมภาพันธ์ : วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

เดือนมีนาคม : วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567

เดือนเมษายน : วันพุธที่ 10 เมษายน 2567

เดือนพฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567

เดือนมิถุนายน : วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567

เดือนกรกฎาคม : วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567

เดือนสิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567

เดือนกันยายน : วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567

เดือนตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567

เดือนพฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567

เดือนธันวาคม : วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567

 

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2567 โอนเงินเข้าวันไหนบ้าง-ใครไม่สามารถรับสิทธิ

 

เช็คเลย ใครบ้างไม่สามารถรับสิทธิเบี้ยผู้สูงอายุได้

  • ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เงินบำนาญ เบี้ยหวัด
  • เงินอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับเงินเบี้ยยังชีพ เช่น ผู้สูงอายุที่เคยทำงานและได้รับเงินเดือน มีรายได้ประจำ หรือผลตอบแทนอื่น ๆ จากหน่วยงานรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

สำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุแล้วต้องลงใหม่ไหม?

กรณีคนที่เคยลงทะเบียนไปแล้วไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำอีก สำหรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยกเว้นย้ายที่อยู่ จึงค่อยไปแจ้งยืนยันสิทธิ์ใหม่ (กรณีย้ายตามทะเบียนบ้าน)

ยื่นขอรับความช่วยเหลือ เงินผู้สูงอายุ 3,000 บาท ทำอย่างไรบ้าง ?

การยื่นรับความช่วยเหลือเงินผู้สูงอายุ 3,000 บาท แบ่งเป็น 2 กรณี

- กรณีผู้สูงอายุแจ้งเรื่องเอง ใช้เอกสารดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

- กรณีบุคคลหรือหน่วยงานอื่นพบเห็นใช้เอกสารดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน-บัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ของผู้แจ้งเรื่องมาใช้ประกอบเป็นเอกสารยื่น


กรณีไม่มีหลักฐาน

  • ให้มีหนังสือรับรองที่ทางราชการออกให้ ว่าผู้สูงอายุมีถิ่นที่อยู่ในพื้นที่นั้นจริง

เคยลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุแล้วต้องลงใหม่ไหม?

กรณีคนที่เคยลงทะเบียนไปแล้วไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำอีก สำหรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยกเว้นย้ายที่อยู่ จึงค่อยไปแจ้งยืนยันสิทธิ์ใหม่ (กรณีย้ายตามทะเบียนบ้าน)