- 27 พ.ค. 2567
สาวแสบขโมยทองบ้านแฟน กว่า 57 บาท เงินโอนให้ญาติเกลี้ยง ตร.ไม่ตามเส้นเงิน หนุ่มเครียดหนัก ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร
กรณีหนุ่มถูกแฟนสาวแสบขโมยทอง57บาท โดยผู้เสียหายคือ นายอนุพงศ์ อายุ 33 ปี เล่าให้ฟังว่า ตนเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และครอบครัวทำธุรกิจขนส่ง พอตนมีรายได้ก็จะซื้อทองมาเก็บไว้ ตนซื้อของเก็บไว้ ทองคำหนัก 57บาท โดยจะเก็บทองไว้ที่บ้านในตู้ลิ้นชักที่บ้านภายในห้องนอน 27บาท และทองอีก 30 บาทเป็นทองคำแท่ง ตนฝากไว้ที่ร้านทองชื่อดังแห่งหนึ่งย่านเยาวราช ที่มีมาตรฐานการป้องกันสูง
กระทั่งเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา ตนเองพาแฟนสาวที่คบกันมา6 ปี เข้ามาอยู่ในบ้าน ด้วยแฟนตนเป็นคนเรียบร้อย ขยันทำงานบ้าน ทางครอบครัวตนเองจึงรักและไว้ใจ ไม่ได้ระแวงอะไร ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ตนมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ตนจึงนำทองที่เก็บไว้ในตู้ น้ำหนัก 27 บาท ออกไปจำนำ แต่พอถึงโรงจำนำ ทางโรงจำนำแจ้งว่าทองทั้งหมดเป็นของปลอม ตนจึงสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร ตนจึงกลับมาที่บ้าน แล้วนำเรื่องนี้ไปพูดคุยกับคนในครอบครัว ว่าสงสัยใครในบ้าน แต่คนในบ้านก็ไม่มีพิรุธใดๆ
ตนคิดได้ว่าเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา แฟนสาวตนเคยให้คนโอนเงินเข้าบัญชีตน 1,200,000 บาท โดยอ้างว่า (เป็นเงินของพี่สาว พี่สาวเลิกกับสามีแล้วแบ่งมรดกกัน และพี่สาวเอารถแบ็คโฮที่ได้มาจากการแบ่งมรดกไปขาย พี่สาวไม่อยากเอาเงินเข้าบัญชี กลัวสามีรู้ )ตนจึงหลงเชื่อโอนเงินให้ไป พอตนโอนเงินให้ไปแล้ว ก็มาดูสลิปคนที่โอนเงินเข้า ปรากฏว่าเป็นบัญชีของร้านทอง ตนถามแฟนไปว่าทำไมเป็นชื่อร้านทองโอนเข้ามา ตอบว่าพี่สาวขายรถแล้วนำเงินไปซื้อทองก่อน จึงให้ร้านทองโอนเข้าม)
พอนึกขึ้นเริ่มสงสัยแฟนสาวทันที ช่วงตอนกลางคืนตนเองจึงแอบเอาโทรศัพท์ของแฟนสาวมาดู ปรากฏว่าพบข้อความ ในแอพ Facebook เป็นข้อความ ถาม เพจร้านขายทองปลอมต่างๆว่า มีทองลายนี้ไหม พร้อมส่งรูปของตนให้ดู ซึ่งติดต่อไปหลายร้านมาก และมีการนัดหมายเข้าไปดูทองกัน ตนจึงถามแฟนอีกครั้งว่า ได้เอาทองตนไปไหม แต่เธอก็ยืนยันว่าไม่ได้เอาไป พร้อมยอมพิสูจน์ตนเองไปที่โรงพัก ตนกับแม่จึงเดินทางไปแจ้งความที่สน. ประชาชื่น ตำรวจให้ลงบันทึกประจำวันไว้ก่อน และถ้ามีคนน่าสงสัยให้มาแจ้งอีกครั้ง
(แต่ตอนนั้นไม่รู้ว่าใบฝากทองแท่ง 30 บาท ของโรงรับจำนำ ถูกนำไปขายทองแล้ว)
ต่อมาเช้าวันรุ่งขึ้นวันที่ 3 ตนจึงเดินทางไปที่ร้านทองชื่อดังแห่งหนึ่งย่านเยาวราช ที่ฝากทองคำแท่งไว้ 30 บาท ทางร้านแจ้งว่า เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ได้มีผู้หญิงที่เคยมาซื้อทองกับตน มาทำธุรการการขายทอง 30 บาทที่ฝากไว้ แต่ทางเจ้าหน้าที่ให้กลับไปทำเอกสารมาใหม่ เพราะเอกสารไม่ครบ จากนั้นวันที่ 25 เมษายน 2567 ผู้หญิงคนเดิมได้นำ บัตรประชาชนตัวจริงของตน/สำเนาใบฝากทอง มีการปลอมลายเซ็นโดยเขียนทับด้วยปากกาสีน้ำเงิน และหนังสือมอบอำนาจ
และอ้างว่าตนเกิดอุบัติเหตุ นอนอยู่โรงพยาบาล ไม่สามารถมาขายทองด้วยตนเองได้ ทางโรงจำนำ จึงจ่ายเช็คเงินสดเข้าบัญชีตนไป พอตนรู้อย่างนี้ตนถึงกับร้องไห้ทันที จนแปลกใจว่าตอนมาซื้อของที่นี่ และทำใบฝากท้องไว้ ทางร้านทองระบุมาตรการความปลอดภัยไว้อย่างชัดเจนว่า “ไม่มีใครสามารถมานำทองหรือขายทองที่ฝากไว้ได้ นอกจากเจ้าของเท่านั้น แต่ถ้าเจ้าของตายจะต้องนำใบมรณบัตรมาแสดง ถึงจะได้ทองออกไป ” แต่ร้านทองกับให้เงินกับคนอื่นไปง่ายมาก ช่วงกลางคืนตนจึงเข้าไปแจ้งความเพิ่ม และสอบปากคำเอาผิดกับแฟนตนเองทันที
พอตนเดินทางกลับมาที่บ้าน ก็ไม่พบว่าแฟนอยู่ที่บ้านแล้ว มีการขนของออกไปจนหมด จึงโทรศัพท์ไปถาม ได้คำตอบว่าไม่อยากอยู่บ้านหลังนี้แล้ว ตนจึงบอกไปว่า วันที่ 16 พฤษภาคมนี้ให้ไปพบกันที่ สน. ประชาชื่น เพื่อเป็นการยืนยันความบริสุทธิ์ พอถึงวันนัดหมายแฟนสาวได้เดินทางมาตามนัด และตำรวจได้สอบปากคำ โดยทางผู้ต้องหาได้ปฏิเสธว่าไม่ได้นำทองไป แต่ทั้งตำรวจได้มีหลักฐานเป็นกล้องวงจรปิดชัดเจนแล้ว จึงควบคุมตัวแฟนสาว ไปฝากขังที่ศาลอาญารัชดา
สิ่งที่ตนอยากรู้ตอนนี้คือ ผู้ต้องหานำทองไปขายที่ร้านไหน เพราะมีเข็มขัดนาคอายุ 100 กว่าปีที่ได้มาจากบรรพบุรุษ ถูกขโมยไปขายด้วย เข็มขัดเส้นนี้มีมูลค่าทางจิตใจกับครอบครัวตนมาก ตนอยากจะไปซื้อคืน และตนอยากรู้อีกอย่างหนึ่งคือว่า ร้านทองมีส่วนผิดไหม ที่ให้ของคนที่ไม่ใช่เจ้าของไปง่ายดายแบบนี้ และตำรวจจะมีการตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้ต้องหาหรือไม่ ว่าได้เงินไปแล้วโอนเงินให้ใครบ้าง คนที่ได้รับโอนเงินมีส่วนผิดไหม