ประกาศจับ"ปลาหมอคางดำ"สัตว์น้ำต่างถิ่นระบาดหนัก

"ปลาหมอคางดำ" ระบาดหนัก ประกาศจับปลาหมอคางดำ หลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำ และกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

"ปลาหมอคางดำ" ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ล่าสุด ประมงจังหวัดสงขลา ประกาศจับ ปลาหมอคางดำ ผนึกกำลังนักล่า รวมพลกำจัดปลาหมอคางดำ กำจัดปลาหมอคางดำให้หมดไป

โดย เพจ สนง.ประมง จังหวัดสงขลา  ได้ประกาศจับปลาหมอคางดำ สัตว์น้ำต่างถิ่นสร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกร   ซึ่งมีลักษณะภายนอกคล้ายกับปลาหมอเทศ พบได้ทั้งน้ำจืด บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ป่าชายเลน และในทะเล เพศผู้จะมีสีดำบริเวณหัว และบริเวณแผ่นปิดเหงือกมากกว่าเพศเมีย  พร้อมทั้งเชิญชวนประชาชนแจ้งตำแหน่งการพบปลาหมอคางดำ โดยถ่ายภาพ และแจ้งพิกัดที่พบมายังสำนักงานประมงใกล้บ้าน หรือโทรสายด่วน 074 311 302

ประกาศจับ\"ปลาหมอคางดำ\"สัตว์น้ำต่างถิ่นระบาดหนัก

เจอ แจ้ง จับ จบ  หากใครพบปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ สามารถสแกน QR Code หรือโทรแจ้งไปยังหน่วยงาน ให้ดำเนินการได้ 

ประกาศจับ\"ปลาหมอคางดำ\"สัตว์น้ำต่างถิ่นระบาดหนัก
 

สำหรับ การแพร่ระบาดของ ปลาหมอสีคางดำ ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม

ทำให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะทำงานปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ระดับจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเป็นประธานคณะทำงาน โดยให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหา เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำระดับพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ประกาศจับ\"ปลาหมอคางดำ\"สัตว์น้ำต่างถิ่นระบาดหนัก

      สำหรับลักษณะทางอนุกรมวิธานทั่วไปของปลาหมอคางดำ สีลำตัวมีการแปรผัน อาจเป็นสีเงิน, น้ำเงินอ่อน หรือสีเหลือง สีดำ ขึ้นกับสีน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ปรากฎจุดสีดังกล่าว ขนาดเล็กไม่พบจุดสีดำมีจุดสีดำขนาดใหญ่ บริเวณคาง, หลังกระพุ้งแก้ม, ด้านหลังของฐานครีบหลัง

     ส่วนผลกระทบจากการระบาดปลาหมอคางดำ ได้แก่

(1) ปลาหมอคางดำ อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย ป่าชายเลน ทะเลสาบ ทะเล เป็นปลาที่มีความทนต่อความเค็มสูง

(2) ปลาหมอคางดำขยายพันธุ์ได้ดีและรวดเร็ว ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาฟัก 4-6 วัน ในระยะเวลา 4 เดือน สามารถแพร่พันธุ์ได้นับแสนตัว

(3) ปลาหมอคางดำ จัดเป็นปลาที่กินเก่งโดยสามารถกินได้ทั้งแพลงก์ตอนพืช สัตว์น้ำตัวอ่อนทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นปู ปลา กุ้ง หอย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่น

(4) พบว่าเมื่อปลาหมอคางดำหลุดเข้าไปในบ่อกุ้งของเกษตรกร ภายในเวลาเพียง 2 เดือนสามารถกินกุ้งในบ่อจนหมด



      ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณามาตรการและกิจกรรมภายใต้โครงการจัดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำด้วย 6 มาตรการ ดังนี้ 
       (1) การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด 
       (2) การกำจัดหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง
       (3) การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์
       (4) การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตชนกัน
       (5) การสร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ
       (6) การติดตาม ประเมินผล และบริหารโครงการ