- 20 ก.ย. 2567
"โซนิคบูม" คืออะไร หลายคนตั้งข้อสงสัย เสียงดังสนั่นเหนือฟ้าสุราษฎร์ธานี สาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ อธิบายง่ายๆ มาไขปริศนาเรื่องเสียงดังลั่นฟ้านี้กันค่ะ
"โซนิคบูม" คืออะไร? จากกรณีโลกโซเชียลได้โพสต์คำถามว่าเกิดเหตุเสียงดังสนั่นเหนือฟ้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำคนตกใจต่างหาสาเหตุกันให้ควักว่า "เสียงดังสนั่นสุราษฎร์" จะทำให้เกิดแผ่นดินไหว เขื่อนแตกหรือไม่!!
จากกรณีวันที่ 20 กันยายน 2567 ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอพนม อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ได้ยินเสียดังคล้ายระเบิด สร้างความแตกตื่นเป็นอย่างมาก กระทั่งบนโลกออนไลน์ได้ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นเสียงจาก "โซนิคบูม" ของเครื่องบินรบหรือไม่? ซึ่งจากการสอบถามทางกองบิน 7 ทราบว่า เวลาดังกล่าวเครื่องบินรบขึ้นบินตามแผนปกติ แต่ไม่มีการทำโซนิคบูมแต่อย่างใด
สุราษฎร์ธานี แจ้งสภาพเขื่อนรัชชประภา
ในกรณีที่เกิดเสียงดังในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีบางพื้นที่ ให้ประชาชนสบายใจได้อย่างนึงครับว่า เขื่อนรัชชประภาเหตุการณ์ทั่วไปปกติ ไม่ได้เกี่ยวกับเขื่อนมีปัญหารอยแตกรอยเลื่อน ณ จุดเขื่อนรัชประภาแต่อย่างใด ยังคงแข็งแรงปกติครับ
ขณะเดียวกันก็มีประชาชนส่วนใหญ่สงสัยว่า "โซนิคบูม" คืออะไร เกิดจากอะไร และส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?
โซนิคบูม (Sonic Boom) คือเสียงที่เกี่ยวข้องกับคลื่นกระแทกหรือช็อกเวฟ เกิดขึ้นจากการที่แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ในอากาศด้วยอัตราเร็วที่มากกว่าความเร็วเสียง จนทำให้เกิดพลังงานเสียงปริมาณสูง โดยจะมีเสียงคล้ายระเบิด
ตัวอย่างของเสียง ที่เกิดจากโซนิคบูมอย่างง่ายคือ เสียงของลูกปืนที่วิ่งในอากาศ หรือเสียงของการเหวี่ยงแส้ ตลอดจนเสียงการบินของเครื่องบินรบซึ่งเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด
โดยลักษณะที่ปรากฏของโซนิคบูมกรณีที่เกิดจากเครื่องบินรบนั้น จะมีลักษณะเป็นควันพวยพุ่งแผ่ออกมาจากส่วนกลางและส่วนท้ายของลำตัว
ขณะที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา (NASA) เผยว่า โซนิคบูมนั้นนอกจากจะเห็นด้วยตาจากเครื่องบินรบแล้ว ยังมีลักษณะเป็นคลื่นกระแทกทรวงกรวย กระแทกลงไปยังด้านล่างของตัวเครื่องเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งลักษณะของโซนิคบูมจากเครื่องบินรบแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันตามเครื่องบินรบแต่ละประเภท
สำหรับผลกระทบของ "โซนิคบูม" ต่อมนุษย์นั้น มีอยู่หลายประการ ตั้งแต่ทำให้รู้สึกรำคาญ หัวใจเต้นถี่ขึ้น กล้ามเนื้อแขนและหลังตอบสนองด้วยการหดตัว ไปจนถึงความสามารถในการทรงตัวที่ลดระดับลง
ที่มา: Wikipedia / NASA / ScienceDirect / คนข่าว กระบี่