เปิดความจริง "กระทง" ชนิดที่หลายคนอวย ที่แท้คือตัวสร้างหายนะ

เพจเฟซบุ๊กชื่อดังอย่าง Drama-addict ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ กระทง ที่สร้างหายนะให้สิ่งแวดล้อมหนักที่สุด ลอยกระทงนี้ดูให้ดี

"ลอยกระทง2567" กับเทศกาลลอยกระทงปีนี้ ล่าสุดเพจเฟซบุ๊กชื่อดังอย่าง Drama-addict ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า 

เพจดังเปิดเอง "กระทง" ชนิดไหน สร้างหายนะให้สิ่งแวดล้อมหนักที่สุด

สื่อช่องต่างๆอย่าทำข่าวอวยกระทงขนมปังมากนัก ไอ้นี่ล่ะกระทงที่สร้างหายนะให้สิ่งแวดล้อมหนักสุด

เพจดังเปิดเอง "กระทง" ชนิดไหน สร้างหายนะให้สิ่งแวดล้อมหนักที่สุด

ซึ่งในด้านของ “ธนัสพงษ์ โภควนิช” อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เคยให้ข้อมูลไว้ว่า เริ่มต้นอธิบายว่ากระทงที่ย่อยสลายง่ายอย่าง “ผัก” หรือ “ขนมปัง” สร้างมลพิษน้อยกว่าโฟมหรือไม่ อาจารย์ระบุว่า เมื่อเทียบเคียงวัสดุยอดนิยมในการนำมาทำกระทงทั้งหมด “ขนมปัง” ยากต่อการจัดเก็บมากที่สุด ตามความเข้าใจของประชาชนทั่วไปอาจมองว่า ขนมปังเมื่อลอยในน้ำแล้วปลายทางจะเป็นอาหารปลาซึ่งไม่ใช่ปลาทุกชนิดที่จะชอบกินขนมปัง และเมื่อลอยน้ำไปสักพักขนมปังเหล่านี้อาจเปื่อยยุ่ยและจมลงสู่ก้นแม่น้ำก่อนที่ปลาจะกินด้วยซ้ำไป อาจารย์เปรียบเทียบว่า การลอยกระทงขนมปังลงแม่น้ำพร้อมกันหลายสิบ หลายร้อยใบ ไม่ต่างอะไรกับการทิ้งขยะลงแม่น้ำ มีแต่จะทำให้ปลาตาย แหล่งน้ำเน่าเสีย

 

“Hypoxia” หรือภาวะพร่องออกซิเจน คือสิ่งที่เกิดขึ้นในแม่น้ำหลังมีการลอยกระทง เมื่อขนมปังหรือผักผลไม้ปริมาณมากเกินกว่าที่ปลาในแม่น้ำจะกินจมลงแม่น้ำพร้อมกัน เศษอาหารเหล่านี้จะค่อยๆ เน่าเสีย เปื่อยยุ่ย ทำให้ปริมาณออกซิเจนในแม่น้ำต่ำลง ไม่ใช่แค่ปลาที่ได้ผลกระทบ แต่บรรดาสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามารถขึ้นมาหายใจรับออกซิเจนบนผิวน้ำจะยิ่งได้รับผลกระทบหนัก ท้ายที่สุดคือทำให้ระบบนิเวศเสียหายจนยากจะรักษาให้กลับมาดีดังเดิมได้

เพจดังเปิดเอง "กระทง" ชนิดไหน สร้างหายนะให้สิ่งแวดล้อมหนักที่สุด