10 อันดับทำเลทอง ราคาที่ดินแพงสุด ใจกลางกรุงเทพฯ ปี 2567

เปิดสถิติ 10 อันดับที่ดินทำเลทอง ราคาที่ดินแพงสุดใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ปี 2567 เช็กมีที่ดินทำเลทองที่ไหนบ้าง

ทำเลทองในกรุงเทพฯ ราคาที่ดินกรุงเทพฯ เรียกว่ามีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการเปิดใช้รถไฟฟ้าในสายต่างๆ และปัจจัยอื่นๆ อาทิ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความต้องการที่อยู่อาศัยและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยล่าสุด หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,048 ได้เปิดเผย 10 ทำเลทองที่ดินราคาแพงสุดในกรุงเทพฯ ปี 2567

 

10 อันดับทำเลทอง ราคาที่ดินแพงสุด ใจกลางกรุงเทพฯ ปี 2567

โดย นายโสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด หรือ AREA ระบุว่า ราคาที่ดินใน กทม. โดยเฉพาะใจกลางเมือง แนวเส้นทางรถไฟฟ้า มีแนวโน้มปรับขึ้นต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจชะลอตัวก็ตาม โดยทำเลทองอย่าง "สยามสแควร์ ชิดลม เพลินจิต" ครองแชมป์ราคาที่ดินสูงสุด และปรับตัวขึ้นทุกปี โดยในปี 2567 ปรับเพิ่มเป็นตารางวาละ 3.7 ล้านบาท เนื่องจากเป็นย่านธุรกิจแหล่งงานขนาดใหญ่ และแหล่งรวมค้าปลีกสำคัญของ กทม.

 

10 อันดับทำเลทอง ราคาที่ดินแพงสุด ใจกลางกรุงเทพฯ ปี 2567

สถิติ 10 อันดับ ทำเลที่ดินราคาแพงสุดในกรุงเทพฯ


อันดับ 1 สยาม-เพลินจิต-ชิดลม ปี 2566 ราคาตารางวาละ 3.6 ล้านบาท ปี 2567 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 3.75 ล้านบาท 


อันดับ 2 วิทยุ ปี 2566 ราคาตารางวาละ 2.95 ล้านบาท ปี 2567 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 3.10 ล้านบาท 


อันดับ 3 สุขุมวิท-ไทม์สแควร์ ปี 2566 ราคาตารางวาละ 2.80 ล้านบาท ปี 2567 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 2.94 ล้านบาท 


อันดับ 4 สุขุมวิท 21 อโศก ปี 2566 ราคาตารางวาละ 2.60 ล้านบาท ปี 2567 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 2.73 ล้านบาท 


อันดับ 5 สีลม ปี 2566 ราคาตารางวาละ 2.55 ล้านบาท ปี 2567 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 2.70 ล้านบาท 


อันดับ 6 สาทร ปี 2566 ราคาตารางวาละ 2.25 ล้านบาท ปี 2567ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 2.40 ล้านบาท 


อันดับ 7 สุขุมวิท เอกมัย ปี 2566 ราคาตารางวาละ 1.85 ล้านบาท ปี 2567 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1.95 ล้านบาท 


อันดับ 8 เยาวราช ปี 2566 ราคาตารางวาละ 1.80 ล้านบาท ปี 2567ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1.90 ล้านบาท 


อันดับ 9 พญาไท ปี 2566 ราคาตารางวาละ 1.75 ล้านบาท ปี 2567 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1.85 ล้านบาท 


อันดับ 10 พหลโยธินตอนต้น ปี 2566 ราคาตารางวาละ 1.70 ล้านบาท ปี 2567 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1.80 ล้านบาท

 

ขอบคุณ หน้า 20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,048 วันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567