- 24 ธ.ค. 2567
โรคแพนิคคืออะไร (Panic Disorder) โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่า โรคตื่นตระหนก ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และมีความกังวลว่าจะเป็นขึ้นมาอีก
โรคแพนิคคืออะไร (Panic Disorder) หลังล่าสุด นางงามชื่อดัง เกิด แพนิค กลางเวที หลังมีคนบุกขึ้นมาเซลฟี่แบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งข้อมูลจาก โรงพยาบาลพระราม 9 ได้เผยว่า
โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร ?
โรคแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่า โรคตื่นตระหนก ผู้ที่เป็นมักมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก แบบไม่คาดคิดมาก่อน และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และมีความกังวลว่าจะเป็นขึ้นมาอีก
อาการของโรคแพนิค
ท่านสามารถประเมินตนเองเบื้องต้นได้จากแบบทดสอบนี้ ว่ามีความกลัววิตกกังวลหรือความอึดอัดไม่สบายใจอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีอาการในหัวข้อต่อไปนี้ ตั้งแต่ 4 อาการขึ้นไป ซึ่งอาการในหัวข้อดังกล่าว
- ใจสั่น ใจเต้นแรง หรือใจเต้นเร็วมาก
- เหงื่อแตก
- ตัวสั่น มือเท้าสั่น
- หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจขัด
- รู้สึกอึดอัด หรือแน่นอยู่ข้างใน
- เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก
- คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน
- วิงเวียน โคลงเคลง มึนตื้อ หรือเป็นลม
- ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่น ร้อนวูบวาบ เหมือนจะเป็นไข้
- รู้สึกชา หรือรู้สึกซ่า ๆ (paresthesia)
- รู้สึกเหมือนสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงไป (derealization หรือ depersonalization)
- กลัวคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวเป็นบ้า
- กลัวว่าตนเองกำลังจะตาย
ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค จะมีอาการที่เรียกว่า “panic attack” นั่นก็คือกลุ่มอาการตามที่ปรากฎอยู่ในแบบทดสอบข้างต้นตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไป โดยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างคาดการณ์ไม่ได้ และมีอาการอื่น ๆ ต่อเนื่องจากอาการเหล่านั้น เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน (หรือมากกว่า) ดังต่อไปนี้
- กังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นอีกอยู่ตลอดเวลา
- กังวลว่าอาจเกิดโรคร้ายแรงหรือกังวลเกี่ยวกับผลติดตามมา (เช่น คุมตัวเองไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ เป็นบ้า เป็นต้น)
- พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวจะเกิดอาการขึ้น หรือไม่กล้าใช้ชีวิตประจำวันตามปกติที่เคยทำเป็นประจำ
เนื่องจากการเกิดอาการอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่นได้หลายอย่าง เช่น อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น จึงจำเป็นต้องตรวจร่างกายเพื่อค้นหาโรคทางด้านร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุให้มีอาการนั้น ๆ ก่อน เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ หรือ ส่งเจาะเลือดวัดระดับไทรอยด์ เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ แม้ว่าผลการตรวจร่างกายปกติดี ก็ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) เนื่องจากว่ายังมีโรคทางจิตเวชอื่นๆ สามารถเกิดอาการ panic attack ได้เช่นกัน ได้แก่
Cr.praram9.com