- 24 พ.ค. 2567
โรคแพนิค เป็นภาวะตื่นตระหนกที่ผู้ป่วยจะรู้สึกกังวลและกลัว โดยโรคดังกล่าวเป็นโรคที่ไม่อันตราย หากได้รับการรักษาและมีวิธีการรับมือที่เหมาะสม
ทำความเข้าใจ โรคแพนิค รับมืออย่างไรให้เวิร์ค
ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเราอีกต่อไป เพราะด้วยสภาพแวดล้อมในสังคมเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ได้ โรคแพนิคถือเป็นอีกหนึ่งภาวะทางสุขภาพจิตที่หลายคนกำลังเผชิญ วันนี้จึงจะขอพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความเข้าใจกับโรคแพนิคเบื้องต้น ตั้งแต่สาเหตุ อาการโดยเบื้องต้น พร้อมวิธีการรับมือดูแลตนเองที่ควรทราบในบทความนี้เท่านั้น
โรคแพนิค คืออะไร?
โรคแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกตื่นตระหนกกระวนกระวายใจ รวมไปถึงเกิดความรู้สึกกลัว ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ที่เป็นโรคแพนิค เพราะอาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 10 นาที โดยเมื่อกล่าวจากสถิติแล้วโรคแพนิคมักเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ที่สำคัญยังพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย และวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอีกด้วย
สงสัยไหมว่าสาเหตุของโรคแพนิค เกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคแพนิคเกิดจากการทำงานของสมองและระบบประสาทที่ผิดปกติ ทำให้สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุลขึ้น นอกจากทางด้านร่างกายแล้ว การเกิดโรคแพนิคยังสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ด้วย เช่น การได้รับสารเสพติด สารเคมีต่าง ๆ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคแพนิคได้เช่นกัน รวมถึงสภาพแวดล้อมภายในสังคม การใช้ชีวิตประจำวันที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจจนนำไปสู่ความตื่นตระหนก กระวนกระวายใจ ความหวาดกลัวได้
เช็คลิสต์ โรคแพนิคมีอาการอะไรบ้าง?
อาการของโรคแพนิค มีดังต่อไปนี้
- หัวใจเต้นแรง
- เกิดความรู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง
- มีอาการแน่นหน้าอก รวมไปถึงเกิดอาการใจสั่น
- วิงเวียนศีรษะ รู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม
- หายใจถี่มากยิ่งขึ้น
- มีเหงื่อออกมาผิดปกติ
- มือเท้าสั่น ในบางรายเกิดอาการตัวสั่น ตัวชา
สงสัยโรคแพนิค อย่าปล่อยไว้ รีบปรึกษาจิตแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง รับยาได้ถึงบ้าน
โรคแพนิคอันตรายไหม รักษาหายได้หรือเปล่า?
หลายคนอาจจะกังวลว่าโรคแพนิคนั้นอันตราย แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคแพนิคเป็นโรคที่ไม่อันตราย และไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิต ซึ่งโรคแพนิคสามารถรักษาให้หายได้ หากมีการเข้าพบจิตแพทย์และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่หยุดยา หรือเพิ่มปริมาณยาด้วยตนเอง ที่สำคัญหากคนไข้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือมีการทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย ก็จะช่วยให้อาการป่วยจากโรคแพนิคดีขึ้น
เมื่อเป็นโรคแพนิคต้องดูแลตัวเองอย่างไร
สำหรับผู้ที่เป็นโรคแพนิคหรือมีคนรู้จักใกล้ชิดกำลังเผชิญอยู่กับโรคดังกล่าว คงสงสัยกันไม่น้อยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วควรดูแลตนเองอย่างไร เพื่อให้อาการโรคแพนิคนั้นดีขึ้น โดยเราได้สรุปรวบรวมวิธีการดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคแพนิค ดังต่อไปนี้
- ควรเข้ารับการรักษาตามที่แพทย์นัดหมาย และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยไม่ควรเพิ่มขนาดยาหรือหยุดยาด้วยตนเอง
- หมั่นออกกำลังกาย และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
- นอนหลับพักผ่อนในแต่ละวันให้เพียงพอ
- ฝึกการหายใจ
- ปรับวิธีการคิด มองโลกในแง่บวก หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เพื่อช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย
สรุปโรคแพนิค ภาวะทางใจที่ต้องดูแลรักษา
โรคแพนิคเป็นอีกหนึ่งภาวะทางสุขภาพจิตที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ที่สำคัญโรคแพนิคเป็นโรคที่ไม่อันตรายและสามารถรักษาให้หายได้ โดยควรเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ตามที่นัดหมาย หมั่นดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนวิธีคิด รวมไปถึงรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและไม่ควรหยุดยาด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตามท่านใดมีอาการเบื้องต้นคล้ายกับเช็กลิสต์อาการที่ได้กล่าวไปข้างต้น และเกิดความไม่สบายใจ รู้สึกอาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำว่าควรรีบนัดหมายเพื่อปรึกษาจิตแพทย์ผ่านแอปพลิเคชัน BeDee แพลตฟอร์มที่ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต
รวมไปถึงการนัดหมายแพทย์ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา มีทั้งจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกให้เลือกปรึกษา มีปัญหาด้านจิตใจ ความเครียด Burnout จากการทำงาน ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่มีกำลังใจ หรือปัญหาอื่น ๆ สามารถปรึกษาได้ทุกวันจนถึง 23.00 น. สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง ดาวน์โหลด BeDee คลิก https://bit.ly/4btcZSY