"หมอเจด" เผย ทำตาม5ข้อ ทั้งผอม - ลดเสี่ยงไขมันพอกตับ หลายคนไม่รู้

"หมอเจด" นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา เผย ทำตามนี้ทั้งผอม ลดเสี่ยงไขมันพอกตับ ทำง่าย แต่หลายคนไม่รู้!

"หมอเจดนพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ได้ออกมาโพสต์ข้อความล่าสุดระบุว่า 

ชีวิตยุคนี้อะไรก็มันเร็วไปหมด ทั้งงาน ทั้งการเดินทาง หรือแม้แต่ตอนกินข้าว หลายคนเผลอกินแบบ เร็วๆ รีบๆ
จนไม่ทันสังเกตเลยว่า พฤติกรรมเล็กๆ นี้กำลังพาเราเข้าใกล้โรคอ้วน และ “ไขมันพอกตับ” มากขึ้นทุกวัน
เดี๋ยวอธิบายให้ฟังนะว่าล ทำไมการ "กินเร็ว" ถึงเป็นภัยเงียบ และแชร์ทริคทำยังไง ถึงช่วยให้เราผอมลง และลดความเสี่ยงโรคได้จริงจัง

หมอเจด เผย ทำตาม5ข้อ ทั้งผอม - ลดเสี่ยงไขมันพอกตับ หลายคนไม่รู้ หมอเจด เผย ทำตาม5ข้อ ทั้งผอม - ลดเสี่ยงไขมันพอกตับ หลายคนไม่รู้

1. กินเร็ว = อ้วนง่าย สมองยังไม่ทันรู้ว่าอิ่ม!
การกินเร็ว ไม่ได้แค่ “รีบ” แต่กำลังเป็นการขัดขวางระบบควบคุมความหิวและอิ่มในร่างกาย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการสะสมไขมันและน้ำหนักตัว
ลองนึกภาพแบบนี้ครับ
เวลาที่เรากินอาหาร ร่างกายจะส่งสัญญาณไปยังสมองผ่านทาง ฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอิ่ม เช่น
•เกรลิน (Ghrelin) ฮอร์โมนกระตุ้นความหิว หลั่งมากก่อนกินอาหาร
•เลปติน (Leptin) ฮอร์โมนที่หลั่งจากเซลล์ไขมัน ทำหน้าที่บอกสมองว่า "อิ่มแล้ว"
•GLP-1 และ PYY ฮอร์โมนที่ลำไส้เล็กหลั่งออกมาหลังรับอาหาร ช่วยลดความอยากอาหารและเพิ่มความรู้สึกอิ่ม
กระบวนการทั้งหมดที่พูดมาใช้เวลา ประมาณ 15-20 นาที กว่าสมองจะรับว่า “หยุดกินได้แล้ว”
ถ้าเรากินเร็ว – ใช้เวลาแค่ 5-10 นาทีหมดจาน
สมองยังไม่ทันได้สัญญาณเหล่านี้เลย แต่พลังงานเข้าไปแล้ว 2-3 เท่าของที่ร่างกายต้องการ
ผลลัพธ์คือ กินเกินโดยไม่รู้ตัว ทำให้พลังงานส่วนเกินถูกเก็บเป็นไขมัน และน้ำหนักขึ้นแน่นอน
นอกจากนี้ การกินเร็วๆ ยังมีอีกหลายผลกระทบที่เกี่ยวกับการเพิ่มน้ำหนัก

  • กระตุ้นพฤติกรรมการกินมากเกิน (Overeating behavior)

เมื่อสมองขาดเวลารับรู้ เราจะเกิดความรู้สึกว่า “ยังไม่อิ่ม” ทั้งที่จริงๆ ปริมาณอาหารเพียงพอแล้ว → ทำให้กินเกินความต้องการโดยไม่รู้ตัว

  • เสพติดความรู้สึกพึงพอใจระยะสั้นจากรสชาติ

คนที่กินเร็ว มักกินเพื่อความอร่อยมากกว่าความอิ่ม → ระบบประสาทหลั่งโดพามีนจากความพึงพอใจนั้นมากขึ้น จนกลายเป็น “กินตามใจ ไม่ได้กินตามความต้องการของร่างกาย”

  • กินเร็วสัมพันธ์กับ BMI ที่สูงขึ้นในหลายการศึกษา

มีหลายงานวิจัยพบว่า คนที่รายงานว่าตนเอง “กินเร็ว” มีค่า BMI เฉลี่ยสูงกว่าคนที่กินช้า 2-3 หน่วย และมีรอบเอวมากกว่าด้วย
(อ้างอิงจากงานวิจัยใน Journal of the American Dietetic Association และ Clinical Nutrition)

2. กินเร็ว = เสี่ยง ไขมันพอกตับ มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ไม่ใช่แค่อ้วน แต่การกินเร็วยังสัมพันธ์กับ “ไขมันพอกตับ” อย่างชัดเจนครับ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์แต่มีไขมันสะสมในตับอยู่ดี
ขออ้างอิงงานวิจัยสำคัญชื่อ
"Association between fast eating speed and metabolic dysfunction-associated steatotic liver disease"
ของ Zhang และคณะ (2023)
ซึ่งศึกษาในหลายพันคน และพบว่า

  • คนที่กินเร็ว มีโอกาสเป็น ไขมันพอกตับ มากกว่าคนที่กินช้าประมาณ 30-50%
  • มีแนวโน้ม BMI และรอบเอวสูงกว่า
  • เอนไซม์ตับ (เช่น ALT, AST) สูงขึ้น แปลว่าตับกำลังอักเสบแบบเรื้อรัง

แล้วมันเกิดขึ้นได้ยังไง?
กินเร็ว → น้ำตาลในเลือดพุ่งไว → อินซูลินหลั่งเยอะ → เก็บไขมันเข้าตับ
•ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง → ไขมันสะสมที่ตับมากขึ้น
•ตับอักเสบเรื้อรัง → เสี่ยง “ตับแข็ง” หรือแม้แต่มะเร็งตับ
เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ “อ้วนลงพุง” แต่เป็นเรื่องของ สุขภาพตับระยะยาว เลยนะ

3. การกินช้า = ลดการดื้อต่ออินซูลิน คุมน้ำหนักได้ดีขึ้น
เวลาที่เรากินช้า เคี้ยวนาน (เช่น 30 วินาทีต่อคำ) จะทำให้การดูดซึมกลูโคสจากอาหารเข้าสู่เลือด
“ช้าลง” ซึ่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้พุ่งแบบรวดเร็ว
ผลก็คือ
•อินซูลินไม่หลั่งมากเกิน
•ร่างกายไม่เร่งเก็บพลังงานเป็นไขมัน
•ลดความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน (ซึ่งนำไปสู่เบาหวานชนิดที่ 2)

4. เคี้ยวนานขึ้น ระบบย่อยแข็งแรง กรดไหลย้อนก็ลดลง
การกินเร็วไม่ใช่แค่ทำให้อ้วน แต่มักตามมาด้วยปัญหาย่อยยาก ท้องอืด กรดไหลย้อน และแม้แต่ ลำไส้แปรปรวน (IBS)
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?
เพราะอาหารที่ยังไม่ถูกเคี้ยวละเอียด จะกดดันให้กระเพาะทำงานหนักขึ้น ต้องหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น → เสี่ยงกรดไหลย้อน และระบบลำไส้ระคายเคืองมากขึ้น
ในขณะที่ถ้าเรากินช้า เคี้ยวนาน
•เอนไซม์ในน้ำลายเริ่มย่อยอาหารตั้งแต่ในปาก
•ลดภาระของกระเพาะและลำไส้
•ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น

5. เทคนิคง่ายๆ ที่ทำให้คุณ “กินช้าลง” ได้จริงในชีวิตประจำวัน
อยากให้สุขภาพดีขึ้น ไม่ต้องเริ่มจากอะไรยากครับ
ลองแค่ เปลี่ยนวิธีกิน แบบนี้ก่อน

  • เคี้ยวอย่างน้อย 15-30 ครั้งต่อคำ
  • กินแต่ละมื้อให้ใช้เวลา อย่างน้อย 20 นาที
  • “วางช้อน” ทุกครั้งหลังกลืน รอให้เคี้ยวหมดก่อนค่อยตักคำใหม่
  • เลี่ยงการดูมือถือหรือทีวีระหว่างกิน เพื่อให้เรารู้ตัวว่า "อิ่มแล้ว"
  • ใช้ตะเกียบ หรือช้อนเล็ก ช่วยให้ตักคำเล็กลงและกินช้าลงอัตโนมัติ
  • เพิ่มผักและไฟเบอร์ในจาน ช่วยให้อิ่มไว อิ่มนาน ไม่ต้องพึ่งของหวานหรือแป้งเยอะ

จะเห็นว่าการกินเร็วไม่ใช่แค่เรื่องนิสัย แต่ส่งผลลึกไปถึงการทำงานของร่างกาย
ตั้งแต่สมอง ระบบย่อยอาหาร ฮอร์โมน น้ำตาลในเลือด ไปจนถึง “ตับ”
เราอาจไม่ได้รู้ตัวว่าแค่ความรีบในชีวิตประจำวัน ทำให้เรากินเร็วขึ้นเรื่อยๆ
จนทำให้อ้วนง่ายขึ้น ดื้อต่ออินซูลิน ไขมันพอกตับ และเสี่ยงโรคเรื้อรังในระยะยาว

แต่ถ้าทำตามที่บอกไปข้างบน สุขภาพก็จะดีขึ้นครับ
ใครที่รู้ตัวว่ากินเร็วลองปรับดูนะครับ ส่วนใครมีคำถามก็คอมเมนตืไว้ได้เลยนะ

หมอเจด เผย ทำตาม5ข้อ ทั้งผอม - ลดเสี่ยงไขมันพอกตับ หลายคนไม่รู้ หมอเจด เผย ทำตาม5ข้อ ทั้งผอม - ลดเสี่ยงไขมันพอกตับ หลายคนไม่รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat