ตำนาน"ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า" เสือสุดกตัญญู เมื่อคนเลี้ยงตาย จึงตรอมใจแล้วโดดเข้ากองไฟตาม

ติดตามเรื่องราวดี ๆ อีกมากมายได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th

ศาลเจ้าพ่อเสือ

ประวัติ

ตำนาน\"ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า\" เสือสุดกตัญญู เมื่อคนเลี้ยงตาย จึงตรอมใจแล้วโดดเข้ากองไฟตาม

        ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า เป็นศาลที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย แต่เดิมตั้งอยู่ถนนบำรุงเมือง หลังจากการนั้นมีการขยายถนนในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงทำให้ต้องมีการย้ายศาลเจ้าพ่อเสือมาไว้ ณ บริเวณ ถนน ตะนาว จนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันศาลเจ้าพ่อเสือมีอายุมากกว่า 100 ปี และได้รับการคัดเลือกให้เป็นโบราณสถาน ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย ลักษณะอาคารสร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทางภาคใต้ของจีน องค์ประธานของศาลเจ้าพ่อเสือ คือ ตั๋วเหล่าเอี้ยหรือเจ้าพ่อใหญ่  เทพเจ้าตั่วเหล่าเอี๊ย หรือองค์เทพเฮี่ยงเทียนเสี่ยงตี่ นั้นเป็นที่นิยมของผู้คนให้พาไปกราบไหว้ขอพรกันอย่างเนืองแน่นในวันตรุษจีน (วันปีใหม่ของจีน) เพื่อให้มีโชคมีชัยตลอดทั้งปี ณ ศาลเจ้าพ่อเสือและยังมี เจ้าพ่อเสือซึ่งชาวจีนถือเป็นเทพศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องอภิบาลและปราบปรามศัตรู

             โดยศาลเจ้าพ่อเสือเดิม มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ปีที่ก่อสร้างตรงกับ พ.ศ. 2377 มีความเกี่ยวเนื่องกับวัดมหรรณพาราม ตามตำนานที่ได้เล่าขานเรื่องของ เจ้าพ่อเสือเล่ากันว่า ยายผ่องและนายสอน สองแม่ลูกที่มีชีวิตลำบาก ด้วยความยากจนทุกๆวันนายสอนจะต้องเข้าป่า ไปเก็บของป่ากลับมาให้มารดาเสมอ วันหนึ่งนายสอนได้ออกหาของป่าเหมือนทุกวันๆ แต่วันนี้ของกลับหายากจึงต้องเดินลึกเข้าไปในป่า เขาได้พบกับซากกวางพึ่งตายใหม่ๆ เขารู้ได้ทันทีว่าจะต้องมีเสือผู้เป็นเจ้าของซากกวางอยู่บริเวณนี้เป็นแน่ แต่ด้วยความกตัญญู นายสอนได้รำลึกถึงมารดา เขาอยากให้มารดาได้รับประทานเนื้อกวางนี้ จึงได้เข้าไปตัด ตัดมาได้ก้อนหนึ่งเสือที่ซุ่มอยู่ ได้กระโจนเข้ามากัดนายสอน ขย้ำได้แขนของนายสอนไปข้างหนึ่งและกระโจนจากไป นายสอนจึงค่อยตะเกียกตะกายกลับไปหามารดา แม้จะบาดเจ็บสาหัสแต่ด้วยใจที่รำลึกถึงมารดา เขาได้พาตัวเองกลับมาถึงบ้านได้ เมื่อยายผ่องผู้เป็นมารดาเห็นสภาพบุตรชาย จึงรีบถลาเข้ามา นายสอนเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้ฟังจากนั้นจึงสิ้นใจ ยายผ่องโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมากได้นำเรื่อง

ตำนาน\"ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า\" เสือสุดกตัญญู เมื่อคนเลี้ยงตาย จึงตรอมใจแล้วโดดเข้ากองไฟตาม

ไปแจ้งแก้นายอำเภอเพื่อให้ช่วยตามเสือร้ายนั้นมาลงโทษ นายอำเภอเห็นใจและรวมตัวกับปลัดไปออกตามหาเสือร้ายตัวนั้น หาเท่าใดๆก็ไม่พบ ปลัดจึงไปยังวัดมหรรณพาราม ไปอธิษฐานหลวงพ่อบุญฤทธิ์ และหลวงพ่อพระร่วง (พระประธานใหญ่ในวัดมหรรณพาราม )หลังจากนั้นปลัดได้พบเสือนอนหมอบให้จับอย่างง่ายดาย

ตำนาน\"ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า\" เสือสุดกตัญญู เมื่อคนเลี้ยงตาย จึงตรอมใจแล้วโดดเข้ากองไฟตาม

        เมื่อจับเสือได้ จึงนำตัวมันมาตัดสินประหารชีวิตมัน เสือตัวนี้มิได้ขัดขืนแต่อย่างใดและน้ำตาได้ไหลรินออกมาจากนัยย์ตาเสือตัวนั้น จนยายผ่องเกิดความสงสารจึงขอให้ยกเลิกประหารชีวิตเสือตัวนี้ แล้วยายผ่องได้นำเสือตัวนี้มาเลี้ยงแทนบุตรชายที่เสียไป ซึ่งเสือตัวนี้ได้กลายเป็นเสือที่เชื่อง เชื่อฟังยายผ่องด้วยความรัก คอยเฝ้าบ้านเฝ้าเรือนให้ยายผ่อง เมื่อยายผ่องเสียชีวิตไป เจ้าเสือเกิดอาการตรอมใจและเมื่อเผาร่างของยายผ่อง เสือตัวนี้ได้กระโจนเข้าไปในกองไฟด้วยสำนึกใจคุณของยายผ่อง สร้างความสลดใจแก่ชาวบ้าน ชาวบ้านจึงร่วมใจกันสร้างศาล ข้างวัดมหรรณพาราม โดยปั้นรูปเสือไว้พร้อมนำเถ้ากระดูกของมันมาไว้ใต้แท่นและทำพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณเสือมาสถิตย์ไว้ เพื่อปกป้องคุ้มครองและสร้างความเจริญแก่ผู้นับถือ

ตำนาน\"ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า\" เสือสุดกตัญญู เมื่อคนเลี้ยงตาย จึงตรอมใจแล้วโดดเข้ากองไฟตาม

ขอขอบคุณภาพจาก เพจศาลเจ้าพ่อเสือ