- 09 ธ.ค. 2559
ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/
แม้ว่าละครนาคี จะลาจอไปแล้ว แต่ความติดตรึงใจในการดำเนินเรื่อง ฝีมือการแสดง และเทคนิคการถ่ายทำ ยังตราตรึงใจ จนมีการขุดคุ้ย เอาเกร็ดความรู้เกี่ยวกับพญานาคขึ้นมาจนเป็นกระแสอีกครั้งโดยเฉพาะเรื่องความรักระหว่างคนกับนางนาค ที่เป็นตำนานและนิทานประจำท้องถิ่น ได้ยินได้ฟังมาแต่รุ่นปู่ย่า
วันนี้ทางทีมข่าวปัญญาญาณทีนิวส์ เลยพาไปตามรอยนาคี โดยเริ่มต้นที่ ศาลาแก้วกู่ จ.หนองคาย อีกจังหวัดที่ชาวเมืองเชื่อกันว่าเป็นลูกหลานพญานาค เป็นผืนแผ่นดินที่เคารพบูชาพญานาคกันอย่างกว้างขวาง เราจะพาไปรู้จักกับตำนานของลาว เรื่องราวของเจ้าแม่แอไค่ พร้อมนำรูปภาพเทวรูปเจ้าแม่ มาให้ชมกัน
(เทวรูปเจ้าแม่นาคี จากละครนาคี และเทวรูปเจ้าย่าทวดแอไค่)
สำหรับที่มาของเทวรูปพระนางแอไค่ ศาลากู่แก้ว มีที่มาว่า
เทวารูปปางนี้คือ พระเจ้าย่าทวดแอไค่ (พระอุมาหรือพระสันติ) เป็นพระบรมราชินีของนาคพิภพ
ตามวรรณคดีของอิสานกล่าวว่า ตอนพระนางแอไค่ กับขุนเทือง รักสู่กัน อยู่ที่อุทยานสวนดอกไม้
จากนั้นพระนาง แอไค่ได้นำขุนเทือง ออกจากอุทยานสวนดอกไม้ ไปยังพิภพนาค
ตามกฏมณเฑียรบาล ของนาคพิภพ แล้วมนุษย์กับนาคจะอยู่ร่วมกันไม่ได้
ดังนั้นพระนางแอไค่ จึงนำเอาขุนเทืองไปซ่อนไว้ในปรางปราสาท เขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ ดาวดึงส์พิภพ
พระนางแอไค่ได้พะเน้าพะนอสมสู่กับขุนเทืองนาน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จนทำให้พระนางแอไค่ลืมเหตุแห่งกาลของตน (กาลสงกรานต์)
ดังนั้นดินฟ้าอากาศเกิด แห้งแล้ง จึงทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่วทั้งสามโลก
จากนั้นพระนางแอไค่จึงได้สำนึกตน รู้ว่าพระนางทำผิดกฏมณเฑียรบาล ของสามโลก
พระนางแอไค่ได้บอกความจริงต่อขุนเทือง แล้วพระนางแอไค่จึงลงมาเล่นน้ำ และยังสั่งขุนเทืองไว้ว่า อย่าได้เปิดหน้าต่างหรือเปิดประตู ดูตอนพระนางแอไค่เล่นน้ำ
พอสั่งแล้วพระนางแอไค่พร้อมบริวาร ก็ได้แหนแห่ไปเล่นน้ำปฐพีเบื้องล่าง เสียงดังตู้มๆ สะเทือนทั่วแดน
ขุนเทืองท้าว ได้ยินเสียง แตกต่างเลยเปิดประตูหน้าต่างมามองดู จึงเชื่อว่าพระนางแอไค่เมียตน เป็นนาคนาโค ตามวรรณคดี ของภาคอิสาน มาจนทุกวันนี้
...ชาวสำนักพุทธมามกสมาคม และท่านผู้ใจบุญที่มาเที่ยว เป็นผู้ออกศรัทธาสร้างปางนี้
เรื่องพระนางแอไค่ จากเว็บ ศาลากู่แก้ว อุทยานเทวาลัย ( https://sala-saeoku.blogspot.com/)
ในส่วนเรื่องราวของนางนาค สังวาสกับคนนั้น ตำนานในฝั่งขอม ก็มีอยู่เช่นกัน โดย “ทิพยจักร” นักเขียนแนวจิตวิญญาณ และประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ได้เล่าเรื่องราวไว้ที่ เฟซบุ๊ค “Jaruvat Chanposri” เนื้อความว่า
ตำนานนาคสังวาสกับคน
ตำนานประมาณนี้ผมได้พบว่าเป็นเรื่องที่มีมาแต่สมัยบาบิโลน โดยเชื่อกันว่ากษัตริย์ของบาบิโลนต้องเข้าไปเสพสังวาสกับเทวีอิชตาร์หากทำให้นางพึงพอใจกษัตริย์ผู้นั้นก็ย่อมได้รับการยอมรับแต่หากนางไม่ได้รับความพึงพอใจกษัตริย์ผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไป
เช่นกันกับตำนานขอม กล่าวว่าใน พุทธศตวรรษที่ ๑๐ นั้น พราหมณ์โกญธัญญะจากอินเดียได้เดินทางมาครองอาณาจักรขอมแห่งนี้ ได้สร้างแบบแผนของราชสำนักตามอย่างอินเดีย ซึ่งมีตำนานเล่าถึงราชวงศ์ขอมไว้ว่า
ราชวงศ์ขอมนั้นเกิดจากพราหมณ์คนหนึ่งสมสู่กับนางนาค ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาค ที่ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชนชาติขอม
จากจุดนี้มีตำนานที่สืบเนื่องจากจดหมายเหตุของชาวจีนในพ.ศ.๑๘๙๓ เขียนบรรยายไว้ว่ากษัตริย์ของขอมต้องเข้าไปทำพิธีเสพสังวาสกับภูติที่มีศีรษะเป็นงูเก้าหัว ภูติตนนี้คือนางนาคผู้เป็นเจ้าแห่งอาณาจักร
นางนาคจะปรากฏกายในรูปของสาวงามเพื่อสังวาสกับกษัตริย์ขอม กษัตริย์ของจะเข้าไปสู่ปราสาททองคำและขึ้นไปสู่บนยอดปราสาทเพื่อร่วมหลับนอนกับนางนาค ต้องทำเช่นนี้ทุกคนขาดมิได้แม้สักคืนเดียว เมื่อพ้นสองยามไปแล้วกษัตริย์ขอมจึงสามารถออกจากปราสาทเพื่อร่วมหลับนอนกับมเหสีองค์อื่นได้
หากเมื่อใดก็ตามนางนาคภูติงูเก้าเศียรไม่ปรากฏกายเมื่อนั้นหมายถึงอายุขัยแห่งกษัตริย์ขอมพระองค์นั้นหมดลงแล้ว และเมื่อใดกษัตริย์ขอมไม่ไปเสพสังวาสกับนางนาคเมื่อนั้นกษัตริย์ขอมย่อมมีอันเป็นไป
นางนาคหรือพญานาคผู้มีศีรษะเป็นงูเก้าเศียรนี้ จะถูกยกให้เป็นแม่เจ้าอยู่หัว เป็นสตรีศักดิ์สิทธิ์ นางมิใช่คนหากแต่เป็นภูติผู้มีอำนาจบันดาลความร่มเย็นความอุดมสมบูรณ์ความแข็งแกร่งแห่งกองทัพ
ตำนานของสตรีผู้อยู่เหนือบัลลังค์ช่างน่าสนใจจริงๆนะครับ
ข่าวโดย : ไญยิกา เมืองจำนง (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)