สักการะบูชา "ศาลหลักเมือง" เพื่อความก้าวหน้าในชีวิต และร่วมจิตอธิษฐานส่งแรงใจ ให้คนไทยทั้งประเทศ !

การบูชาสักการะ ศาลหลักเมือง เพื่อให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่างๆ

 มีความเชื่อมาช้านานแล้วว่าหากอยากเจริญในหน้าที่การงานต้องไปสักการบูชาศาลหลักเมือง

              มีคำบอกเล่าจากปู่ย่าตายายมาช้านานแล้วว่า ถ้าอยากที่จะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็ต้องไปสักการบูชาศาลหลักเมือง และในโอกาสปีใหม่ขอถือโอกาสไปไหว้พระศาลหลักเมือง เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย

                 ในหน้าที่การงาน การเงิน ค้าขาย และ ชีวิตความเป็นอยู่ให้เจริญรุ่งเรือง

ศาลหลักเมือง

              สำหรับศาลหลักเมืองกรุงเทพฯนั้น สืบเนื่องมาจากประเพณีโบราณในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธีการยกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น เป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกรสำหรับยึดถือทางจิตใจว่าบ้านเมืองที่สร้างขึ้นนั้น มีรากฐานฝังไว้อย่างแน่นอนแล้ว ให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขรุ่งเรืองสถาพรตลอดไป

การมาไหว้พระศาลหลักเมืองก็จะมาไหว้กันได้ทุกวัน แต่ถ้าเป็นคนเฒ่าคนแก่โบราณเขาก็จะถือกันว่าวันไหนเป็นวันโลกาวินาศก็จะไม่ออกมาไหว้กัน สิ่งของหลักๆ ที่ใช้ไหว้พระศาลหลักเมืองก็คือ ธูป เทียน แผ่นทอง พวงมาลัย 2 พวง (ไว้บูชาทั้งด้านนอกที่จุดธูปเทียนและด้านในพระหลักเมือง) ดอกบัว และผ้าสี

เครื่องสักการะบูชา

 

- การจุดธูปเทียนบูชานั้นเขาจะจัดสถานที่ไว้บูชาด้านนอก รวมไปถึงผู้คนที่ชอบการเสี่ยงทายทำนายชีวิต เขาก็มีเซียมซีไว้ให้เสี่ยงทายถามหาเลขเด็ด เฮ้ย!!! ถามหาเรื่องราวชีวิตทุกข์สุขทั่วๆ ไป

- การที่ผูกผ้าสีกับพระศาลหลักเมืองเพราะมีความเชื่อในสมัยโบราณว่า ตามต้นไม้มักจะมีรุกขเทวดาอาศัยอยู่ชาวบ้านที่เคารพก็มักจะเอาผ้าสีมาผูก พระหลักเมืองก็ทำมาจากไม้ เราจึงยึดถือธรรมเนียมประเพณีมาแต่โบราณ

- พระหลักเมืองจะมีแท่นและคำบูชาด้วยกันทั้งหมด 4 ด้าน รวมไปถึงตู้บริจาคเงิน ด้านข้างมีตู้จัดแสดงสิ่งของที่ขุดพบบริเวณศาลหลักเมืองในการปฏิสังขรณ์ เมื่อพ.ศ. 2527

นอกจากพระหลักเมืองแล้ว บริเวณศาลหลักเมืองยังมีเทพารักษ์ผู้พิทักษ์ให้ความร่มเย็นแก่บ้านเมืองอีก 5 องค์ด้วยกัน คือ

 

พระเสื้อเมือง

พระเสื้อเมือง

มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน

-

พระทรงเมือง

พระทรงเมือง

มีหน้าที่รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี

-

พระกาฬไชยศรี

พระกาฬไชยศรี

เป็นบริวารพระยมมีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก

-

 เจ้าพ่อเจตคุปต์

 เจ้าพ่อเจตคุปต์

เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไปและอ่านประวัติผู้ตายเสนอพระยม

เจ้าพ่อหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน เกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูมาประชิดพระนคร

คำบูชาศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

 

วิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 5 จุด ใน ศาลหลักเมือง

จุดที่ 1 หอพระพุทธรูป

มาถึงให้ไปกราบไหว้พระพุทธรูป ในหอพระพุทธรูปกันก่อน ถวายดอกบัวด้วยก็ได้ หรือจะใส่บาตรพระประจำวันเกิดก็ตามสะดวก

จุดที่ 2 องค์พระหลักเมืองจำลอง

เสร็จจากหอพระพุทธรูปแล้วค่อยเดินไปซื้อ ชุดสักการะ ธูป เทียน พวงมาลัย ผ้าแพรสี ที่จุดจำหน่าย ครบชุดก็ราคา 60 บาท

จุด ธูป เทียน ไหว้พระหลักเมืองจำลอง ตามคำกล่าวบูชาตามรูปด้านล่าง ซึ่งป้ายนี้ส่วนใหญ่จะโดนคนมาสักการะบัง เซพรูปด้านบนนี้ไว้ในมือถือ เพื่อจะได้ไม่ต้องชะเง้อป้าย ก็สะดวก ไหว้เสร็จก็ไปปิดทอง ส่วนพวงมาลัยดาวเรืองให้เก็บไว้ถวายที่จุดที่ 3

จากนั้นก็ผูกผ้าแพรสี 3 สี ที่ องค์พระหลักเมืองจำลอง หลักไหนก็ได้ตามสะดวก วิธีผูกให้ผูกผ้าแพรสี 3 สีพร้อมกันไปเลย ไม่ต้องแยกทีละสี

จุดที่ 3 องค์พระหลักเมืององค์จริง

ภายในเราจะไม่สามารถจุดธูป เทียนได้ ให้นำพวงมาลัยไปถวายแทน 1 พวง

จุดที่ 4 หอเทพารักษ์ทั้ง 5

กราบไหว้ด้วยการถวายพวงมาลัย 5 พวง

ที่ 5 เติมน้ำมันพระประจำวันเกิด และสะเดาะเคราะห์

                ทางศาลหลักเมือง เขาจัดไว้สองจุด น่าจะเพื่อความสะดวก ให้เทน้ำมัน เพียงครึ่งขวด ตามพระประจำวันเกิดของเราก่อน แล้วอีกครึ่งขวดที่เหลือ เทที่ตะเกียงสะเดาะเคราะห์

สักการะบูชา \"ศาลหลักเมือง\" เพื่อความก้าวหน้าในชีวิต และร่วมจิตอธิษฐานส่งแรงใจ ให้คนไทยทั้งประเทศ !

                 การมาไหว้พระศาลหลักเมืองอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการยกองค์พระเสี่ยงทาย ในการยกพระนั้นมีขั้นตอนอยู่ว่า ผู้ยกองค์พระจะต้องตั้งจิตอธิษฐานให้เป็นสมาธิ ตั้งนะโม 3 จบ จากนั้นให้ระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาล ขอพรให้การยกพระเสี่ยงทายครั้งนี้จงสัมฤทธิ์ผลดังที่ตั้งใจไว้ สอบถามในสิ่งที่ต้องการ แล้วอธิษฐานให้องค์พระหลักหรือเบาก็ได้ ที่สำคัญไม่ควรยกเกินกำลัง

                ตรงข้ามกับศาลายกพระเสี่ยงทายเป็นโรงลิเก แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าที่ศาลหลักเมืองเขาจัดงานวัด เพราะที่เขาจัดแสดงนั้นเป็นการรำแก้บนไว้ให้ผู้ที่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ขอได้กลับมาแก้บนกัน หากท่านได้บนบานไปแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องนึกถึงไว้ตลอดคือ

            - ถ้าบนแล้วสำเร็จ ต้องรีบกลับไปแก้บนอย่างรวดเร็วที่สุด และทำตามที่บนบอกไว้ทุกอย่างค่ะ จะตัดทอน ขอลดโน่นลดนี่ไม่ได้

            -สัญญากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ยังไง ต้องทำให้ได้อย่างงั้น มิฉะนั้น จะต้องธรณีศาล คือชีวิตหาความเจริญก้าวหน้าไม่ได้ ไปอธิษฐานบนบานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นก็ไร้ผล

            - เมื่อบนเรื่องใดก็ตามไว้ที่ศาลใดศาลหนึ่ง หรือวัดใดวัดหนึ่งแล้ว อย่าเอาเรื่องเดียวกันไปบนไว้ที่อื่นอีก บางคนหมกมุ่นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาก เที่ยวตระเวนบนไว้เป็นสิบเป็นร้อยศาล พอสำเร็จขึ้นมา ไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของเจ้าองค์ไหน จำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าไปบนไว้ที่ใดบ้าง เป็นเหตุให้ไปแก้บนไม่ครบ แบบนี้ต้องธรณีสารเช่นกัน

            ในเรื่องของการบนบานศาลกล่าวนั้น เป็นความเชื่อส่วนบุคคล บางคนติดนิสัยไปที่ไหนก็บนเอาไว้ไปทั่ว ซึ่งแม่หมอมองว่าไม่ค่อยดีนัก เราควรจะตั้งใจทำสิ่งที่เราต้องการและอาจจะบนบานขอพรเพื่อเสริมกำลังใจ มากกว่า บางครั้งอาจมีการหลงลืมกับสิ่งที่เคยได้ขอเอาไว้ จะเกิดผลร้ายตามมาได้ บางความเชื่อก็ว่าจะเกิดเหตุการณ์ประหลาดหรืออุบัติเหตุกับตัวเราและครอบ ครัว ของอย่างนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

 

            วิธีการแก้บนสำหรับผู้ที่ลืมว่าตนเองได้ทำการแก้บนไปแล้ว หรือยัง

             สำหรับคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ก่อน ให้ไปที่ศาลหลังเมือง  นำอาหารคาวหวานไป อาหารคาว 3 อย่าง เช่นไก่ต้ม 1 ตัว หมูสามชั้น 1 ชิ้น ปลานึ่ง 1ตัว จะเป็นปลาซาบะหรือปลากะพงก็ได้

ให้เตรียมเหมือนกันแบบนี้ 2 ชุด

             ผลไม้มงคล 5 อย่าง 2 ชุด เช่น กล้วยหอม มะพร้าว ส้ม แอปเปิ้ล องุ่น (ห้ามสับปะรด ระกำ รางสาด แตงโม)

             ผ้าแพร 5 สี 1 ชุด ช้างไม้ 1คู่ (เล็กๆก็ได้) พวงมาลัย (มะลิหรือดาวเรืองก็ได้) ธูปหอม 1 ห่อใหญ่ น้ำมันเติมตะเกียง เทียน 1 คู่ และที่ขาดไม่ได้คือ เหล้าขาว 1 ขวด (ฝากถวายแก้บน)

ให้แยกออกเป็นสองชุด...

                    ชุดแรก จุดธูป บอกกล่าวศาลหลังเมืองก่อนว่า

                   ข้าพเจ้าชื่อ...... ในวันนี้ได้เตรียมของมาไหว้มาถวายเจ้าพ่อหลักเมือง เพื่อขอให้ท่านเป็นตัวแทนในการเจรจา และนำส่งอาหารคาวหวานอีกชุดพร้อมเหล้าขาว ฝากไปส่งให้กับ เจ้าพ่อหรือเทพเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ข้าพเจ้าได้ไปกล่าวบนไว้ทุกที่ ที่สำเร็จในการบนก็ดี ไม่สำเร็จก็ดี ขอให้มารับไป เพราะตัวข้าพเจ้า ไม่สามารถไปแก้บนได้ เนื่องจากลืมว่าไปบนที่ไหนมาบ้าง ก็ขอโปรดให้อภัยในความหลงลืมที่ข้าพเจ้าจำไม่ได้ ก็ขออย่าได้ลงโทษกันเลย ขอของเซ่นไหว้นี้เป็นตัวแทนในการขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าบนแล้วลืม ที่จะมาแก้บน .....ต่อไปนี้จะไม่ลืมอีก....

              หลังจากนั้นก็ยกถวาย อีกชุดให้ท่านไป เมื่อเจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพฯ ท่านรับทราบแล้ว ท่านก็จะนำไปแจกจ่ายให้ด้วยญาณหยั่งรู้ของท่านเอง พอเสร็จแล้วก็นำผ้าแพรไปผูกที่ช่วงเอวขององค์่ท่าน อย่าไปมัดฐานหรือยอดโดยเด็ดขาด ปิดทอง เติมน้ำมันในตะเกียง แล้วนำพวงมาลัยไปที่ตัวศาลข้างใน ไปวางและกราบอีกครั้ง เสร็จแล้วให้ไปไหว้เทพอารักษ์ ที่อยู่ติดกันต่อไปครับ ตรงจุดนี้ให้นำส้ม 9 ลูกใส่จานไปถวายก็เพียงพอครับ ทำเพียงเท่านี้ เป็นอันเสร็จพิธี

 

 

จินต์จุฑา เรียบเรียง

ข้อมูลโดย : หนุ่มลูกทุ่ง  http://www.manager.co.th/  และ อาจารย์พีลองภูมิ /  http://www.traveleatenjoy.com/