"ความหมายและหัวใจของพระโพธิสัตว์" ผู้ที่ปราถนาเดินตามทางสายโพธิสัตว์จำเป็นต้องประพฤติเช่นนี้..

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th

\"ความหมายและหัวใจของพระโพธิสัตว์\" ผู้ที่ปราถนาเดินตามทางสายโพธิสัตว์จำเป็นต้องประพฤติเช่นนี้..

          พุทธศาสนิกชนชาวจีนจะรู้จักพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ในพระนามว่า กวนซีอิม หรือ กวนอิม ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต คือผู้เพ่งสดับเสียงแห่งโลก แต่โดยทั่วไปแล้วมักให้อรรถาธิบายเป็นใจความว่าหมายถึง พระผู้สดับฟังเสียงคร่ำครวญของสัตว์โลก (ที่กำลังตกอยู่ในห้วงทุกข์) คำว่ากวนซีอิมนี้พระกุมารชีวะชาวเอเชียกลางผู้ไปเผยแผ่พระศาสนาในจีนเป็นผู้แปลขึ้น ต่อมาตัดออกเหลือเพียงกวนอิมเท่านั้น เนื่องจากคำว่าซีไปพ้องกับพระนามของ จักรพรรดิถังไท่จง หรือ หลีซีหมิง นั่นเองประวัติ และ ตำนาน เจ้าแม่กวนอิม

\"ความหมายและหัวใจของพระโพธิสัตว์\" ผู้ที่ปราถนาเดินตามทางสายโพธิสัตว์จำเป็นต้องประพฤติเช่นนี้..

       เจ้าแม่กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ

\"ความหมายและหัวใจของพระโพธิสัตว์\" ผู้ที่ปราถนาเดินตามทางสายโพธิสัตว์จำเป็นต้องประพฤติเช่นนี้..

หน้าที่ของพระโพธิสัตว์

        หน้าที่ของพระโพธิสัตว์นั้นคือช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์กายทุกข์ใจจนถึงที่สุดคือข้ามพ้นวัฏสงสารถึงแดนเกษมคือพระนิพพานเป็นที่สุด การช่วยเหลือของพระโพธิสัตว์จึงเป็นไปด้วยเมตตา กรุณา ปัญญาอุบาย พร้อมไปด้วยอามิสทาน อภัยทาน ธรรมทาน ทำให้ผู้สิ้นหวังมีความหวังทำให้ผู้มีมิจฉาทิฐิกลับเป็นสัมมาทิฐิ หน้าที่ของพระโพธิสัตว์จึงเป็นครูและเป็นบรมครูแก่มวลหมู่มนุษย์และเทวดา

 

หัวใจพระแม่กวนอิม
        หัวใจความเป็นพระโพธิสัตว์และเป็นคติเป็นทิฐิที่ผู้เดินตามทางสายโพธิสัตว์ต้องเพียรพิจารณาให้มากคือ สุญญตา
        ธรรมแห่งสุญญตาคือการเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นของว่าง ธรรมข้อนี้ทำให้เหล่าโพธิสัตว์ไม่หลงยึดในการทำคุณงามความดีของตนสามารถละวางอัตตาของตนลงได้
        พระโพธิสัตว์แม้จะฉุดช่วยทำความดีเพียงใดก็มีคติว่าทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเท่านั้นหาใช่คุณความดีของตนไม่ ดังนี้แหละพระโพธิสัตว์จึงไม่ท้อใจยามโดนต่อว่าและไม่ลำพองใจว่าเป็นผลงานของตน

         และด้วยธรรมแห่งสุญญตานี่อีกเช่นที่ทำให้จิตของพระโพธิสัตว์ละม้ายคล้ายดั่งพระอริยะเจ้าอีกด้วย

 

 

จินต์จุฑา รายงาน

ที่มา : guanimongyai.com , Jaruvat Chanposri