- 11 เม.ย. 2560
ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th
ตำนาน นางไม้
นางไม้ในคติความเชื่อของไทยเราสามารถแสดงฤทธิ์ทำให้คนไม่กล้าตัดต้นไม้ เช่นอาจจะร่ายมนตร์ทำให้คนไม่กล้าตัดต้นไม้ เช่น อาจจะร่ายมนตร์ทำให้คนที่ตัดต้นไม้ล้มเจ็บ เป็นไข้ หรือคลุ้มคลั่งเป็นบ้าเสียสติไป นางไม้ที่ปรากฏในภาพวาดหรือนิยาย เรื่อเล่าต่าง ๆ มักถูกจินตนาการเป็นหญิงสาวสวยผมยาวสลวยประบ่า นุ่งผ้าจีบ ห่มผ้าสไบเฉียง ถ้านางไม้ที่เป็นฝ่ายชายจะเรียกว่า รุกขเทวดาอยู่ส่วนใหญ่มักรุกขเทวาจะอยู่ประจำที่ต้นไทร หรือรักษาต้นไม้ใหญ่ ๆ ส่วนนางไม้จะสถิติอยู่ในต้นไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก ในหลาย ๆ แห่งมีชาวบ้านนิยมนำผ้าแพร 3 สีไปผูกให้ต้นไม้หลังจากมีคนเห็นนางไม้ปรากฏอยู่ที่ต้นไม้ต้นใดในหมู่บ้าน
นางไม้ในคติความเชื่อของไทยเรานั้นมีทั้งกล่าวถึงนางไม้ที่ดี และนางไม้ที่ร้าย นางไม้ที่เป็นภูตที่ดี ก็มักจะมาปรากฏในแบบสวยงามมาเตือนเหตุเภทภัยให้แก่มนุษย์ที่ดูแลต้นไม้อย่างดี แต่นางไม้ที่เป็นดั่งปีศาจร้ายก็มี ที่ออกมาหลอกมนุษย์ผู้ชายให้หลงใหลแล้วก็เอาไปทำสามีบ้างหรือฆ่าให้ตายบ้าง ภูตนางไม้มีหลายประเภท นางตะเคียนนางตานี ก็ถือเป็นนางไม้เช่นกัน หากเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่นับที่ว่ามีคนตายโดยผูกคอกับต้นตะเคียน แล้วเกิดมีผีมีวิญญาณสิงอยู่กับต้นไม้นั้น อย่างนั้นไม่เรียกว่านางไม้
นางไม้ที่เป็นนางตะเคียน หรือนางไม้ ประจำต้นไม้ใหญ่ ๆ ว่ากันว่า มักจะดุร้ายกว่านางไม้หลาย ๆ ประเภท เพราะเป็นต้นไม้ใหญ่มีอายุหลายสิบหรือนับร้อยปี แผ่กิ่งก้านสาขาลำต้นสูงใหญ่ ให้ความรู้สึกที่น่าเกรงกลัวยิ่งนักในยามกลางคืน คนไทยสมัยก่อนเชื่อกันว่าต้นตะเคียนมีนางไม้สิงอยู่ ถ้ายิ่งมียางไม้ไหลออกมาอยู่เสมอก็ยิ่งถือกันว่า นางตะเคียนจะยิ่งเฮี้ยน หรือมีฤทธิ์แรงมาก แต่ก่อนหากจำเป็นต้องมีการตัดต้นตะเคียนหรือต้นไม้ใหญ่ ๆ ผู้ตัดมักต้องทำพิธีขอ เพื่อให้นางไม้ให้รู้ตัวและจะได้ย้ายไปหาที่อยู่ใหม่ หากทำการตัดไปเลยโดยไม่ขอขมาก่อน คนที่ตัดต้นตะเคียนหรือต้นไม้ใหญ่ก็มักจะประสบหายนะ ถูกลงโทษ ทำให้เจ็บไข้ไร้สาเหตุหรือมีอาการคลุ้มคลั่งเสียสติไปในที่สุด
ในสมัยก่อนยังมีความเชื่อเรื่อง แต่งงานกับนางไม้อีกด้วย โดยเฉพาะทางใต้ นับเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวเมืองสงขลา เกิดจากเมื่อมีใครไปไหว้บนบานขอให้นางไม้ช่วยเหลือเรื่องต่าง ๆ หากสำเร็จด้วยดีก็บนบานว่าจะแต่งงานกับนางไม้เป็นการสังเวยตอบแทน การแต่งงานกับนางไม้ของทางใต้ มีตำนานเล่าว่า มีนางไม้ปรากฏนิมิตให้เห็นหลายครั้งที่ต้นมะม่วงขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง บรรดาชาวบ้านจึงได้ปั่นรูปหญิงสาวขนาดเท่าคนจริง แต่งกายงดงามพร้อมเครื่องประดับ สร้างเป็นรูปเคารพไว้ที่ศาล โดยทำการก่ออิฐเล็ก ๆ ใต้โคนไม้นั้น พวกชาวบ้านเรียกกันว่า “เจ้าแม่ม่วงทอง”
ตำนานบางเมืองเล่าแตกต่างออกไปว่าครั้งหนึ่ง มีธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถูกโจรจับตัวมาเพื่อปล้นและเรียกค่าไถ่ ระหว่างทางได้ถูกฆ่าตาย พวกโจรนำศพไปซ่อนอยู่ในโพรงต้นมะม่วงใหญ่ ต่อมาธิดาเจ้าเมืองได้แสดงอิทธิฤทธิ์อภินิหารให้ปรากฏเนือง ๆ จนชาวบ้านนับถือและทำการบวงสรวงบนบานกันเป็นนิตย์ โดยที่พิธีกรรมการบวงสรวงมักมีการ ฝากตัวและบุตรหลานเป็นลูกหลานของเจ้าแม่อีกด้วยเพื่อให้เจ้าแม้คุ้มครองอย่างดีนั่นเอง เมื่อครอบครัวใดทำพิธีฝากตัวแล้ว ก็ยังจะต้องทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่ โดยเฉพาะเพศชายที่มีอายุครบบวช พอใกล้ก่อนบวชก็จะต้องมาทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่เสียก่อน จะได้ปลอดภัยและเป็นมงคลชีวิตตลอดไป แม้เมื่อทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่แล้ว ต่อไปเมื่อสึกจากการบวชแล้ว จะไปเข้าพิธีแต่งงานกับหญิงอื่นตามปกติวิสัยก็ย่อมทำได้ เจ้าแม่มิได้เอาผิดเอาโทษใด ๆ แต่ถ้าชายผู้นั้นมีบุตรคนโตเป็นผู้ชาย ลูกคนนั้นก็ต้องมาเข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่สืบแทนบิดาด้วย ถือกันว่าเป็นเรื่องที่ต้องกระทำสืบทอดกันไปจนถึงรุ่นลูก หลาน เหลน
แต่ถ้ารุ่นไหนมีลูกหัวปีเป็นชาย แต่มิได้ทำการวิวาห์ตามธรรมเนียมของสกุลนั้น คนรุ่นนั้นก็จะพบเจอกับอาถรรพ์ต่าง ๆ จะประสบปัญหาเดือดร้อนไม่หยุดหย่อนจนกว่าจะมีพิธีแต่งงานเกิดขึ้น พิธีแต่งงานของคนกับนางไม้ หรือเจ้าแม่นี้ มีขันหมาก เงินทอง และเครื่องบูชาต่าง ๆ เช่น หัวหมู สุรา เป็ด ไก่ และผลไม้ เป็นต้น พิธีแต่งงานจะทำได้เฉพาะวันอังคารและวันเสาร์เท่านั้น ผู้เป็นเจ้าบ่าวแต่งงานกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมือนเจ้าบ่าวทั่วไปในงานของมนุษย์ปกติ แต่มักจะเหน็บกริชไว้ด้วย ขบวนขันหมากก็มี โดยจะจัดกันเป็นที่ครึกครื้น มีการรดน้ำสังข์และสวดชุมนุมเทวดา บูชาเทวดา เล่ากันว่าเคยมีผู้หญิงบนบานแล้วสำเร็จสมหมาย จึงแก้บนได้ด้วย การแต่งกายเป็นผู้ชายเข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่ก็มีเช่นกัน
ที่มา Credit : PaiLin
By Admin Park
http://www.tartoh.com