- 06 พ.ค. 2560
ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th
27 มิถุนายน พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (แพ บุนนาค) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นอุปทูต และ พระณรงค์วิชิต (วร บุนนาค) เป็นตรีทูต จำทูลพระราชศาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับ พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งประเทศฝรั่งเศส (Napoleon III of France) โดยขบวนเรือของกองทัพฝรั่งเศส พระเจ้านโปเลียนที่ 3 โปรดรับรองคณะทูตสยามอย่างดี
เมื่อเริ่มต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ประเทศมหาอำนาจนิยม ลัทธิการล่าอาณานิคมเป็นอย่างมาก การเข้าล่าประเทศต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่แถบทวีปแอฟริกาและต่อด้วยประเทศในแถบทวีปเอเซีย โดยอาศัยวิธีทางการทูตเข้ามาเจรจาขอทำสัญญา ซึ่งประเทศมหาอำนาจเหล่านี้จะได้รับผลประโยชน์มากมาย และถ้าหากประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าไม่ยอมทำตามสัญญาประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นก็จะใช้กำลังบังคับให้ยอมปฏิบัติตาม ซึ่งก็กระทำสำเร็จมาแล้วหลายประเทศทั้งในแถบเอเซียและแอฟริกาใต้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประมาณสถานการณ์และกำลังของประเทศได้อย่างถูกต้อง จึงทรงยอมผ่อนปรณติดต่อกับประเทศตะวันตก และทรงใช้นโยบายทางการทูตยอมเสียสละผลประโยชน์ส่วนน้อย เพื่อรักษาเอกราชของประเทศโดยทรงยินยอมทำสนธิสัญญากับประเทศตะวันตกเหล่านั้น
ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย โดยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระบรมราชินี แห่งประเทศอังกฤษได้ส่งราชทูต ชื่อ เซอร์ จอห์น บาวริ่ง นำพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาขอเจริญทางพระราชไมตรีด้วย ในปี พ.ศ. 2398 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงต้อนรับคณะราชฑูตจากอังกฤษอย่างสมเกียรติสนธิสัญญาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระนามกับประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2398 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า สนธิสัญญาบาวริ่ง
ต่อมาไม่นานนัก สหรัฐอเมริกาในสมัยนายพลแจ็คสัน เป็นประธานาธิบดี ได้ส่งนายเทาน์เซนต์ฮาริส เข้ามาขอทำสนธิสัญญาการค้าตามอย่างอังกฤษ ซึ่งไทยก็ยินยอมทำตามโดยดี นอกจากนี้ไทยยังทำสนธิสัญญาในทำนองเดียวกันนี้กับประเทศฝรั่งเศล โปรตุเกส เยอรมนี อิตาลี และประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย เช่น เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สวีเดนและนอร์เวย์ อย่างไรก็ดี การที่ไทยได้ทำสนธิสัญญากับต่างประเทศนั้นก็เกิดข้อดีกับประเทศไทยอยู่บ้างกล่าวคือ
1. ทำให้ประเทศไทยรักษาความเป็นเอกราอยู่ได้ตลอดมา
2. การยกเลิกระบบการค้าแบบผูกขาดมาเป็นการค้าแบบเสรีทำให้เศรษฐกิจของประเทศรุ่งเรืองไปอย่างรวดเร็ว
3. การติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทำให้ไทยมีโอกาสได้รับวิทยาการที่ทันสมัยเข้ามาเพื่อพัฒนาปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น
นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงส่งคณะทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ เป็นการตอบแทนเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2400 ในรัชสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระบรมราชินี โดยมี พระยาสรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นอุปทูต
ในปี พ.ศ. 2403 ไทยก็ได้ทำการส่งคณะทูตอีกชุดหนึ่งไปยังฝรั่งเศส โดยมีพระยาศรีพิพัฒน์เป็นราชฑูต เจ้าหมื่นไวยวรนารถเป็นอุปทูต อัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปถวายแต่พระเจ้านโปเลียนที่ 3
เครื่องมงคลราชบรรณาการ ที่ ร.๔ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้คณะราชทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งประเทศฝรั่งเศส
พระมหามงกุฎ
พระสาง
พระราชยานกง
พระมหาสังข์
พระธำมะรงค์เพชร
กำไลข้อพระกรทองคำรูปมังกรคาบแก้ว
พระธำมะรงค์นพรัตนและตลับทองคำสำหรับบรรจุ
ดารานพรัตน์
พระแสงกริช
พระราชยาน
พระราชยาน พระวอ เครื่องสูงต่างๆนานา
รัดพระองค์ประดับมรกต
หอก
พระราชสาส์น
กรรไกรตัดผม ในพระราชพิธีโสกันต์
จอกพระสุธารส (น้ำชา) ทองคำลงยาราชาวดี ด้วยสีแดง และ เขียว
ชุดกำไลข้อมือ ถักด้วยลวดทองเป็นรูปมังกรคาบแก้ว อ้าออกได้ แหวนเพชรแบบแถว และแบบล้อมรังแตน ตลับทองคำลงยาราชาวดี กล่องทองคำสลักดุนนูน
พระที่นั่งกงและพระกลด
พระวอสีวิกากาญจน์
เครื่องราชูปโภคทองคำ ทองคำลงยา และเบญจรงค์
เครื่องราชอิสริยาภรร์มหาปถมาภรณ์ช้างเผือก (ด้านที่แสดงเป็นพระรูปรัชกาลที่ ๔ อีกด้านหนึ่งเป็นรูปช้างเผือก)
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นภาพแบบอัลบูมินระบายสี ส่งไปพระราชทานจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๔
ภาพวาดบนผืนผ้ารูปพระแก้วมรกตทรงเครื่องสามฤดู
พระเสลี่ยงกลีบบัว
พระแสงดาบทองลงยา
พระเต้าหรือคนโทลงยา
พานกลีบบัวปากแฉกทองคำลงย
ที่มาจาก : http://www.reurnthai.com