- 09 มิ.ย. 2560
ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th
กำแพงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ทั้งนี้ "พระมหาพิชัยราชรถ" เป็นราชรถที่ทำด้วยไม้สักทอง ปิดกระจกและทองคำเปลวบริสุทธิ์ รายรอบบุษบกเป็นพระยานาคและมีรูปของเทวดา (เทพนม) อยู่ด้านล่าง มีการย่อมุมไม้สิบสอง โดยจะเก็บไว้ที่โรงเก็บราชรถ แต่ที่บริเวณประตูนั้น จะมีการสร้างปูนให้สูงขึ้นมาเล็กน้อย เปรียบเสมือนเป็นธรณีประตู เพื่อคราใดที่ต้องใช้งาน จะมีการทุบทำลายกำแพงปูนนี้ และเมื่อใช้เสร็จแล้ว จะมีการก่อกำแพงปูนขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นเคล็ดที่ว่าราชรถที่เก็บในโรงเก็บราชรถ จะได้ไม่ต้องออกไปอีก เปรียบว่าจะไม่มีพระราชวงศ์องค์ใดสิ้นอีก
ทั้งนี้พระมหาพิชัยราชรถ เป็นราชรถที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2338 เพื่ออัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ในปี พ.ศ. 2339 และเคยได้ใช้ทรงพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2551 และครั้งล่าสุด ได้ใช้ทรงพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555
ปัจจุบันพระมหาพิชัยราชรถได้เก็บรักษาไว้ ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีความเชื่อว่า หน้าโรงเก็บราชรถจะไม่สร้างถนนไว้ กำแพงด้านหน้าโรงราชรถจะไม่มีทางออก หากใช้งานต้องทุบเท่านั้น และเมื่อเสร็จพิธีก็ต้องก่ออิฐปิดทันที โดยเป็นความเชื่อว่าราชรถไม่ควรอยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน "เป็นธรรมเนียมที่ว่า จะจัดทำทางลาดยางสำหรับนำราชรถออกมาเฉพาะเวลามีงานพระบรมศพหรือพระศพเจ้านายเท่านั้น หากเสร็จงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระราชทานเพลิงพระศพเสร็จสิ้นจะมีการรื้อทำลายทางลาดยางนั้น เพราะงานที่ต้องใช้ราชรถอัญเชิญพระโกศเป็นงานอวมงคล"
ที่มาจาก : จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์