ทรงห่วงใย กลัวว่าประชาชนจะบาป!! พระราชินีในรัชกาลที่๙ ตรัสถาม สองพระอริยะ "การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?" คำตอบฟังแล้วชื่นใจ

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ทรงห่วงใย กลัวว่าประชาชนจะบาป!! พระราชินีในรัชกาลที่๙ ตรัสถาม สองพระอริยะ \"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?\" คำตอบฟังแล้วชื่นใจ  

        สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถทรงกังวลพระทัยเสมอว่าราฎรที่ทรงพบนั้นมีความลำบาก เพราะอาชีพหลักคือการทำ นา ทำ ไร่หรือเกษตรกรรม ซึ่งต้องพึ่งพาสภาพของดิน ฟ้า อากาศที่ไม่แน่นอนอยู่เสมอ

            และด้วยเหตุที่ราษฎรท้องถิ่นนั้นส่วนมาก ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้า ไหมใช้กันเองในครัวเรือน หญิงใช้ซิ่นไหมมัดหมี่ส่วนชายใช้ผ้าขาวม้าไหม จึง มีการทอผ้าไหมเหล่านี้ไว้ใช้เป็นประจำ ซึ่งต้องใช้ความประณีตและใช้เวลามาก ด้วยพระราชปณิธานอันสูงส่งและแน่วแน่ในการที่จะทรงบำบัด ทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรโดยเฉพาะชาวนาชาวไร่ผู้ยากไร้ พระองค์จึงมี พระราชดำ ริว่าน่าจะหาอะไรให้เขาทำ เพื่อเป็นอาชีพเสริม และจะได้มีรายได้ สม่ำ เสมอตลอดไป จึงทรงนำ หัตถกรรมพื้นบ้านหลากหลายชนิด ซึ่งชาว บ้านทำ เป็นอยู่แล้วในครัวเรือนมาพัฒนาเป็นอาชีพเสริม ภายใต้การ สนับสนุนของ มูลนิธิส่งเสริม ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จนชาวบ้านมีราย เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้

ทรงห่วงใย กลัวว่าประชาชนจะบาป!! พระราชินีในรัชกาลที่๙ ตรัสถาม สองพระอริยะ \"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?\" คำตอบฟังแล้วชื่นใจ

           แต่พระองค์ก็ยังทรงอดห่วงไม่ได้ว่า การสนับสนุนให้ประชาชนเลี้ยงหม่อนไหมนั้น จะเป็นบาปแก่ตัวท่านเองและประชาชน....

ทรงห่วงใย กลัวว่าประชาชนจะบาป!! พระราชินีในรัชกาลที่๙ ตรัสถาม สองพระอริยะ \"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?\" คำตอบฟังแล้วชื่นใจ

        ในปีพ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพระราชปุจฉาแก่หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

ดิฉันสนับสนุนให้ประชาชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนี้เจ้าค่ะ  เคยมีลูกศิษย์ของท่านอาจารย์แบนเรียนด้วยความหวังดีว่า  “อย่าทำเลย...หม่อนไหม  วันๆ หนึ่ง ชาวบ้านต้มไหมเป็นล้านๆ ตัว”  เพราะเหตุว่าเห็นสภาพที่เขาอดอยาก พิการ อดอยาก ตาบอด ก็เลยคิดว่า การสนับสนุนให้เขาปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนี้จะทำให้เขาอยู่ดีกินดีขึ้น  แม้ว่าเขาผลิตแล้วไม่นำออกมาขายก็ไม่ได้เงินมาเลี้ยงชีพ  ดิฉันอยากจะช่วยเด็กๆ ที่ยากจน แต่ลูกศิษย์พระอาจารย์ก็เตือนมาเรื่อยๆ ก็เลยคิดว่า  เราได้ช่วยคนมามากๆ ดีกว่าคนที่เขาไม่ได้เข้าวัด ไม่ทำอะไรเลย  เราหากินสุจริต ทำบุญได้ หากินได้ ทำอะไรได้ เลี้ยงลูกได้  พระคุณเจ้ามีความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร ?

หลวงพ่อพุธ :

ตามที่แนะนำให้ราษฎรเขาทำอย่างนั้น  เพียงแต่ว่าได้แนะนำให้เขาเลี้ยง แต่ไม่ได้แนะนำให้เขาต้มตัวไหม  ในเมื่อเขาทำขึ้นมาแล้ว เขาจะทำอย่างไรเป็นเรื่องของเขา  ส่วนจะขัดข้องกังวลใจ เพื่อความเบาใจก็ถือเสียว่า เพียงแต่ได้แนะนำวิธีทางดำเนินชีวิตเท่านั้น ซึ่งมีหลายวิธีการที่เขาจะทำ  ในเมื่อเขาทำลงไปแล้ว เขาจะปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  แม้ว่าจะไม่สั่งให้เขาทำอย่างนั้นอย่างนี้ เขาทำไปเอง  ถ้าหากสมมติว่าทำใจได้อย่างนี้ก็เป็นที่เบาใจมากขึ้น  และข้อเปรียบเทียบเวลานี้เป็นการแนะนำวิชาอาชีพ แต่มิได้สั่งให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นฆ่าสัตว์ เพราะไม่ได้สั่งว่าให้เขาทำอย่างนั้นอย่างนี้  เป็นแต่เพียงว่า ปลูกหม่อนนะ เลี้ยงไหมนะ ทำอะไรเพียงแค่นี้  ในเมื่อมีผลิตผลแล้ว เขาจะทำอะไรเป็นหน้าที่ของเขา  เช่น  อาจจะแต่งตั้งใครสักคนหนึ่งที่มีความชำนิชำนาญในเรื่องนี้ให้คำแนะนำ

ถ้าจะเปรียบก็คล้ายกับว่า  หมอทั้งหลายเขารักษาโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนมากหมอจะไม่มีคำพูดหรือความตั้งใจเจาะจงลงไปว่า ฉันจะฆ่าเชื้อโรคอย่างนั้นอย่างนี้  เป็นแต่เพียงว่า คนนี้ป่วยเป็นโรคอย่างนั้น จะให้ยาอย่างนี้ เพื่อให้เขาหายจากโรคภัยไข้เจ็บ

ที่ได้มีเมตตาแก่ประชาชนที่แนะนำให้เขาทำอยู่ในปัจจุบัน พยายามทำใจว่า ได้แนะนำให้เขาทำอย่างนี้  เมื่อเขาปลูกหม่อนแล้วจะต้องมีสัตว์สำหรับกินหม่อน  เขาจะหาอะไรมาทำนอกจากตัวไหมใบหม่อน  เมื่อเขามาเลี้ยงเติบโตขึ้นมาแล้ว เขาจะไปทำรวงทำรังที่ไหน รวงรังของเขาจะเป็นประโยชน์ขึ้นมา  คนที่เขาเลี้ยงเขาย่อมรู้จักหน้าที่ของเขาว่า เขาควรทำอย่างไร

เพื่อไม่ให้เป็นการกังวลใจมากนัก อาตมาขอแนะนำวิธีที่ทำให้เบาใจ  เมื่อแนะนำให้เขารู้จักประกอบอาชีพ พยายามนึกในใจว่า เราไม่ได้แนะนำให้เขาฆ่าสัตว์ เขาจะทำอะไรเป็นหน้าที่ของเขา  ให้พยายามทำใจอย่างนี้ อาตมาเห็นว่าความกังวลใจอาจจะลดน้อยลงไป

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

บาปกรรมทั้งหลายนี่อยู่ที่ใจจริงๆ ใช่ไหมเจ้าคะ ?

หลวงพ่อพุธ :

อยู่ที่ใจ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

ทีนี้ ถ้าเผื่อว่า จิตใจของดิฉันมิได้ใส่ใจในเรื่องตัวไหมเลย แต่ใส่ใจในเรื่องที่ช่วยชีวิตเด็กไม่ให้ตาย ไม่ให้พิการ  อันนี้สำคัญกว่าใช่ไหมเจ้าคะ ?

หลวงพ่อพุธ :

สำคัญกว่า

            

ทรงห่วงใย กลัวว่าประชาชนจะบาป!! พระราชินีในรัชกาลที่๙ ตรัสถาม สองพระอริยะ \"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?\" คำตอบฟังแล้วชื่นใจ

          เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมายังที่พักสงฆ์ในพระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐานเพื่อกราบนมัสการหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ และสอบถามถึงเรื่องการปลูกหม่อนไหมอีกครั้ง

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

มีความเห็นของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ไม่ตรงกัน คือ  การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวเอาเส้นของมันมาทอเป็นผ้าไหมขาย จะเป็นโทษหรือไม่  และการไปแนะนำให้ประชาชนชาวบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจะเป็นบาปหรือไม่  บางอาจารย์ว่าเป็นโทษ แต่บางอาจารย์ว่าไม่เป็นโทษ  พระคุณเจ้าจะเห็นว่าอย่างไร ?

หลวงปู่เหรียญ :

เจริญพร  คนมีหลายระดับ ไม่ใช่มีระดับเดียว  ผู้ใดมีบุญ มีวาสนา มีปัญญา ผู้นั้นพิจารณาเห็นว่า การทำอย่างนั้นเป็นการเบียดเบียนสัตว์ มันเป็นโทษ ผู้นั้นเขาก็จะละเว้นไปเลย เขาก็ไม่ทำ เขาก็ไปทำอาชีพอื่น  อย่างผู้มีบุญ มีวาสนา มีบารมียังน้อย เมื่อจะไปทำอาชีพอื่นก็ไม่มีปัญญา  เขามองเห็นอาชีพไหนพอจะทำได้ก็จะทำอาชีพนั้นไป  นี้ก็ไม่รู้จะไปห้ามเขาได้อย่างไร เพราะเป็นอาชีพของเขา  พวกที่อินทรีย์บารมียังอ่อนอยู่ก็ต้องมีผิดบ้างไปอย่างนั้นล่ะ  เจริญพร

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

อย่างนี้ถูกต้อง ถูกต้องแล้ว

 

ทรงห่วงใย กลัวว่าประชาชนจะบาป!! พระราชินีในรัชกาลที่๙ ตรัสถาม สองพระอริยะ \"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?\" คำตอบฟังแล้วชื่นใจ

 

จากหนังสือ มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ

 

สั่งซื้อหนังสือได้ที่ Line ID : @gppbook หรือ FB : Gppbook

สอบถามเพิ่มเติมโทร 02 525 4242 ต่อ  202