เย็นศิระเพราะพระบริบาล!! จากน้ำพระทัยในหลวง ร.๙ สู่ "โครงการฝนหลวง" สายฝนจากฟ้า..ช่วยบรรเทาทุกข์ยากแก่พสกนิกรในถิ่นทุรกันดาร !!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

เย็นศิระเพราะพระบริบาล!! จากน้ำพระทัยในหลวง ร.๙ สู่ \"โครงการฝนหลวง\" สายฝนจากฟ้า..ช่วยบรรเทาทุกข์ยากแก่พสกนิกรในถิ่นทุรกันดาร !!

           โครงการพระราชดำริฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร ๑๕ จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ ๒-๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ ในวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๙๘ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์เดลาเฮย์ ซีดานสีเขียว จากจังหวัดนครพนมไปจังหวัดกาฬสินธุ์ ผ่านจังหวัดสกลนครและ เทือกเขาภูพาน ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯ แล้วพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล 

 

 

เย็นศิระเพราะพระบริบาล!! จากน้ำพระทัยในหลวง ร.๙ สู่ \"โครงการฝนหลวง\" สายฝนจากฟ้า..ช่วยบรรเทาทุกข์ยากแก่พสกนิกรในถิ่นทุรกันดาร !!

เย็นศิระเพราะพระบริบาล!! จากน้ำพระทัยในหลวง ร.๙ สู่ \"โครงการฝนหลวง\" สายฝนจากฟ้า..ช่วยบรรเทาทุกข์ยากแก่พสกนิกรในถิ่นทุรกันดาร !!

            การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑-๒ กรกฎาคม ๒๕๑๒ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

 

เย็นศิระเพราะพระบริบาล!! จากน้ำพระทัยในหลวง ร.๙ สู่ \"โครงการฝนหลวง\" สายฝนจากฟ้า..ช่วยบรรเทาทุกข์ยากแก่พสกนิกรในถิ่นทุรกันดาร !!

          การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า จะต้องให้เครื่องบิน ที่มีอัตราการ บรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้น ปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพ ในปริมาณที่เหมาะสมกล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้น ที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง อุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอ ก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วยสูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศสูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆ ให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้ กระตุ้นกลไก ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

เย็นศิระเพราะพระบริบาล!! จากน้ำพระทัยในหลวง ร.๙ สู่ \"โครงการฝนหลวง\" สายฝนจากฟ้า..ช่วยบรรเทาทุกข์ยากแก่พสกนิกรในถิ่นทุรกันดาร !!

เย็นศิระเพราะพระบริบาล!! จากน้ำพระทัยในหลวง ร.๙ สู่ \"โครงการฝนหลวง\" สายฝนจากฟ้า..ช่วยบรรเทาทุกข์ยากแก่พสกนิกรในถิ่นทุรกันดาร !!

             กองทัพเรือได้ร่วมเข้าโครงการน้ำพระทัยจากในหลวงในส่วนของ ฝนหลวงพิเศษ มาตั้งแต่เริ่มต้น โดยผู้บัญชาการทหารเรือ มีคำสั่งให้ดำเนินการดัดแปลง บ.C-47 จำนวน ๒ ลำ เพื่อใช้ในการโปรยสารเสมีและทำการทดลองในช่วงแรก ตั้งแต่ ๑๕ เม.ย.-๓๐ ต.ค.พ.ศ.๒๕๓๐ รวม ๒๐๐ วัน ปรากฎว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และได้รับหน้าที่รับผิดชอบทำฝนหลวง ในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยส่ง บ. C-47 ๑ ลำ ร่วมกับกรมตำรวจ ซึ่งส่ง บ.แบบปอร์ตเตอร์เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓ ลำ มีศูนย์ปฏิบัติการอยู่ที่สนามบินขอนแก่น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นหน้าที่รับผิดชอบของกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ บ.C-47 ได้เลิกปฏิบัตภารกิจ เนื่องจากมีอายุการใช้งานมานาน และมีปัญหาด้านการซ่อมบำรุง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิต เลิกสายการผลิตอะไหล่ กองการบินทหารเรือจึงได้จัด บ.ธก.๒ (N-24A) สังกัดฝูงบิน ๒๐๑ กองบิน ๒ ทดแทน โดยเริ่มปฏิบัติภารกิจตั้งแต่ ๑๖ มี.ค.๓๕ ต่อมาในฤดูแล้งปีเดียวกันเกิด ภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ในระดับต่ำมาก เพื่อให้ภาวะวิกฤตนี้หมดสิ้นไป กองทัพเรือจึงได้เข้าร่วมแก้ไขปัญหานี้โดยส่ง บ.ธก.๒ อีก ๑ ลำเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจที่ จว.พิษณุโลก ตั้งแต่ ๑๖ ก.ค.๓๕

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.royalrain.go.th