นี่คือสัญญาณบอกโรค! อันตรายจากอาการ "หนาวใน" ที่คุณไม่ควรมองข้าม ไม่ระวังเสี่ยงถึงตายได้

สัญญาณบอกโรคอันตรายจากอาการ "หนาวใน" ที่หลายคนไม่ควรมองข้าม เพราะอาจจะเป็นบ่อเกิดของโรคภัยต่างๆ เราควรมั่นตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

เคยสังเกตไหมทั้งที่อากาศก็แสนจะร้อน แต่ทำไมเราถึงเป็นคนที่ขี้หนาวอยู่คนเดียวตลอดเวลา ซึ่งอาการนี้ไม่เป็นสิ่งที่คุณมองข้ามเป็นอันขาด เพราะเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกความผิดปกติของร่ายกายได้หลายโรด โดยเฉพาะผู้หญิง หรือคุณแม่หลังคลอด มักจะเกิดอาการนี้ได้มากกว่ากว่าเพศชายเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเรามีอาการนี้บ่อยจะเป็นบอกสาเหตุของโรคดังต่อไปนี้

 

ภาพหนาวใน

 

อาการเริ่มต้นของอาการหนาวในที่เราควรสังเกต

จะมีอาการหนาวสั่นสะท้านเข้ากระดูก มือเท้าเย็น ปากเขียว มือเขียว เหมือนเลือดไหลเวียนไม่ดี และเมื่อมีอาการหนาวในเป็นประจำจะทำให้เกิดอาการปวดหลังชาๆ ขัดข้อสะโพก มีจ้ำเขียวตามร่างกายได้ง่าย เป็นไข้ทับระดูทุกครั้งที่มีประจำเดือน มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว

ไบโอเดอร์มา
สุขภาพและความงามโดยแนน

 

1. รูปร่างผอมบางเกินไป

คนที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน อาจส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถสร้างความอบอุ่นได้เพียงพอจนทำให้รู้สึกหนาวง่าย อีกอย่างเมื่อเราผอมเพราะไม่ค่อยได้กินอาหาร ก็ยิ่งลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญ จนความร้อนในกระบวนการเผาผลาญไม่เกิด ดังนั้นคนที่ตัวผอมบางจึงมักจะรู้สึกหนาวง่ายหรือหนาวตลอดเวลา


2. ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

อาการหนาวเป็นพักๆ รวมทั้งผมเริ่มร่วงและบาง ผิวแห้งมากขึ้น แถมยังรู้สึกอ่อนเพลียด้วย ลักษณะอาการเช่นนี้อาจเข้าข่ายภาวะขาดไทรอยด์ ซึ่งเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์ไม่หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่พอเพียง จนส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายจึงลดน้อยลงไปด้วย


3. ขาดธาตุเหล็ก

เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ช่วยขนส่งออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง นำพาความร้อนและสารอาหารที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการทำงานของเซลล์ทุกแขนงในร่างกาย ดังนั้นหากขาดธาตุเหล็กไป กระบวนการดังกล่าวก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ความอบอุ่นในร่างกายลดน้อยลง


4. ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี

อาการมือเย็นเท้าเย็นบ่อยๆ แต่ร่างกายโดยรวมไม่ได้ผิดปกติอะไร การวินิจฉัยจากแพทย์ อาจเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายทำงานไม่ปกติ ไม่สามารถไหลเวียนเลือดได้สะดวกไปทั่วทั้งร่างกาย หรืออาจจะมีภาวะของโรคหลอดเลือดอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ ที่อาจขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังมือและเท้าได้


5. โรคเรย์นอยด์ (Raynaud Disease)

เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดบริเวณมือตีบ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่ดี ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วมือ ร่วมกับอาการนิ้วมือนิ้วเท้าเย็นตามมาด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษา

 

ภาพหนาวใจ ขนเเขนลุก

6. พักผ่อนไม่เพียงพอ

การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้สารเคมีในสมองรวมไปถึงระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติได้ ซึ่งก็นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง รวมทั้งอาการหนาวง่ายก็เป็นผลพวงที่ตามมาด้วยเช่นกัน


7. ดื่มน้ำน้อยเกินไป

น้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกายมากกว่า 60% และยังมีหน้าที่สำคัญที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติ นักโภชนาการให้ข้อมูลว่าร่างกายที่ไม่ได้รับน้ำสะอาดเพียงพออาจเกิดได้ทั้งภาวะอุณหภูมิที่ร้อนจัดและเย็นจัด เนื่องจากภาวะขาดน้ำจะทำให้ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกายปรวนแปร รวมไปถึงเมื่อขาดน้ำ ระบบเผาผลาญก็ทำงานไม่สะดวกด้วย


8. ขาดวิตามินบี 12

วิตามินบี 12 มีหน้าที่สำคัญพอๆ กับธาตุเหล็กตรงที่ช่วยลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับวิตามินบี 12 ที่พอเพียงอาจทำให้หลอดเลือดแดงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเมื่อการไหลเวียนของเลือดติดขัด ก็จะรู้สึกหนาวง่ายบวกกับมีอาการเหน็บชาบ่อยๆ ด้วย


9. โรคเบาหวาน

อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปลายประสาทอักเสบได้ ซึ่งอาการนี้จะส่งผลให้มือและเท้าของคุณไวต่อสิ่งเร้าและการสัมผัส จนอาจทำให้รู้สึกหนาวเย็น ณ บริเวณนี้ได้ อีกทั้งปลายประสาทยังจะส่งสารบางอย่างไปยังสมองในส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ให้รู้สึกถึงความหนาวเย็นได้


10. กล้ามเนื้ออ่อนแอเกินไป

แพทย์หญิง Margarita Rohr แห่ง NYU Langone Medical Center นิวยอร์ก บอกไว้ว่า กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยคงอุณหภูมิร่างกายของเราให้สมดุล การมีมวลกล้ามเนื้อมาก หนาแน่นและแข็งแรง จะช่วยให้ระบบเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไปในตัว และช่วยรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้เป็นอย่างดี

 

อาการหนาวใน

 

แนวทางคือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพดีเสมอ 


1. ระวัง ไม่ให้เสียสมดุลร่างกายมากเกินไป บ่อยซ้ำๆ เลี่ยงการดื่มทานอาหารเครื่องดื่มที่มีพลังเย็นมาก หรือร้อนมาก ในปริมาณมาก และควรดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 8 แก้วต่อวัน 


2. รักษาปรับสมดุลร่างกายได้โดย บำรุงร่างกายด้วยอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เลือกทานไขมันดีจากพืช วิตามินบี12 ก็จำเป็น และหากคุณมีภาวะเลือดจาง ต้องเน้นอาหารประเภทธาตุเหล็กสูง เลือกทานผลไม้ที่มีทั้งความชุ่มเย็นและความเผ็ดร้อน เช่นการทานสมุนไพรช่วย เช่น บัวบก พริกไทย 


3. ควรรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ


4. หากเกิดอาการหนาวสั่นที่ผิดปกติ หรือเข้าข่ายอาการของโรคร้าย ควรเข้าพบแพทย์ 

 

ขอบคุณ theasianparent