สมพระเกียรติเกริกไกร พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ประวัติศาสตร์ต้องจารึก! #ส่งพระโพธิสัตว์กลับสวรรค์

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

สมพระเกียรติเกริกไกร พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ประวัติศาสตร์ต้องจารึก! #ส่งพระโพธิสัตว์กลับสวรรค์

สมพระเกียรติเกริกไกร พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ประวัติศาสตร์ต้องจารึก! #ส่งพระโพธิสัตว์กลับสวรรค์
พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติทรงพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ภายหลังจากพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ มีทั้งสิ้น ๓ รูปแบบ ได้แก่ 
๑. พระโกศทรงพระบรมอัฐิที่จะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระโกศทองคำลงยาประดับเพชร ๙ เหลี่ยม ออกแบบโดย นายอำพล สัมมาวุฒธิ

๒. พระโกศทองคำลงยาประดับพลอย ๘ เหลี่ยม มีจำนวน ๔ องค์ ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี            ออกแบบโดย นายณัฐพงศ์ ปิยมาภรณ์

๓. พระโกศทองคำลงยาประดับพลอย ๘ เหลี่ยม ทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙                                ออกแบบโดย นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร

สำหรับพระโกศทรงพระบรมอัฐิที่จะนำไปประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทซึ่งจะเชิญออกในการพระราชพิธีสำคัญของแผ่นดินที่มีการบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า และการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณาณุปทาน กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์ กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง
รูปทรงโดยทั่วไปของพระโกศองค์นี้ได้ศึกษาจากภาพถ่ายของพระโกศทรงพระบรมอัฐิอดีตบูรมหากษัตริย์ไทยทั้งจากเอกสารหนังสือ ภาพจากสื่อสารสนเทศและแบบผลงานการออกแบบพระโกศพระอัฐิ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ได้ศึกษาจากผลงานอดีตบรมครูช่างศิลปกรรมไทย ศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นแบบอย่างอีกชั้น โดยพระโกศพระบรมอัฐิ ได้ออกแบบเป็นพระโกศเก้าเหลี่ยมตลอดองค์ยกเว้นส่วนยอดที่เป็นก้านของพุ่มข้าวบิณฑ์ และก้านของสุวรรณฉัตรฉัตร ๙ ชั้นจะเป็นทรงกลม ซึ่งลักษณะโดยรวมตามแบบอย่างของพระโกศพระบรมอัฐิและพระโกศพระอัฐิที่มีการสร้างสืบตามกันมาตามพระราชประเพณี

สมพระเกียรติเกริกไกร พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ประวัติศาสตร์ต้องจารึก! #ส่งพระโพธิสัตว์กลับสวรรค์

องค์ประกอบขององค์พระโกศประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ จำนวน ๕ ส่วนดังนี้
๑. ส่วนฐาน เป็นฐานสิงหืตามพระเกียรติญศของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ส่วนของฐานที่จะต่อเข้ากับองค์พระโกศ (เอวพระโกศ) จะมีพื้นที่สำหรับตั้งลายดอกไม้เอว
๒. ส่วนองค์พระโกศ เป็นลายกลีบบัวจงกล ตามแบบของพระโกศที่นิยมสร้างสรรค์สืบต่อกันมา กลีบบัวนี้ซ้อนขึ้นไปหาปากพระโกศ จำนวน ๔ ชั้น ตรงกลางทำเป็นพระนามาภิไธยย่อ ภปร ส่วนขอบปากองค์พระโกศประกอบด้วย ลายบัวคว่ำ ท้องไม้ แนวลวดบัวหงายและหน้ากระดานบนเป็นพื้นเรียบ เพื่อบอกระยะสุดท้ายขององค์พระโกศ ที่ส่วนหน้ากระดานบนนี้จะวางแนวห่วงสำหรับประกอบลายเฟื่องอุบะอยู่มุมของเหลี่ยม
๓. ส่วนฝาพระโกศ ทำเป็นทรงมงกุฎเกี้ยวมาลัยทองเรียงลำดับขึ้นไป ชั้นที่ ๑, ๒ และ ๓ ทำเป็นลายประจำยามก้ามปู โดยดอกประจำยามถูกแทนที่ด้วยลายดอกไม้ประดับรัตนชาติ พื้นลายลงยาสีแดง
๔. ส่วนยอดพระโกศ สร้างเป็นสองแบบ ได้แก่ สร้างเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ ทำด้วยเงินบริสุทธิ์ประดับรัตนชาติ และแบบที่สองสร้างเป็นสุวรรณฉัตร คือ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ฉัตร ๙ ชั้น ทำด้วยทองคำลงยาประดับรัตนชาติ
๕. เครื่องประดับพระโกศ ทำด้วยเงินบริสุทธิ์ประดับด้วยรัตนชาติ ประกอบด้วย ดอกไม้เอว ทำเป็นช่อดอกประกอบใบเทศ ปักอยู่หลังชั้นกระจังขอบเอวพระโกศบริเวณมุมของเหลี่ยม ๙ ช่อ และตรงกลางแต่ละด้าน ๙ ช่อ ในแนวระนาบเดียวกันรวม ๑๘ ช่อ
๕.๑ ดอกไม้ไหว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าดอกไม้เพชร ปักเหนือชั้นกระจังเหนือบัวถลาบริเวณมุมของเหลี่ยม ๙ ช่อ และตรงกลางแต่ละด้าน ๙ ช่อ รวม ๑๘ ช่อ และ เหนือกระจังชั้นเกี้ยว อีก ๓ ชั้น บริเวณมุมของเหลี่ยม ชั้นละ ๙ ช่อ รวม ๒๗ ช่อ รวมทั้งสิ้น ๔๕ ช่อ
มีรูปลักษณะเช่นเดียวกับดอกไม้เอวแต่จะมีขนาดใหญ่ เล็กลดหลั่นกันตามความเหมาะสมของชั้นเกี้ยว
๕.๒ เฟื่องอุบะ สร้างเป็นดอกเรียงร้อยต่อกันตามแนวนอน โดยปล่อยให้ดอกกลางห้อยหย่อนลงอย่างเชือกตกท้องช้าง จากส่วนปลายแต่ละข้างที่มีขนาดดอกเล็กแล้วค่อย ๆใหญ่ขึ้นจนดอกกลางมีขนาดใหญ่สุด เรียงช่วงละ ๑๑ ดอก มี ๙ เฟื่อง ตรงช่วงต่อของเฟื่องแต่ละแถวห้อยอุบะมีลักษณะคล้ายพวงดอกมะลิตูมจับกลุ่มเป็นทรงดอกบัวตูมทิ้งยอดลงมีดอกรักครอบทับเป็นชั้นเรียงขนาดเล็กลงมาหาใหญ่ ทั้งหมดมี ๙ ชุด
๕.๓ ดอกไม้ทิศ สร้างเป็นดอกประจำมุมเหลี่ยม และประดับประจำด้าน ของเกี้ยวมาลัยทองฝาพระโกศชั้นล่าง จำนวน ๑๘ ดอก ประดับเฉพาะประจำมุมเหลี่ยมของเกี้ยวชั้นที่ ๒ และ ๓ ชั้นละ ๙ ดอก รวม ๑๘ ดอก และประดับประจำด้านของเกี้ยวชั้น ๔ จำนวน ๙ ดอก รวมทั้งสิ้น ๔๕ ดอก จะมีขนาดใหญ่ เล็กลดหลั่นกันตามความเหมาะสมของชั้นเกี้ยว
โดยสรุปลักษณะโดยรวมของพระโกศพระบรมอัฐิขอพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นพระโกศทรงเก้าเหลี่ยม ยอดทรงมงกุฎ จัดสร้างด้วยทองคำลงยาสี ประดับรัตนชาติ ยกเว้นส่วนประกอบอื่น ได้แก่ พุ่มข้าวบิณฑ์ยอดพระโกศดอกไม้เอว ดอกไม้ไหว และ เฟื่องอุบะ ตามจำนวนที่กล่าวขั้นต้นที่สร้างด้วยเงินบริสุทธิ์ประดับด้วยรัตนชาติ มีพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ฉัตร ๙ ชั้น ทำด้วยทองคำลงยาประดับรัตนชาติ สำหรับเปลี่ยนแทนยอดพุ่มข้าวบิณฑ์เมื่ออัญเชิญออกประดิษฐานในพระราชพิธี และมีพระโกศศิลาขาวที่สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวนวล สำหรับทรงพระบรมอัฐิอยู่ภายในพระโกศทององค์นี้
ขนาดของพระโกศ ฐาน กว้าง ๒๐ เซนติเมตร หากวัดจากฐานถึงยอกพุ่มข้าวบิณฑ์ สูง ๘๐ เซนติเมตร เมื่อวัดจากฐานถึงยอดพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร สูง ๙๙ เซนติเมตร
รัตนชาติที่ใช้ประดับพระโกศและส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นเพชรเจียระไนสีขาวทั้งสิ้น ส่วนยาสีที่ใช้ตกแต่งพระโกศเป็นประเภทยาสีร้อน มี สามสีได้แก่ สีเหลือง สีแดง และสีเขียว
สีเหลือง หมายถึง สีประจำวันพระราชสมภพ
สีแดง หมายถึง สีแห่งพลัง ความเข้มแข็ง การหลอมรวมดวงใจของคนในชาติ
สีเขียว หมายถึง สีแห่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์แห่งประเทศด้วยพระเมตตาบารมีแด่ปวงประชาชนทุกภาคส่วน
นอกจากพระโกศทองลงยาและพระโกศศิลาแล้ว ยังมีเครื่องประกอบที่เกี่ยวเนื่องอีก ๒ ชิ้นได้แก่ แป้นกลึงแกะสลักลงรักปิดทอง จำนวน ๑ ชิ้น สำหรับรองรับฝาพระโกศ และฐานไม้กลึงแกะสลักลงรักปิดทอง จำนวน ๑ ชิ้น สำหรับรองรับยอดพระโกศที่เป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือที่เป็นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เมื่อมีการถอดผลัดเปลี่ยนกันในงานราชพิธี

สมพระเกียรติเกริกไกร พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ประวัติศาสตร์ต้องจารึก! #ส่งพระโพธิสัตว์กลับสวรรค์
พระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทำด้วยทองคำจำหลักลงยาประดับเพชรทั้งองค์ยอดเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ สามารถถอดเปลี่ยนกับยอดนพปฎลมหาเศวตฉัตรทองคำเมื่อต้องอัญเชิญออกประดิษฐานบนพระราชบัลลังก์  เป็นผู้ทำพระโกศ ทองคำถวายในหลวง รัชกาลที่ ๙. หนัก ๔ กิโล ๑๗๕กรัม ต่อองค์
#พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติทรงพระบรมอัฐิ
ที่มา เครดิตภาพ : อาจารย์สง่า อนุศิลป์ อาจารย์วิทยาลัยเพาะช่าง และสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร