- 09 ม.ค. 2561
ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th
หลวงพ่อโพธิ์ วัดโพธิ์ศรี (วัดวังหมาเน่า) พิจิตร
หลวงพ่อโพธิ์เกิดที่ จ.ปทุมธานี ในรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช และอุปสมบทที่วัดบางหลวงใน จ.ปทุมธานี แต่ด้วยท่านชอบความสงบวิเวก จึงได้ธุดงค์ขึ้นเหนือจนมาถึงบ้านวังหมาเน่า พิจารณาเห็นว่าเงียบสงบดี จึงสร้างกุฏิเล็กๆไว้ปฏิบัติธรรม เล่ากันว่าเวลามีไฟป่าไหม้มาใกล้กุฏิ หลวงพ่อจะนั่งมองเฉยไม่ลุกหนีไปไหน แต่ไฟป่ากลับดับไปเองไม่สามารถเข้าใกล้กุฏิได้ แม้ในปัจจุบันหากเกิดไฟไหม้ ชาวบ้านเพียงนึกถึงท่าน ก็มักจะมีลมมาพัดไฟให้เปลี่ยนทิศทางไปอย่างอัศจรรย์อยู่เสมอหลวงพ่อโพธิ์ยังเป็นต้นตำรับของ“ตะกรุดคู่ชีวิต” สุดยอดตะกรุดในตำนานที่มีประสบการณ์ลือลั่น ชาวบ้านถูกจระเข้กัดกระชากลงน้ำ ก็ยังทำอะไรผู้แขวนตะกรุดของท่านไม่ได้ ซึ่งยอดพระเกจิอาจารย์เมืองพิจิตรเช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน,หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง,หลวงพ่อภู วัดท่าฬ่อฯลฯ ล้วนมากราบเรียนวิชาไปจากท่านทั้งสิ้น หลวงพ่อโพธิ์ได้มุ่งปฏิบัติธรรมเรื่อยมาจนถึงกาลมรณภาพประมาณก่อนพ.ศ.๒๔๔๐ สิริรวมอายุได้ ๑๐๒ ปี แม้ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโพธิ์จะไม่เป็นรองผู้ใดในแผ่นดินสยาม แต่ด้วยท่านมรณภาพมานานนับร้อยปี อีกทั้งวัดตั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆอันห่างไกล จึงทำให้ไม่มีผู้
หลวงพ่อโพธิ์
ถ้าจะกล่าวถึงตะกรุดหลายชั้น โดยชั้นนอกเป็นตะกั่ว แกนกลางเป็นทองแดงหรือทองเหลือง ก็จะต้องนึกถึง ตะกรุดสายพิจิตร และถ้าถามถึงต้นตำรับการสร้างตะกรุดหลายชั้น ก็ต้องยกให้ หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า เป็นเจ้าแรก ต่อมาภายหลังก็มีเกจิอาจารย์สายพิจิตรชื่อดังหลายท่าน เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่อภู่ วัดท่าฬ่อ ได้แบบอย่างการทำตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์ เพียงแต่บางท่านมาปรับเปลี่ยน มาทำแกนกลางเป็นอั่วทองแดงหรือทองเหลือง เพื่อความคงทนแข็งแรง รูปทรงตะกรุดจะได้ไม่บิดงอ
หลวงพ่อโพธิ์ เป็นพระมอญ เป็นเกจิอาจารย์ยุคเก่าและเก่ามาก ๆ ด้วย คงมรณภาพมากกว่าร้อยปีแล้ว ประวัติความเป็นมาจึงลางเลือน มีแต่คำบอกเล่าว่าท่านชอบธุดงค์ไปตามป่าเขา แล้วสร้างกุฏิเล็ก ๆ ของท่านไว้กลางป่า ท่านชอบอยู่องค์เดียวไม่ชอบความอึกทึก ชอบนั่งวิปัสสนา มีเรื่องเล่าว่า เวลาเกิดไฟป่า ไฟลามไปใกล้ ๆ กุฏิของท่าน ท่านก็ไม่หนี สุดท้ายไฟป่าก็ดับเอง ต่อมาได้มีการจัดสร้างวัดวังหมาเน่าขึ้น สาเหตุที่เรียกแบบนี้ก็เพราะเหนือบริเวณวัดขึ้นไป ประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ เมตร สายน้ำตรงนั้นจะเลี้ยวโค้งหักศอก ทำให้เกิดวังน้ำวนขึ้น หมาเน่าที่ลอยมาตามน้ำก็จะไหลวนอยู่ตรงบริเวณนั้น บางครั้งมีหมาเน่าตายอยู่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีกลิ่นเหม็นมาก ๆ แต่หลวงพ่อโพธิ์ท่านไม่รังเกียจ และไม่เหม็นด้วย เพราะท่านมีคาถาดี หลังจากหลวงพ่อโพธิ์มรณภาพไปแล้ว ทางวัดจึงถูกจัดตั้งใหม่และเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเรียกว่า “วัดโพธิ์ศรี” ประมาณปี ๒๔๘๒ โดยใช้ชื่อหลวงพ่อโพธิ์เป็นหลักในการตั้งชื่อวัด
จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในละแวกนั้น บอกว่าหลวงพ่อโพธิ์ท่านสร้างตะกรุดไว้น้อยมาก ส่วนใหญ่ลูกศิษย์จะขอร้องให้สร้าง เพื่อพกติดตัวไว้ป้องกันอันตรายและลูกศิษย์จะต้องจัดหาวัสดุ ได้แก่ แผ่นตะกั่ว, แผ่นทองแดง หรือแผ่นทองเหลือง หลวงพ่อโพธิ์จะสร้างตะกรุดขนาดเขื่อง โดยมีแผ่นทองแดงหรือแผ่นทองเหลืองพันอยู่ตรงกลาง วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกั่วชำรุดง่าย เพราะถ้าใช้ตะกั่วอย่างเดียวจะบี้แบนได้ง่าย แผ่นตะกั่วของหลวงพ่อจะค่อนข้างหนากว่าเกจิอาจารย์ท่านอื่น ท่านจะจารอักขระต่าง ๆ ลงบนแผ่นตะกั่ว, แผ่นทองแดง, แผ่นทองเหลือง อย่างจุใจ คือลงเต็มแผ่นโลหะจนเสร็จ เวลาม้วนท่านจะวางแผ่นตะกั่วไว้ด้านนอก และแผ่นทองแดงแผ่นทองเหลืองไว้ด้านใน วางซ้อนกันแล้วค่อยม้วน แผ่นโลหะ ต่าง ๆ จะซ้อนกันสลับกันไป ตะกรุดบางดอก จะมีแค่แผ่นตะกั่วกับแผ่นทองแดง บางดอกจะมีแค่แผ่นตะกั่วกับแผ่นทองเหลือง และบางดอกก็มีโลหะ๓ ชนิดเลย ก็คือ แผ่นตะกั่ว, แผ่นทองแดง และแผ่นทองเหลืองม้วนซ้อนกัน แล้วแต่ลูกศิษย์จะจัดวัสดุมาให้ เมื่อท่านม้วนตะกรุดเสร็จ หลวงพ่อโพธิ์จะปลุกเสกเดี่ยว จนเต็มที่แล้ว แล้วจะแจกคืนเจ้าของภายหลัง
ตะกรุดของท่านมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเท่าหัวแม่มือถึงขนาดแฮนด์รถจักรยาน มีทั้งแบบถักเชือกแล้วลงรัก หรือแบบเปลือยไม่ถักเชือกก็มี ตะกรุดของท่านส่วนใหญ่จะมีตั้งแต่ขนาด ๔” ขึ้นไป ส่วนดอกสั้น ๆ ขนาด ๑.๕” จะไม่ค่อยเจอ เคยเจอบางครอบครัวมีตะกรุดอยู่แค่ดอกเดียวแต่มีลูกอยู่หลายคน สุดท้ายต้องตัดแบ่ง ๆ กันไปก็มี แต่ส่วนใหญ่ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ จะสมบูรณ์เกือบทุกดอก เพราะเป็นตะกรุดขนาดใหญ่ พกพานำติดตัวจะลำบาก ส่วนใหญ่จึงเก็บไว้บนหิ้ง และจะใช้ตะกรุดดอกเล็ก ๆ ของอาจารย์อื่นมาพกติดตัวแทน ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์จะดีทางด้านคงกระพันชาตรี มีคนเคยถูกยิงก็มากไม่มีเข้า มีเรื่องเล่าของชาวบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งมีตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์คาดเอวไว้ดอกหนึ่ง ชาวบ้านผู้นี้เป็นชาวบ้านแถว ๆ วัดวังหมาเน่า พอถึงหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำบางช่วงจะตื้น พอเดินลุยข้ามแม่น้ำได้ ชาวบ้านผู้นี้ได้จูงควายข้ามแม่น้ำ แต่ควายไม่ยอมลง ชาวบ้านผู้นี้ก็ลงไปก่อน แล้วค่อยดึงเชือกให้ควายเดินตามลงไป ขณะที่ลงไปแกไม่ทันสังเกตว่ามีจระเข้ขนาดใหญ่ที่ซุ่มอยู่แถวนั้น จระเข้ตัวนั้นเลยกัดเข้าที่บั้นเอวแล้วคาบลงไปในน้ำ เจ้าของตะกรุดแกมีสติดี แกชักมีดที่เหน็บไว้ที่เอวใช้มือคลำหาลูกตาจระเข้แล้วเอามีดแทงที่ลูกตาของมัน จระเข้เจ็บจึงปล่อยชายผู้นั้นออกจากปาก แล้วมันก็เผ่นหนีไป ภายหลังมาดูบาดแผล ปรากฏว่าไม่มีเข้าแม้แต่เขี้ยวเดียว สุดยอดจริง ๆ
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
เพื่อเผยแผ่กิตติคุณเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์