- 26 ม.ค. 2561
ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ www.tnews.co.th
หลวงปู่ต่วน วัดลาย ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย
๑ ความเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์
ในปี๒๔๘๒ มีนกเหยี่ยวขาวตัวหนึ่งไปโฉบเอาลูกไก่ชาวบ้าน ไปเกาะอยู่บนต้นยางภายในวัด ชาวบ้านตามล่าเพื่อจะฆ่าเหยี่ยวตัวนั้นเสีย หลวงปู่ต่วนทราบเรื่อง จึงบอกชาวบ้านมิให้ฆ่าเหยี่ยวตัวนั้น โดยท่านบอกว่านกมันไม่ไปไหนหรอก แล้วหันหน้าไปทางเหยี่ยวตัวนั้น แล้วพูดว่า เออ มึงอยู่นี่แหละ! เท่านั้น นกเหยี่ยวตัวนั้นเกาะอยู่บนต้นยาง ตลอด ๓ วัน ไม่ได้ไปไหนเลย ต่อมาหลวงปู่สงสาร และกลัวจะเป็นบาป ท่านจึงบอกให้มันไป แล้วเหยี่ยวตัวนั้นก็บินไปจากต้นยาง
ความเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ตอน ๒
ในปี๒๔๘๕ หลวงปู่ต่วนได้สร้างพระพุทธรูป (พระพุทธสีมาชัยสิทธิ) เป็นพระประทานในอุโบสถ โดยจ้างช่างหล่อจากรุงเทพ เมื่อหล่อเสร็จแล้วได้ส่งพระพุทธรูปมาทางเรือ มาทางลำน้ำยม ซึ่งสมัยนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวกเช่นสมัยนี้ ท่านจึงขอให้ชาวบ้านจอมสังข์ ผู้มีความชำนาญทางน้ำและทางเรือ ได้ช่วยเป็นธุระในการขนส่งพระประธานมาทางเรือ ในการช่วยขนส่งนี้ ก็มีชาวบ้านชื่อ นายแพ เสื้อผ้าที่นายแพ ส่วมใส่ก็เปียกน้ำ จึงนำกางเกงแพมาผลัดเปลี่ยน ให้เป็นการชั่วคราวก่อน พอดีที่ สิบตำรวจโทนายหนึ่ง(น้องเขย) ประจำสถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอคีรีมาศ พบเข้าจึงเข้าจับกุม ข้อหาทำผิดวัฒนธรรม ขัดขืนคำสั่งรัฐบาล ซึ่งสมัยนั้น จอมพล ป เป็นนายก ประกาศ ห้ามกินหมาก ห้ามนุ่งโจงกระเบน ห้ามนุ่งกางเกงแพ
ก็เลยถูกปรับเป็นเงิน ๔ บาท มีผู้ทราบเรื่อง เอาเรื่องไปบอกหลวงปู่ต่วนเข้า หลวงปู่ได้ฟัง ท่านก็พูดว่า อ้ายนี่มันบ้า! หลังจากนั้นให้๓วัน สิบตำรวจโท นายหนึ่ง ก็มีอาการผิดปกติ ไปเยี่ยวไปไหว้ต้นโพธิ์ ที่อยู่วัดดุสิตดาราม พี่สาว ผู้เป็นเมียนายแพ ทราบเรื่องเข้า จึงขอร้องให้นายแพ นำสิบตำรวจโทสำรวย ไปหาหลวงปู่ต่วน เพื่อขอให้หลวงปู่รดน้ำมนต์ ครั้นหลวงปู่รดให้๒ครั้ง ท่านก็พูดว่า มันเป็นของมันเอง แต่พอรดน้ำมนต์ ครั้งที่ ๓ ก็เลยหายจากอาการเป็นบ้า และถูกย้ายไปที่อื่น ในที่สุดก็ออกจากราชการ หาความเจริญมิได้เลย อนึ่งว่า..เพราะความเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ของท่านนี้ ถ้าใครไปทำชั่วภายในวัด คนนั้นก็จะหาความเจริญมิได้เลย หลวงปู่ต่วนเคยพูดกับ พระครูวิบูรณกิจว่า..ถ้าใครเป็นศัตรูกับวัด จะมีความจัญไรไปจนตาย
หลังจากวัดป่าเลไลย์ได้ร้างว่างเปล่าไป สักระยะหนึ่ง ก็ทรุดโทรมตามกาลเวลา เหลือสภาพเป็นเพียงพื้นที่ รกร้างว่างป่าว ประมาณ ๔๐๐ กว่าปี เหลือแต่เพียงฐานอุโบสถ และฐานเจดีย์ เก่าที่พอเห็นเป็น โบราณวัตถุ
ผู้แต่ง :: สันนิษฐาน คาดว่ามีกลุ่มชาวบ้านมาตั้งรกราก อีกครั้ง เป็นหมู่บ้านทุ่งหลวง เมื่อประมาณปี ๒๓๐๐ กว่า อ้างอิงคาดการณ์ตามหลักฐานการตั้งวัด ดุสิตดาราม (วัดกลาง) เมื่อปี ๒๓๖๘ และในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งที่ มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้รวมกำลัง กับชาวบ้านกลับมาริเริ่มสร้างวัดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง พระภิกษุรูปนั้น ก็คือ พระต่วน ธมฺมปญฺโญ (อยู่นา)
ประวัติ…
พระต่วน ธมฺมปญโญ ก่อน บรรพชา อุปสมบทชื่อเดิมว่า นายต่วน อยู่นา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๒๑ (ตรงกับวัน วันที่๕ ขึ้้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล ตามปฏิทินไทย) เป็นบุตรคนโตของ นายทองอยู่ กับ นางสายทอง อยู่นา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๘ คน แบ่งเป็น ชาย ๖ คน และ หญิง ๒คน
อุปนิสัยในวัยเด็ก
เมื่ออยู่ในเยาว์วัย ท่านเป็นคนที่ชอบ ใฝ่ หาความรู้ ศึกษาจากผู้ใหญ่จนสามารถเขียนภาษาไทยและอักษรขอมได้อย่างสวยงามมาก มีจิตใจมั่นคง อารมณ์เยือกเย็นจึงเป็นที่รักใคร่ของบรรดาเพื่อนชายและหญิงทั้งหลาย ขยันต่อการทำมาหากิน พ่อแม่ก็รักใคร่ และ มีจิตน้อมนำไปในทางบรรพชา อุปสมบท
ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๔๒) ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดวาลุการาม(วัดโตนด) ตำบลโตนด กิ่งอำเภอคีรีมาศ (ปัจจุบันอำเภอคีรีมาศ) จังหวัดสุโขทัย โดยมีพระอุปัชฌาย์เผือก วัดวาลุการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์นวล วัดดุสิตดาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอาจารย์โต๊ะ วัดบึง เป็นพระอนุสาสนาจารย์
จบตอนที่ ๓ และนี่คือจุด เริ่มต้น ของ พระอุปัชฌาย์ต่วน หรือ หลวงปู่ต่วน เจ้าอาวาสวัดลายรูปที่ ๑ ผู้เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชุมชนทุ่งหลวง ในปัจจุบันนี้
หมายเหตุ : การบรรพชาอุปสมบทในสมัยก่อนเมื่อเกือบ ๒๐๐ ปีนั้น เป็นเรื่องที่ ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะต้องมีพระสังฆาเถระ ผู้ทรงภูมิ ด้วย ปัญญา และภาวนากิจ จึงสามารถเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ และในสมัยนั้น พระอุปัชฌาย์ได้อยู่ที่ วัดวาลุการาม (วัดโตนด)
อ่านเพิ่มเติม...คำไหว้พระธาตุรวม "หลวงพ่อเกษม เขมโก"
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
จากหนังสือชีวะประวัติหลวงปู่ต่วนวัดลาย
วัดลาย ทุ่งหลวง คีรีมาศ สุโขทัย
เพื่อเผยแผ่กิตติคุณเป็นสังฆบูชา