เผยเคล็ดลับ!! “การบูชาพระพรหม วิธีไหว้ขอพรพระพรหม” ที่ถูกต้อง!!ให้พรที่ขอสัมฤทธิ์ผล สมความปรารถนารวดเร็วทันใจ!!ใครแชร์บอกต่อได้บุญใหญ่!!

การบูชาพระพรหม วิธีไหว้ขอพรพระพรหม ที่ถูกต้อง ให้พรที่ขอสัมฤทธิ์ผล สมความปรารถนารวดเร็วทันใจใครแชร์บอกต่อได้บุญใหญ่

สำหรับวันนี้ ผู้เขียน มีเคล็ดลับดีๆเรื่องเกี่ยวกับ”การบูชาพระพรหม วิธีไหว้ขอพรพระพรหม”ที่ถูกต้องตามหลักการมาแนะนำทุกคนกันด้วยค่ะ เผื่อว่าอาจจะมีใครที่กำลังคิดวางแผนการเดินทางไป”ไหว้ขอพรพระพรหม “ที่ศาลพระพรหมเอราวัณ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ ก็จะได้นำประโยชน์ความรู้เหล่านี้ ไปปฏิบัติบูชา ไหว้ขอพรจาก “พระพรหม” ได้อย่างถูกต้องตามหลักการโดยทั่วกันค่ะ แต่ก่อนอื่นผู้เขียนจะขอนำท่านผู้ชม ทุกท่านมารู้จักกับประประวัติความเป็นมาของ พระพรหม กันสักเล็กน้อย แล้วค่อยกลับมาเข้าเรื่อง”การบูชาพระพรหม วิธีไหว้ขอพรพระพรหม”ที่ถูกต้องนั้นมีวิธีการปฏิบัติอย่างไรบ้าง? เอาล่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาดูประวัติความเป็นมาของ พระพรหม กันได้ดังต่อไปนี้เลยค่ะ

พระพรหม

พระพรหม (สันสกฤต: ब्रह्मा; อังกฤษ: Brahma; เตลูกู: బ్రహ్మ; ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาลนี้ อีกทั้งยังเป็นผู้ให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท ซึ่งถือเป็น คัมภีร์สำคัญทางศาสนาในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อีกด้วยค่ะ ส่วนความหมายของคำว่า พระเวท (สันสกฤต: वेद) ในที่นี้นั้นโดยทั่วไปถือว่าเป็นคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หากกล่าวโดยเฉพาะลงไปอีก ก็หมายถึง บทสวดต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวอินโดอารยัน หรืออาจเรียกได้ว่า ศาสนาพราหมณ์ฮินดูค่ะ โดยมีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ในชั้นหลัง คำว่า “เวท” นั้น หมายถึง ความรู้ มาจากธาตุ “วิทฺ” (กริยา รู้) คัมภีร์พระเวท ประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม ได้แก่
ฤคเวทใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า
 สามเวทใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า 
ยชุรเวทว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ 
และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์

นักประวัติศาสตร์จำนวนมาก ถือว่า พระเวท เป็นส่วนที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่ สำหรับส่วนที่ใหม่สุดของพระเวท น่าจะมีอายุราวพุทธกาล และส่วนที่เก่าสุด ราว 1,000 ปีก่อนพุทธกาล แต่นักภารตวิทยาเชื่อว่า เนื้อหาของคัมภีร์เหล่านี้น่าจะได้มีการท่องจำกันมาก่อนการบันทึกเป็นเวลานานมากแล้ว ซึ่งมีหลักฐานจากลักษณะทางภาษา และปริบททางสังคมต่างๆนั่นเองค่ะ

พระพรหม

พระพรหม มีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ค่ะ

กำเนิดของพระพรหมมีมากมายหลายตำรา: ถ้าเป็นคัมภีร์ปุราณะของพราหมณ์ฝ่ายพระศิวะเป็นใหญ่ (ไศวะนิกาย) จะกล่าวถึงกำเนิดพระพรหมว่า พระศิวะใช้พระหัตถ์ข้างหนึ่งลูกพระหัตถ์อีกข้างหนึ่ง บังเกิดแสงขึ้นมาในพระหัตถ์ พระพรหมก็ออกมาจากแสงนั้นเอง ด้วยเหตุผลที่พระศิวะต้องการสร้างโลก จึงให้กำเนิดพระพรหมขึ้นมาเพื่อภารกิจนี้ ตำนานนี้พระศิวะจึงเป็นผู้มีมาก่อนทุกสรรพสิ่งค่ะ

หรือถ้าเป็นคัมภีร์ปุราณะของพราหมณ์ฝ่ายพระวิษณุเป็นใหญ่ (ไวษณพนิกาย) จะกล่าวถึง กำเนิดพระพรหม ว่า พระพรหมถือกำเนิดในดอกบัว ซึ่งดอกบัวนี้ผุดขึ้นมาจากพระนาภี (สะดือ) ของพระวิษณุ นั่นหมายถึง พระวิษณุมีมาก่อนทุกสรรพสิ่ง พระองค์ต้องการสร้างโลก จึงให้กำเนิดพระพรหมขึ้นมาเพื่อภารกิจนี้ค่ะ

ส่วนในคัมภีร์มัตสยาปุราณะ เล่าว่า พระพรหม เดิมทีมีถึง ห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้าค่ะ

ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงามแม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกันค่ะ

ส่วนในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วยค่ะ. และด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามที่หลากหลาย อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้นค่ะ
ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่"

โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้นค่ะ

ในทางพระพุทธศาสนา
พระพรหม เป็นเทวดาชั้นสูงกว่าเทวดาทั่วไปในฉกามาพจร แต่มีการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ แต่ในภพชาติก่อนจุติและปฏิสนธิเป็นพรหมมีกุศลมาก มีฌาณสมาบัติเป็นอารมณ์ เมื่อตายจึงไปเกิดที่สวรรค์ชั้นนี้) อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ)
พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด 16 ชั้น และ พรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหม จะสูงกว่ารูปพรหม ,พระพรหมไม่มีเพศ ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตวโลกในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องขับถ่าย ค่ะ

พระพรหม

สำหรับการไหว้บูชาพระพรหม:จะมีวิธีการบูชา-การไหว้ขอพร ที่ไม่เหมือนกันนะคะ เนื่องจาก พระพรหม ท่านมี 4 พักตร์ แต่ละ พักตร์ หันไปทำมุมจรดกับทิศหลักที่อยู่ติดกันทำมุม 90 องศาซึ่งกันและกัน ซึ่งก็ตรงกับทิศหลักทั้ง 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ- ทิศใต้ - ทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก!! ดังนั้น ผู้เขียน ขอแนะนำว่าทุกคนควรจะทำการปฏิบัติบูชาต่อ พระพรหม ท่านให้ครบทั้ง 4 พักตร์(4 ทิศ) นะคะ ถึงแม้ว่าแต่ละคนนั้นอาจมีจุดประสงค์ในการบูชา-การไหว้ขอพรที่แตกต่างกันออกไปก็ตาม ทว่า!!ถ้าหากเราปฏิบัติบูชาต่อ องค์พระพรหมท่าน อย่างนอบน้อมเช่นเดียวกันทั้ง 4 พักตร์ นั่นหมายถึงเราได้แสดงความเคารพใน องค์พระพรหม อย่างแท้จริงไม่ได้เจาะจงเลือกปฏิบัติบูชาต่อ องค์พระพรหมท่านแค่เพียงเฉพาะ พักตร์ ที่เป็นจุดประสงค์หลักเท่านั้น!! 

หากสถานที่ทุกคนไไหว้บูชานั้นเป็นเทวาลัยขนาดใหญ่ยิ่งโดยเฉพาะ(ศาลพระพรหมเอราวัณ)
ทุกคนควรไหว้บูชา
พระพรหมให้ครบทั้ง 4 พระพักตร์ โดยให้เริ่มจากพระพักต์กลางแล้ว เดินวนไปตามเข็มนาฬิกา จนกลับมาที่เดิมค่ะ

พระพรหม

เครื่องบูชา เครื่องสังเวยต่างๆ
ดอกไม้ กลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมะลิ ดาวเรือง ดอกบัว ดอกโมก กำยานและธูป ใช้จุดได้ทุกกลิ่น

อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมหวาน รสอ่อน ไม่ปรุงรสมากเกิน ไม่เค็มจัด ไม่ผสมสี เน้นธรรมชาติให้มากที่สุด

ผลไม้ ถวายได้ทุกชนิด แนะนำมะพร้าว สาลี่ ชมพู่ กล้วย

สามารถถวาย ธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวหุง เมล็ดถั่วต่างๆ งาขาว งาดำ ลูกเดือย เผือก มัน สมุนไพร เมล็ดพริกไทย ผักชี ใบกระเพรา พืชผักสดต่างๆ (ของทุกอย่างจะสุกหรือไม่สุกก็ได้ เช่น ผักสดก็ถวายได้ ผักต้มสุกก็ถวายได้) ห้ามถวายเนื้อสัตว์เด็ดขาด

บทสวดมนต์บูชาพระพรหม
ก่อนสวดบูชาพระพรหม ต้องสวดบูชาพระพิฆเนศ ก่อนทุกครั้งนะคะ
ซึ่งเป็นกฎการไหว้เทพของศาสนาพราหมณ์ทุกนิกาย

บทสวดพระพรหม
(เลือกสวดบทใดก็ได้)

– โอม พรหมมายะ นะมะห์ ( 4 จบ)
– โอม ปะระเมศะ นะมัสสะการัม โองการะ นิสสะวะรัม
พรหมเรสะยัม ภูปัสสะวา วิษณู ไวยะทานะโมโทติลูกะปัม
ทะระมา ยิกยานัม ยะไวยะลา คะมุลัม
สะทานันตะระ วิมุสะตินัม
นะมัสเต นะมัสเต จะอะการัง ตะโถวาจะ
เอตามาตาระยัต ตะมันตะรามา
กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม
สัมโภพะกะละ ทิวะทิยัม มะตัมยะ ( 1 จบ)
โอม จะตุระมุขายะ วิทมะเห
หัมษา รุทายะ ธีมะหิ
ตันโน พรหมมา ประโจทะยาต (1 จบ)
– โองการพินธุนาถัง อุปปันนัง
พรหมมาสะหะปะตินามะ
อาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมังทิสะวา
นะโมพุทธายะ วันทะนังฯ
– โอม พรหมมะเณ ยะนะมะ
โองการพินทุ นาถังอุปปันนาถัง
สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมัง
พรหมมาสะหัมปะตินามัง ทิสสะวา นะโมพุทธายะ วันทานัง
– โอม พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ทุติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ตะติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
– พรหมมาจิตตัง ปิยังมะมะ
นะชาลีติ นะมะพะทะ
นะมะอะอุ เมกะอะอุ
– ปิโย เทวะ มะนุสสานัง ปิโย พรหมมา นะมุตตะมัง
ปิโย นาคะ สุปันณานัง ปินินทะริยัง นะมามิหัง

“การกราบไหว้สักการะเทวรูปพระพรหม หากใครไม่แน่ใจว่า เป็น พระพรหมของฮินดู (ผู้สร้างโลก) หรือเป็น พระพรหมของพุทธศาสนา (ผู้ทรงพรหมวิหาร) แนะนำให้สวดบูชาทั้ง 2 คติเลย ซึ่งไม่ถือเป็นการผิดบาปแต่อย่างใดนะคะ ดังนั้นทุกคนไม่ต้องเป็นกังวลอะไรมากมาย ให้เอาตามที่เราเคารพศัทธาเชื่อถือเป็นหลัก เนื่องจากการสักการะเทวรูปพรหมในคติหนึ่งแล้วระลึกไปถึงอีกคติหนึ่ง จะนำมาซึ่งสิริมงคลทั้ง 2 ศาสนา (พุทธ-พราหมณ์)”

พระพรหม

ไหว้พระพรหม จุดธูปกี่ดอก ?
การบูชาพระพรหมทั้ง 4 พักตร์ หรือ 4 ทิศ แต่ละ พักตร์ นั้นจะมีความหมายแตกต่างกันไป ถ้าใครต้องการหรือประสงค์ในสิ่งใด ก็สามารถที่จะเลือกไปไหว้บูชาในแต่ละตำแหน่งตามความประสงค์ของแต่ละคนได้ดังนี้ค่ะ

1. โดยปกติทั่วไป จะไหว้ที่ด้านหน้า ด้วยธูป 16 ดอก แล้วถวายดอกไม้หอม ขอพรจากท่าน ซึ่งทิศนี้ จะให้ขอเกี่ยวกับเรื่องการงาน การเรียน การสอบ เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง สอบเข้าได้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิตค่ะ

2. แล้วเดินต่อไปอีกทางขวามือ ไปยังทิศที่ทิศที่ 2 ใช้ธูป 36 ดอก ดอกไม้หอม ซึ่งทิศนี้จะขอเกี่ยวกับเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ให้ขายที่ได้ หรือทำโครงการสังหาริมทรัพย์ประสบความสำเร็จ ขอให้ซื้อบ้านและที่ดินได้ รถยนต์ รวมถึงหนี้สินจากการนี้ และ เงินหรือหนี้สิน ที่มีคนยืมไปแล้วไม่คืนค่ะ

3. เดินต่อไปอีกทางขวามือ มายังทิศที่ 3 ใช้ธูป 39 ดอก ดอกไม้หอม ซึ่งทิศนี้จะให้ขอเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ คู่ชีวิต ครอบครัว ญาติพี่น้อง เรื่องเกี่ยวกับแม่ คู่สัญญา หุ้นส่วน ความมั่นคงของชีวิตค่ะ

4. และเดินต่อไปอีกทางขวามือ มายังทิศที่ 4  ซึ่งเป็นทิศสุดท้าย ใช้ธูป 19 ดอก ดอกไม้หอม ซึ่งทิศนี้จะขอเกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ สิ่งที่ได้มาโดยบังเอิญ การเสี่ยงโชค การขอกู้ยืมเงิน ขอออเดอร์สินค้า เรื่องของบุตร ใครยังไม่มีบุตรให้มาขอได้ จะมีโอกาสประสบผลสำเร็จค่ะ

ความหมายการกราบไหว้พระพรหมตามความเชื่อแต่ละทิศ คือ ดังนี้ค่ะ

1. ทิศเหนือ -บูชาเพื่อขอพรเรื่อง อาชีพ หน้าที่การงานค่ะ

2. ทิศใต้ -บูชาเพื่อขอพรเรื่อง เกี่ยวกับเกียรติยศ ชื่อเสียงค่ะ

3. ทิศตะวันตก -บูชาเพื่อขอพรเรื่อง อนาคตค่ะ

4. ทิศตะวันออก -บูชาเพื่อขอพรเรื่อง ครอบครัวค่ะ

พระพรหม

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย,
ข้อมูลจาก: http://www.siamganesh.com/ ,http://www.scgexperience.co.th/,และข้อมูลเพิ่มเติม,(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย: โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์