- 26 เม.ย. 2561
ติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ http://www.tnews.co.th/
วัดปริวาสราชสงคราม แต่เดิมนั้นอยู่ในการปกครองของตำบลบางโพงพาง อำเภอบ้านทวาย จังหวัดพระนคร เขื่อนขันธ์ เก่าก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นในเขตการปกครองปัจจุบัน แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร วัดปริวาสราชสงคราม ในปัจจุบัน(พ.ศ. 2548) มีพื้นที่ทั้งสิ้น 11 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา และมีที่ธรณีสงฆ์อีก 2 แปลง แปลงหนึ่งมีพื้นที่ 5 ไร่ 75 ตารางวา ส่วนอีกแปลงหนึ่งมีพื้นที่ 2 ไร่ 2งาน วัดปริวาสฯนั้น ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งพระนครทิศเหนือ จรดถนนพระรามที่ 3 ทิศใต้ จรดแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก จรดที่ดินเอกชน คือ จตุจักรพระราม 3 ทิศตะวันตก จรดคลองปริวาส ที่ดินทางด้านทิศตะวันออกแบ่งเป็นเขตกรรมสิทธิ์โรงเรียนวัดปริวาส ด้วยเนื้อที่จำนวน 2 ไร่ 59 ตารางวา ดังนั้นด้านทิศตะวันออกจึงติดโรงเรียน วัดปริวาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
จากคำบอกเล่าของผู้ที่อาศัยอยู่ที่ตำบลบางโพงพางมานาน ที่มีข้อมูลของวัดตรงกันว่า วัดปริวาส เดิมนั้นน่าจะชื่อว่า วัดปริวาส ซึ่งแต่ก่อนนั้นอาจจะเป็นเพียงสำนักสงฆ์หรือวัดเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนและต้นไม้มากมาย ซึ่งเศรษฐีสมัยก่อนที่มีค่านิยมในการสร้างวัดไว้ โดยคาดว่าสร้างราวปลายกรุงศรีอยุธยถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งวัดหรือสำนักสงฆ์นี้เมื่อผู้สร้างได้เสียชีวิตลง หรือมีการโยกย้ายถิ่นฐาน จึงไม่มีผู้ที่ทำนุบำรุงต่อไป จึงทำให้วัดตกอยู่ในสภาพทรุดโทรมลงตามกาลเวลาต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2-3 ได้มีหลักฐานจากวัดข้างเคียงในละแวกเดียวกันว่า กรมหมื่นศักดิ์พลเสนา ได้สร้างวัดขึ้นที่ริมคลองลัดหลวงฝั่งทิศตะวันตก โดยมีพระยาเพชรพิชัย (เกษ) ซึ่งจากหลักฐานปรากฏว่า ต้นตระกูลท่านเป็นนายช่างที่สืบทอดต่อกันมา เป็นรุ่นต่อรุ่นและยังเป็นพี่เลี้ยงของพระองค์ท่าน โดยเป็นถึงแม่กองงานที่ได้รับมอบหมาย พระยาเพชรพิชัยนั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถโดยเป็นแม่งานในการสร้างพระนครเขื่อนขันธ์(พระประแดง)และวัดขึ้นที่นั้นจนเป็นที่รู้จัก และวัดนั้นเมื่อสร้างเสร็จได้รับพระราชทานามว่า "วัดไพชยนต์พลเสพย์"(วังหน้า)
พระยาเพชรพิชัยเป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก อยากสร้างวัดไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์จึงได้ทูลขออนุญาตสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง อยู่ตรงข้าม วัดไพชยนต์ โดยได้รับพระราชทาน ชื่อว่า "วัดโปรดเกศเชษฐาราม"(วังหลวง) โดยวัดทั้งสองนี้เป็นวัดหลวง ในการสร้างวัดทั้งสองวัดนี้ มีนายกองที่สำคัญอีกท่านหนึ่ง คือ พระยาราชสงคราม (ทัต) เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีความสามารถในทางการก่อสร้างและออกแบบวัดวัง และมีความศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นอย่างมากอีกด้วย เมื่อท่านทั้งสอง (พระยาเพชรพิชัย (เกษ) และพระยาราชสงคราม(ทัต) ได้ทำงานร่วมกันสร้าง วัดไพชยนต์พลเสพย์ และวัดโปรดเกศเชณฐราม ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเห็นว่ามีวัดอีกวัดหนึ่งที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับวัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก จึงได้มาทำการบูรณะใหม่จนสวยงามแล้วตั้งชื่อว่า วัดปริวาสราชสงคราม ตามบรรดาศักดิ์ของท่านลงท้ายชื่อวัดนี้ด้วย และจากบันทึกถ้อยคำบอกเล่าของปู่เสงี่ยม เถื่อนอิ่ม ที่มีอายุ 91 ปี (พ.ศ. 2548) โดยเล่าว่าตนเองเคยบวชที่วัดปริวาสนี้เมื่อ พ.ศ. 2478 ได้เล่าให้ฟังว่า ท่านเห็นป้ายวัดปริวาสราชสงครามติดอยู่ที่ด้านหน้าของวัดติดอยู่ที่ศาลาริมน้ำอยู่แล้ว ซึ่งสมัยก่อนวัดหันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากผู้คนในสมัยก่อนนั้นจะใช้การติดต่อทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่มีถนนพระราม 3 เหมือนในปัจจุบัน ตั้งแต่วัดได้มีชื่อเต็มๆ ว่า วัดปริวาสราชสงคราม ผู้คนที่มาเที่ยวงานประจำปีแต่ละครั้ง จะมีแต่เรื่องทะเลาะวิวาทเป็นประจำ หลวงพ่อวงษ์ จึงตัดชื่อท้าย "ราชสงคราม" ออกเหลือแต่คำว่า "วัดปริวาส" ซึ่งเป็นเรื่องแปลก หลังจากที่ตัดคำว่า ราชสงครามออกแล้ว การมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันลดลงจนแทบไม่มี ปัจจุบันป้ายวัดปริวาสฯ เดิมได้รับการบูรณะและติดอยู่ริมแม่น้ำ และมีป้ายชื่อวัดปริวาสอีกป้ายติดอยู่ที่ซุ้มวัด ด้านถนนพระราม 3 ซอย 30 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพ
ก่อนที่พระยาราชสงคราม จะมาบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานต่างๆ ของวัดปริวาสฯ นั้นจากคำบอกเล่าและหลักฐานพอจะสันนิษฐานว่า วิหารเดิมเก่าของวัดน่าจะเป็นการสร้างพระอุโบสถมาก่อนเนื่องจากในการสร้างพระอุโบสถในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น การสร้างพระอุโบสถจะต้องมีบ่อน้ำไว้ทางทิศตะวันออก ของโบสถ์ซึ่งสมัยก่อนมักจะใช้เป็นบ่อน้ำมนต์และพระประธานในวิหารก็เป็นศิลปะแบบเดียวกัน และการบูรณะของพระยาราชสงครามนั้นไม่น่าจะเป็นการนำวัสดุที่เหลือจากการสร้างวัดโปรดเกศฯมา๋ซ่อมแซม เนื่องด้วยการสร้างพระอุโบสถนั้นจะมีการนำกระเบื้องเคลือบมาประดับหน้าบันพระอุโบสถตามศิลปะสมัยนิยมในรัชกาลที่ 3 แต่ไม่มากนัก จะมีบันไดสี่ด้านและแต่ละด้านจะมีสิงโตจีนด้านละหนึ่งคู่ทั้งหมดสี่คู่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงหนึ่งคู่ ตั้งอยู่ที่กุฏิพระครูพิศาลพัฒนพิธาน(เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)และมีแผ่นหินอับเฉาเรือ สมัยโบราณขนาดประมาณหนึ่งเมตรและสองเมตรฝังอยู่บริเวณลานวัดจำนวนมากและจากหลักฐานข้อมูลบรรณานุกรม ของหอสมุดแห่งชาติ ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ช่วงที่พระองค์ขึ้นครองราชย์นั้น พระพุทธศาสนามีความรุ่งเรืองมาก เนื่องจากพระองค์ท่านมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากพระองค์ท่านได้เก็บรวบรวมอัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดต่างๆ ที่ถูกเผาสมัยสงครามเป็นจำนวนมากสันนิษฐานว่าพระองค์ท่านได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานตามวัดที่ท่านโปรดสร้างขึ้น หรือวัดที่นายกองได้บรูณะซ่อมแซมไว้ เนื่องจากพระประธานในพระอุโบสถของวัดปริวาสเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งไม่ปรากฏในวัดต่างๆ ในเขตยานนาวา และเมื่อพระองค์ได้ครองราชย์ถึงปี พ.ศ. 2393 พระองค์ท่านทรงพระประชวรเป็นอย่างมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าบุตรี เชิญออกมาให้พระยาราชสุภาวดี เมื่อวันศุกร์ เดือน 3 แรม 5 ค่ำ เวลาเข้า 4 โมงเศษ (ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2393)
ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com
ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/watpariwas/ วัดปริวาสราชสงคราม
พระพุทธเจ้าก็ยังมีชาติที่เป็น พญาเหี้ย และเวียนว่ายตายเกิด เหมือนกัน
ซึ่งที่นั้นยังได้มีการปั้นรูปนี้อยู่ด้านหลังโบสถ์ วัดปริวาสราชสงครามจากนิทานชาดก พญาเหี้ย (โคธชาดก) หรือ ความหมายของคำว่า "โคธชาดก"
คำว่า "โคธชาดก" นี้มาจากคำสองคำรวมกันคือคำว่า "โคธา" กับ คำว่า "ชาดก" แปลว่าเรื่องเล่าถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า กล่าวคือชีวประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ ส่วนคำว่า "โคธา" ภาษาไทยเราแปลว่า "เหี้ย" ซึ่งเป็นสัตว์เลี้อยคลานชนิดหนึ่งอยู่ทั้งในน้ำ บนบก บนต้นไม้ กินทุกอย่างที่ขวางหน้า ไม่ว่าจะเป็นซากสัตว์ หรือสัตว์เล็กที่ยังมีชีวิตอยู่กินปลาด้วย
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีดาบสผู้มีตบะกล้าตนหนึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้าน จึงได้สร้างศาลาไว้ให้ที่ชายป่าแห่งหนึ่งใกล้บ้าน ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นเหี้ยตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ที่จอมปลวกแห่งหนึ่ง ใกล้ที่จงกรมของดาบสนั้น มันจะไปหาดาบสวันละสามครั้งเป็นประจำทุกวัน เพื่อฟังธรรม ไหว้ดาบสแล้ว จึงกลับไปอยู่ที่อยู่ของตน
ต่อมาไม่นาน ดาบสนั้น ได้อำลาชาวบ้านไปที่อื่น ได้มีดาบสโกงตนหนึ่ง เข้ามาอาศัยในศาลานั้นแทน เหี้ยพระโพธิสัตว์ก็คิดว่า แม้ท่านผู้นี้ก็ทรงศีลเหมือนกัน จึงไปหาดาบสนั้นเช่นเดิม
อยู่มาวันหนึ่ง ฝนได้ตกมาในฤดูแล้ง ฝูงแมลงเม่าได้พากันบินออกจากจอมปลวกเป็นจำนวนมาก ฝูงเหี้ยก็ได้ออกมากินแมลงเม่าเหล่านั้น พวกชาวบ้านพากันออกมาจับเหี้ยแล้วปรุงเป็นอาหาร รสอร่อยนำมาถวายดาบส ดาบสได้ฉันเนื้อนั้นแล้วติดใจในรส เมื่อทราบว่าเป็นเนื้อเหี้ย จึงคิดได้ว่า
" มีเหี้ยใหญ่ตัวหนึ่งมาหาเราเป็นประจำ เราจะฆ่ามันกินเนื้อ "
จึงให้ชาวบ้านเอาเครื่องปรุงมาไว้ให้ ได้นั่งถือค้อนห่มคลุมผ้าอยู่ที่ประตูศาลา
เย็นวันนั้น เหี้ยโพธิสัตว์ ได้ไปหาดาบสตามปกติ ได้เห็นท่านั่งที่แปลกของดาบส คิดว่า " วันนี้ดาบส นั่งท่าที่ไม่เหมือนวันก่อน นั่งชำเลืองเราเป็นประจำ " จึงไปยืนดูอยู่ใต้ทิศทางลม ได้กลิ่นเนื้อเหี้ย จึงทราบว่า " ดาบสโกงนี้ คงฉันเนื้อเหี้ย ติดใจในรสแล้ว คราวนี้ หวังจะตีเรา เอาเนื้อไปแกงเป็นอาหารแน่ๆ " จึงไม่ยอมเข้าไปใกล้ ถอยกลับแล้ววิ่งหนีไป
ฝ่ายดาบสโกงทราบว่าเหี้ยรู้ตัวไม่ยอมมาแล้ว จึงลุกขึ้นขว้างค้อนตามหลังไป ค้อนได้ถูกเพียงหางเหี้ยเท่านั้น เหี้ยได้หลบเข้าไปในจอมปลวกอย่างรวดเร็ว โผล่เพียงศีรษะออกมาเท่านั้น กล่าวติเตียนดาบสด้วยคาถานี้ว่า
" นี่เจ้าผู้โง่เขลา จะมีประโยชน์อะไรแก่เจ้า ด้วยชฎาและการนุ่งห่มหนังเสือเหลือง
ภายในของเจ้าแสนจะรกรุงรัง เจ้าดีแต่ขัดสีภายนอกเท่านั้น "
นิ ท า น ช า ด ก พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า 5 0 0 ช า ติ
พระพุทธเจ้าของเราแต่ปางก่อนก็เคยเสวยพระชาติเป็นเหี้ย ในนิบาตชาดกหมวดเอกนิบาต ชาดกเรื่องที่ 138 โคธชาดก มีเรื่องย่อว่า ครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเหี้ย
เหี้ยไม่ใช่สัตว์เลวร้ายและไม่มีอะไรน่ารังเกียจถึงขั้นปรักปรำให้มันเป็นต้นเหตุของเสนียดจัญไร หากมนุษย์จะให้ความเป็นธรรมกับมันสักหน่อย เหี้ยควรจะถูกจัดขึ้นทำเนียบเป็นสัตว์ชั้นสูงเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากรูปกายมีเกล็ด มีขาทั้งสี่และท่อนหางทรงพลัง มีลิ้น 2 แฉก ลักษณะที่ว่านี้ไม่ต่างอะไรกับมังกร
พระพุทธเจ้าเองก็เวียนว่ายตายเกืดเป็นสรรพสัตว์มานับชาติไม่ถ้วน ทั้งขึ้นสวรรค์ ลงนรก มาเกือบทุกภพภูมิ เว้นแต่เป็นพรหมในชั้นสุทธาวาสเท่านั้น.
ขอบคุณภาพ และข้อมลู ปอกเปลือก ทรราช ถังมังกร เฟลม https://pantip.com/