- 03 พ.ค. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
“นะมัง เพลิง โมมัง ปากกระบอก ยะ มิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด
อะสังวิสุ โรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห”
คาถากำกับหนุมาน
หลวงพ่อสุ่น
เครื่องรางหนุมานที่ขึ้นชื่อที่สุดนั้น เห็นจะเป็นหนุมานจากหลวงพ่อสุ่น ซึ่งในวงการนักสะสมเครื่องรางของขลังนั้นพูดกันจนติดปากเลยว่า “เสือหลวงพ่อปาน หนุมานพ่อสุ่น” และหนุนมานของหลวงพ่อสุ่นนั้นถึงกับได้รับ สมญานามว่า “ขุนกระบี่ ฤทธิ์เกริกไกร หนึ่งในสยาม” เพราะในเรื่องหนุมานไม่มีใครจะเกินหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน เกาะเกร็ด นนทบุรี ไปได้จริงๆ จนถือเป็นสุดยอดของขลังที่ นักสะสมใฝ่หาไว้มาครอบครองบูชา
ย้อนไปถึงประวัติการแกะสลักหนุมานของหลวงพ่อสุ่นนั้น ต้องย้อนไปถึงตอนที่หลวงพ่อยังเป็นเพียงพระลูกวัด ท่านได้ปลูกต้นไม้ไว้ 2 ต้นด้วยกัน คือ ต้นรักและต้นพุดซ้อน ซึ่งท่านได้ดูแลต้นไม้สองต้นนี้อย่างดีที่สุด โดยแม้แต่น้ำที่นำมารดนั้นยังเป็นน้ำสะอาดที่ทำเป็นน้ำมนต์เสียก่อน จะนำไปรด
เวลาผ่านไปเมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาส และต้นไม้ทั้งสองเติบโตมากขึ้นแล้ว ท่านจึงดูฤกษ์ยามทำพิธีพลีและสังเวยก่อนลงมือขุดด้วยตัวเองท่านเอง! มาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านคงทราบแล้วว่า เหตุใดท่านจึงปลูกและดูแลต้นไม้สองต้นนี้อย่างดีที่สุด เพราะท่านต้องการจะนำมาทำเป็นเครื่องรางของขลัง ให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาของท่านเอง
เมื่อท่านตัดพร้อมตากแดดจนแห้ง แล้วจึงนำไปให้ช่างแกะเป็นรูปหนุมานจนหมด และห่อรวมกันด้วยผ้าขาวใส่บาตรเพื่อปลุกเสกในกุฏิของท่าน จนถึงวันเสาร์ซึ่งถือว่าเป็นวันแรง ท่านก็จะนำไปปลุกเสกในพระอุโบสถ เมื่อเสร็จกระบวนการแล้ว ท่านจึงนำมาแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาและผู้ถวายปัจจัยในการบูรณปฏิสังขรณ์วัด
โดยหนุมานของหลวงพ่อสุ่น แบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์คือ พิมพ์หน้าโขนและพิมพ์หน้ากระบี่
ซึ่งจะต่างกันตรงที่ พิมพ์หน้าโขนจะเก็บรายละเอียดต่างๆจนครบถ้วน ทำให้มีขลังและความสวยงามยิ่ง ส่วนพิมพ์หน้ากระบี่ จะเป็นการแกะแบบง่ายๆ ไม่ค่อยมีเครื่องเครามากมาย แต่ก็ยังคงความงามและความขลังในอีกรูปแบบหนึ่ง
ปัจจุบันนี้ หนุมานแกะของหลวงพ่อสุ่นทุกพิมพ์ หาดูหาเช่ายากมาก เพราะผู้ที่มีไว้ย่อมหวงแหน และแน่นอนว่าราคาสูงลิบอยู่ นอกจากนี้ยังการทำเทียมเลียนแบบมากเช่นกัน เช่นนั้นจึงต้องใช้วิธีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
อ่านเพิ่มเติม... "๑๐ ของทนสิทธิ์จากสัตว์"เครื่องรางธรรมชาติ มีฤทธิ์ในตัวเอง
ขอขอบคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง โดยราม วัชรประดิษฐ์
เผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์