- 12 มิ.ย. 2561
ความเชื่อ ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง ถ้าใครมีไว้จะช่วยในเรื่องของโชคลาภ เมตตามหานิยม
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง ดีทางโชคลาภ เมตตามหานิยม
ปลาตะเพียน เป็นสัตว์น้ำที่หากินคล่อง อาหารของมันก็กินง่ายและก็ว่ากันว่า มันปราดเปรียว คล่องแคล้วยิ่งนัก อีกทางหนึ่งท่านผู้เฒ่าผู้แก่ให้คติแก่ผู้เขียนว่า “การที่เอารูปปลาตะเพียนมาเป็นเครื่องหมายการค้าขาย ก็ด้วยถือเอาคำท้ายของคำว่า เพียน ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า เพียร อันหมายถึงให้เป็นคนขยันทำมาหากิน ขยันหมั่นเพียรนั่นเอง
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง
พระเกจิอาจารย์จึงคิดอุปเท่ห์ของการค้าขายว่า เอารูปปลาตะเพียนมาเป็นสัญลักษณ์แล้วลงอักขระกำกับเสีย และปลุกเสกด้วยคาถาเมตตามหานิยม มอบให้กับผู้ทำการค้าขายไปบูชา
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง
ปลาตะเพียนนั้นมีมากมายหลายสำนัก ทั้งเป็นรูปปลา และเป็นยันต์ ที่ผู้เขียนสดับรับฟังและติดตามมาตลอด ก็สรุปได้ว่าที่โด่งดังและขึ้นชื่อในอดีตก็ได้ แก่ปลาตะเพียน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดอยุธยา และหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม ส่วนหลวงพ่อน้อยนั้นพอหาได้ แต่ของหลวงพ่อจงแล้ว ใครมีไว้เป็นหวงขาดใจ เพราะมักจะประสบความสำเร็จทางการค้าขายร่ำรวยเสียเป็นส่วนมาก
ผู้เขียนก็อยู่ในจังหวัดใกล้เคียงสมัยที่เรือโยงยังขึ้นชื่อลือชา เรือโยงร้อยละแปดสิบ จะมีปลาตะเพียนของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกแขวนกันประจำเรือเลยทุกลำ แต่ก่อนมานั้น พระเกจิอาจารย์ผู้จะทำปลาตะเพียนนี้ จะต้องตัดแผ่นโลหะออกเป็นรูปปลาเสียก่อน เพราะสมัยโบราณปั้มยังไม่เจริญ ลงอักขระตามสูตรเป็นคู่ ๆ กันไป ต่อมาใช้ปั้มแทน เพราะความเจริญก้าวหน้าไปมาก และการทำผ้ายันต์ปลาตะเพียนก็เช่นกัน
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง
ซึ่งแต่ก่อนใช้เขียน ต่อมาก็ใช้พิมพ์ซะเลย ส่วนยันต์ที่ลงมันจะใช้ดังต่อไปนี้
๑. ตรี นิ สิงเห
๒. นะ ชา ลี ติ
๓. อุ อา กะ สะ
๔. นะ มะ พะ ทะ
เท่าที่เคยพบจะมีการลงดังนี้ นะ มะ พะ ทะ ธาตุ ทั้งสี่นี้ลงที่ปากครีบบน ครีบล่างและหางเป็น การหนุนให้ธาตุเกิดเสียก่อน ตรงกลางตลอดลำตัววจะลงว่า นะ ชา ลี ติ หรือ อุ อา กะ สะ ดังนี้เป็นต้น ส่วนอีกด้านหนึ่งจะลงตรีนิสิงเห ด้วยนะครับ และการทำปลาตะเพียนนั้น พระเกจิอาจารย์ท่านจะนิยมทำเป็นคู่เพราะปลาตะเพียนนั้นจะจับคู่กันเพื่อสืบพันธ์ อันเป็นความหมายของการครองชีวิตร่วมกัน ร่วมมือร่วมใจกันในการประกอบอาชีพ ทำมาหากิน ท่านจะแจก ปลาตะเพียนให้ไปด้วย
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง
นะ ชา ลี ติ นั้นเป็นหัวใจของพระสิวลีอันอุดมลาภเหมาะสำหรับการค้าขาย
อุ อา กะ สะ นั้นเป็นหัวใจของมหาเศรษฐีมีความหมายถึง ให้ผู้ได้รับไปแล้วคิดดังนี้
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง
อุ ย่อมาจากคำว่า อุฎฐานสัมปทา หมายถึง ความเป็นคนขยันหมั่นเพียร ในการทำมาหากิน คนขี้เกียจจะหาความเจริญไม่ได้เลย
อา ย่อมาจาก อารักขสัมปทา หมายถึง หมั่นอดออมในทรัพย์สินที่ตนเองอุตส่าห์มาได้ด้วยความยากลำบากไว้ให้ได้เป็นกอบเป็นกำ
กะ ย่อมาจากคำว่า กัลยาณมิตรตะตา หมายถึง การคบเพื่อนที่ดีชักชวนไปในทางที่ดี ไม่ชี้ชวนไปในทางที่ชั่ว
สะ ย่อมาจากคำว่า สมชีวิตา หมายถึง การหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ไม่คดโกง
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง
เมื่อพระเกจิอาจารย์ได้เรียกสูตรและปลุกเสกนั้น ก็จะให้ผู้ที่ต้องการไปเพื่อนำไปแขวนไว้ในที่อันสมควร เพื่อความเจริญก้าวหน้า ในทางค้าขายและไม่ใช่ว่าจะมีปลาตะเพียนแล้วจะค้าขายดีเสมอไปก็หาไม่ หากตัวคนขายเอง จะต้องปฏิบัติตามคาถาที่ปรากฏในตัวปลาตะเพียนด้วย คือ ขยันหมั่นเพียร เช่น เปิดร้านตามเวลาแต่เช้ายิ้มแย้มแจ่มใสรับลูกค้า เอาอกเอาใจ นั่นแหละครับที่เขาเรียกว่า เมตตา นะชาลีติ ได้ทรัพย์มาแล้วก็หมั่นเก็บหมอรอบริบไม่สุรุ่ยสุร่าย คนดีไม่ผลาญทรัพย์ ประการสุดท้าย คือมีความซื่อตรงไม่คดโกงลูกค้า เช่น โกงตาชั่ง เอาของปลอมมาขายหรือ โก่งราคา ฉวยโอกาสขึ้นราคา อะไรเหล่านี้
คาถาเสกปลาตะเพียนทอง
ท่านว่า บูชาแขวนไว้หน้าร้าน จักค้าขายของดีเป็นเลิศนักแล พุทธคุณ...เป็นของขลังที่คนไทยบูชาไว้ค้าขาย เตรียมปลาตะเพียนเงินปลาตะเพียนทองเรียบร้อยแล้ว ให้ลงอักขระหัวใจ พระฉิมในรูปปลาตะเพียน บริกรรมปลุกเสกด้วยหัวใจพระฉิมคือ
นะ ชา ลิ ติ
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง
พร้อมกับบริกรรมพระเวทบทนี้
นะมัดถุ อิเมตตา มหาชะนา สัพพะ ลาภา ภะวันตุเต ลงอิ อุเมตตา มหาราชา สัพพะสะเนหาจะปูชิโต ลงอุนะนามีนา มหาลาภา ภะวันตุเต
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง
ให้เสกลง นะ ตัวกลางด้วย แล้วเจาะปูปลาตะเพียนทั้งสองตัว จึงร้อยด้วยเชือกสำหรับแขวน ถ้าเป็นร้านค้าให้แขวนไว้หน้าร้าน หรือ ถ้าจะแขวนไว้ในเรือเพื่อค้าขาย ให้อาราธนาปลาตะเพียนผูกไว้บนหัวเรือ ๑ ตัว แล้วที่ท้ายเรือ ๒ ตัว เมื่อออกเรือไปค้าขาย จักซื้อง่ายขายคล่องดีนักแล
ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
อ่านเพิ่มเติม... "๑๐ ของทนสิทธิ์จากสัตว์"เครื่องรางธรรมชาติ มีฤทธิ์ในตัวเอง!!
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
http://www.itti-patihan.com/
https://www.myhora.com/
เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน