- 09 ก.ค. 2561
สองพระมหากษัตริย์ไทย ในหลวง ร.5 และ ในหลวง ร.9 ทรงปกป้องประเทศไทย ด้วยการใช้ "ช้าง" และ "ปลา"
หากให้ประชาชนชาวไทยพูดถึงพระมหากษัตริย์ว่าพระองค์ทรงทำอะไรให้ประเทศชาติบ้านเมืองบ้าง ซัก ๗ วันก็คงเล่าไม่หมด และหากถามถึงพระมหากษัตริย์ในราชวงค์จักรี คุณจะนึกถึงใคร ส่วนใหญ่แล้วก็จะตอบว่า ร.๕ และ ร.๙ ไม่ใช่ว่าพระองค์อื่นไม่มีดี ต้องยอมรับเลยว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์สร้างคุณงานให้กับประเทศชาติอย่างหาที่สุดไม่ได้แล้ว ยากมากที่คน คนนึงจะทำอะไรมากมายให้กับประเทศได้ขนาดนี้ แต่วันนี้เราจะมาดูความเหมือนที่ต่างกันตรงระยะเวลาที่ห่างกันกว่า ๑๐๐ ปี ของ ร.๕ และ ร.๙ ที่ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงมีแนวคิดนอกกรอบ ทำสิ่งที่คล้ายกัน และเกิดผมดีต่อชาติไทยตราบจนปัจจุบันเช่นกัน
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ทรงเป็น “มีนกร” คำนี้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลา ขณะนั้นพระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมาร ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างสองกษัตริย์ เริ่มจากกษัตริย์ของไทย เสด็จเยือนญี่ปุ่นในพ.ศ. ๒๕๐๖ ก่อนเชิญมกุฎราชกุมารเสด็จเยือนไทยบ้าง มกุฎราชกุมารจากญี่ปุ่นเสด็จเยือนไทยในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
ในครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และจัดโปรแกรมช่วงหนึ่งให้ “ไปทอดพระเนตรปลา”
หากอ่านผ่านๆ อาจไม่คิดอะไร แต่ถ้าพิจารณาสักนิด มกุฎราชกุมารจากญี่ปุ่น มหาอำนาจแห่งเอเชีย เสด็จมาไทยเป็นครั้งแรก เราจะชวนไปดูปลา ไหมครับ เป็นใครก็คงส่ายหน้า เป็นใครก็คงคิดไม่ถึง เขามาเยือนเป็นครั้งแรก เราต้องจัดประชุมให้หนัก พูดคุยกันเรื่องการบ้านการเมือง มีงานเลี้ยงใหญ่โต
ใครจะคิดถึงโปรแกรม “ไปดูปลา” แต่มหากษัตริย์ไทยคิด และเป็นความคิดที่ “หลุดกรอบ” มากที่สุดเท่าที่เคยเจอะเจอ คนรุ่นนี้มักพูดกันถึงความคิดแปลกใหม่ เราเบื่อการยึดติด เบื่อโน่นนี่นั่น ถึงเวลานอกกรอบ
เคยทราบไหมครับว่าใครคือผู้ “นอกกรอบ” ที่แท้จริง และนอกกรอบมาเมื่อกว่า ๕๐ ปีก่อน คนชอบปลามาเยือน ก็ต้องพาเขาไปดูปลาสิ เป็นความคิดที่ห้าวหาญจนสุดจะจินตนาการไหว
เมื่อคิดว่าทั้งผู้ต้อนรับและผู้มาเยือนเป็นกษัตริย์ไม่มีใครทราบว่ามหากษัตริย์ของไทยคิดเช่นไร แต่ถ้าให้ผมวิเคราะห์ ผมคิดว่าท่านอาจคิดถึงประวัติศาสตร์ เพราะเคยมีคนทำมาก่อนหน้านั้น และทำจนสำเร็จ
ย้อนไปเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย ตอบรับคำเชิญของรัชกาลที่ ๕ ถือเป็นครั้งแรกที่ราชวงศ์ชั้นสูงจากประเทศมหาอำนาจในยุโรป เสด็จมาเยือนไทย ในครั้งนั้นคือการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา รวมถึงการ “คล้องช้างครั้งสุดท้าย” ที่ช้างป่าถูกต้อนมากว่า ๓๐๐ ตัว
กลายเป็นความประทับใจที่ไม่มีวันลืมของมกุฎราชกุมาร ผู้ต่อมาทรงขึ้นเป็นกษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ ๒ และเมื่อสยามเดือดร้อนถึงขีดสุด รอบด้านล้วนตกเป็นอาณานิคม มหาอำนาจต่างชาติถึงขั้นเตรียมแบ่งประเทศเรา
รัชกาลที่ ๕ จำเป็นต้องเสด็จยุโรปเพื่อแสดงว่าเราเจริญแล้ว มิใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน ประเทศเดียวที่ต้อนรับเราด้วยไมตรีจิตคือรัสเซีย เมื่อภาพคิงจุฬาลงกรณ์ประทับคู่ซาร์นิโคลัสที่ ๒ ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ยุโรป ประเทศอื่นถึงยอมรับและต้อนรับพระองค์จนทำให้ไทยยังคงเป็นไทยจนทุกวันนี้
และนั่นคือการทูตหยุดโลกที่เริ่มต้นจาก “ช้าง” การทูตหยุดโลกเริ่มต้นอีกครั้ง จาก “ปลา” ที่กษัตริย์แห่งไทยพามกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นไปทอดพระเนตร สถานที่คือพิพิธภัณฑ์ประมง ตั้งอยู่ในคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ไม่เคยทราบมาก่อน!! เปิดพระราชดำรัสในหลวง ร.5 เรื่อง การสร้างพระเมรุมาศและพระราชพิธี ในงานออกพระเมรุของพระองค์
- ย้อนเมื่อครั้งในหลวง ร.๙ ทรงช่วยเหลือประชาชน จากพายุโซนร้อนแฮเรียตปี05 - ที่แหลมตะลุมพุก