- 30 ก.ค. 2561
บรรดาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ส่วนมากให้ความสำคัญในการบริกรรมพระคาถาบทหนึ่ง คือ พระคาถาโมรปริตรหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระคาถาพญายูงทอง" "นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา" เป็นคาถาที่ปรากฏในตำนานโมรปริตร (อุเทตะยัญจักขุมา) ซึ่งเป็นนิทานชาดก โดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น "พญานกยูงทอง"
“คาถาโมรปริตร คาถาพญายูงทอง” หลวงปู่มั่น
บรรดาพระป่าสาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ภูริทตฺโต) ส่วนมากให้ความสำคัญในการบริกรรมพระคาถาบทหนึ่ง คือ พระคาถาโมรปริตรหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระคาถาพญายูงทอง"
"นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา"
เป็นคาถาที่ปรากฏในตำนานโมรปริตร (อุเทตะยัญจักขุมา) ซึ่งเป็นนิทานชาดก โดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น "พญานกยูงทอง"
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
พญายูงทอง
โดยคาถานี้เป็นคาถาที่ปรากฏอยู่บนหลังเหรียญเกือบทุกรุ่นของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร โดยหัวใจของคาถาบทนี้คือ"นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา" อันมีความหมายว่า "ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแต่ผู้วิมุตแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแต่วิมุตตฺธรรม"
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
นอกจากจะพบคาถานี้บนหลังเหรียญแทบทุกรุ่นของท่านพระอาจารย์ฝั้นแล้ว ยังพบคาถาบทนี้ในตะกรุดอีกด้วย ทั้งนี้ได้มีเหล่าบรรดาลูกศิษย์จำนวนมากไปหาอาจารย์ฝั้น ให้ทำตะกรุดให้ โดยจัดหาแผ่นโละทองเหลือง-ทองแดง-ตะกั่วไปพร้อม ท่านก็มีเมตตาจารให้ทุกคน โดยท่านจะจารพระคาถาเป็นภาษาขอม ลาว อ่านว่า นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา โดยส่วนใหญ่บางครั้งอาจมีหัวใจคาถาอื่นเพิ่มเติมบ้าง เช่น นะโมพุทธายะ และ นะมะพะทะ ผนวกเข้าไว้ก็ได้ ตะกรุดของพระอาจารย์ฝั้นบางคนก็เอาไปปิดเสาเรือน บางคนก็พกพาไว้ติดตัว โดยมีความเชื่อว่า สามารถกันไฟ กันฟ้าผ่า รวมทั้งแคล้วคลาด
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
นอกจากนี้แล้วยังพบว่า หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ยังใช้คาถาบทนี้ด้วย ดังปรากฏในหนังสือสวดมนต์ของวัด
ทั้งนี้สันนิษฐานว่าคงสืบเนื่องมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
“คาถาโมรปริตร คาถาพญายูงทอง”
ในบรรดาพระสายป่าสาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ภูริทตฺโต) ส่วนมากให้ความสำคัญในการปริกรรมพระคาถาบทหนึ่ง คือ พระคาถาโมรปริตร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระคาถาพญายูงทอง" ซึ่งมีการบริกรรมดังนี้
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
บทสวดตอนเช้า
โมระปะริตตัง อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะ วัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะ เรมุ ทิวะสัง เยพราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เตจะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา โมระปะริตตัง
หมายเหตุ คำที่มีความหมายว่า เวลาเช้า คือ "อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา"
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
บทสวดตอนเย็น
อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง เยพราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยิติ
หมายเหตุ คำที่มีความหมายว่า เวลาเย็น คือ อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
พระคาถาทั้ง ๒ บทนี้ มีความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า หากใครสวดทุกเช้าและค่ำจะแคล้วคลาดปลอดภัยอันตรายทั้งปวง
อ่านเพิ่มเติม... คาถาพระฉิมพลีให้ลาภ "หลวงปู่ทิม"
ขอขอบพระขอบคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
http://palungjit.org
เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน